สิ่งทอ 'กัมพูชา' วอนแบรนด์ดัง บรรเทาผลกระทบโควิด-19

สิ่งทอ 'กัมพูชา' วอนแบรนด์ดัง บรรเทาผลกระทบโควิด-19

  • 0 ตอบ
  • 82 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Prichas

  • *****
  • 2104
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




สหภาพแรงงานและกลุ่มสิทธิแรงงาน 33 กลุ่มจากกัมพูชา ซึ่งทำการศึกษาวิจัยเพื่อรวบรวมข้อมูลจากโรงงานผลิต 114 แห่งในกัมพูชา ได้เขียนจดหมายถึงแบรนด์เสื้อผ้าแฟชันชั้นนำระดับโลกทั้งหลายในสัปดาห์นี้ รวมถึง อาดิดาส เอชแอนด์เอ็ม ลีวายส์ ไนกี้ พูมา ทาร์เก็ต แก๊ป ซีแอนด์เอ และวีเอฟ คอร์ป ให้ดำเนินการช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ พร้อมระบุว่า ในช่วงที่กัมพูชาล็อกดาวน์ประเทศในเดือนเม.ย.และพ.ค. อุตสาหกรรมสิ่งทอสูญเสียรายได้ 117 ล้านดอลลาร์

กลุ่มฯดังกล่าวประเมินว่าแรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอของกัมพูชาซึ่งมีจำนวนกว่า 700,000 คนถูกผู้ว่าจ้างติดค้างค่าจ้างและเงินชดเชยจำนวนกว่า 393 ล้านดอลลาร์นับตั้งแต่โรคโควิด-19 แพร่ระบาดตั้งแต่ปีที่แล้ว ที่กระทรวงแรงงานของกัมพูชาแนะนำให้โรงงานผลิตปิดโรงงานเพราะสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่โดยไม่ได้จ่ายเงินเพื่อชดเชยค่าเสียหายแก่แรงงาน รวมทั่้งไม่ได้แจ้งให้แรงงานทราบล่วงหน้า 

“คุน ธาโร”ที่ปรึกษาด้านสิทธิแรงงานจากศูนย์กลางเพื่อพันธมิตรแรงงานและสิทธิมนุษยชน(Center for Alliance of Labor and Human Rights) กล่าวว่า “เนื่องจากแรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอไม่ได้รับค่าจ้างแรงงานที่ควรได้ บรรดาแบรนด์ดังทั้งหลายจึงตกเป็นที่พึ่งของแรงงานเหล่านี้ จนเกิดเป็นการเคลื่อนไหวอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อขอความช่วยเหลือจากแบรนด์ดังที่ถือเป็นผู้ว่าจ้าง”

ในส่วนของกระทรวงแรงงานกัมพูชา ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้

               
แบรนด์ดังเสื้อผ้าแฟชันชั้นนำของโลกจำนวนมากที่มีรายได้และผลกำไรเพิ่มขึ้นในปีนี้ บอกว่า พยายามที่จะจำกัดผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19ที่มีต่อแรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

อาดิดาส เปิดเผยกับเว็บไซต์นิกเคอิ เอเชียว่า บริษัทมีพันธกิจในการจ่ายค่าแรงที่ยุติธรรมและโปร่งใสแก่แรงงานทุกคนในกัมพูชาพร้อมทั้งให้การช่วยเหลือบรรดาซัพพลายเออร์หลักๆให้ได้รับการช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารเจ้าหนี้เพื่อนำมาใช้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19   

“บรรดาโรงงานที่เป็นซัพพลายเออร์ส่วนใหญ่ของเราในกัมพูชายังคงรักษาแรงงานที่โรงงานผลิตเอาไว้แต่ลดชั่วโมงการทำงานสืบเนื่องจากการล็อกดาวน์”โฆษกอาดิดาสกล่าว

ด้านพูมา ยืนยันว่า บริษัทพยายามหลีกเลี่ยงไม่ใช้วิธีการยกเลิกคำสั่งซื้อและพยายามไม่ลดออร์เดอร์ซื้อสินค้าจากโรงงานรับจ้างผลิตในกัมพูชาในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19

“เฉิง ลู”นักวิเคราะห์ในอุตสาหกรรม ให้ความเห็นว่าว่า บรรดาแบรนด์ต่างๆเริ่มมีความมั่นใจมากขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและการฉีดวัคซีนให้ประชาชนในสหรัฐและใรนยุโรปมีความคืบหน้าด้วยดี ถึงแม้ว่ายังคงมีปัจจัยเสี่ยงหลักๆหลายด้าน รวมถึง ความไม่แน่นอนและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น

“ปีนี้ทุกอย่างแพงขึ้นทั้งต้นทุนการขนส่งทางเรือและต้นทุนด้านโลจิสติกส์ วัตถุดิบด้านสิ่งทอไปจนถึงต้นทุนด้านแรงงาน ยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิดในฤดูร้อนปี 2564 โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตา เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดความไม่แน่นอนแก่ตลาด” ลู กล่าว

ในเวียดนาม ซึ่งปีที่แล้วแซงหน้าบังกลาเทศในฐานะผู้ส่งออกสิ่งทอใหญ่สุดอันดับสองของโลกรองจากจีน ที่กำลังประสบปัญหายอดผู้ติดเชื้อโควิด-19เพิ่ม ก็ปิดโรงงานสิ่งทอและรองเท้าประมาณ 30-35% 

สำหรับกัมพูชา การระบาดของโรคโควิด-19 เป็นเหมือนสิ่งซ้ำเติมทางการค้าระลอกสอง หลังจากปีที่แล้ว กัมพูชาสูญเสียสถานภาพพิเศษทางการค้าจากยุโรปเพราะปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยยอดส่งออกเสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องของกัมพูชาไปยุโรปหดตัว 14% ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2564