ค่าใช้จ่ายครัวเรือนไทย เงินหมดไปกับอะไรมากที่สุด

ค่าใช้จ่ายครัวเรือนไทย เงินหมดไปกับอะไรมากที่สุด

  • 0 ตอบ
  • 93 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

hs8jai

  • *****
  • 2219
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




เมื่อเร็วๆนี้กระทรวงพาณิชย์ได้เผยแพร่ ดัชนีราคาผู้บริโภคหรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนก.ค.2564 ซึ่งพบว่า ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า เพราะมีมาตรการ ลดภาระค่าครองชีพของรัฐบาล และการลดลงของราคาอาหารสดบางประเภทยังคงเป็นปัจจัยสไคัญที่ทำให้เงินเฟ้อชะลอตัว

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าเงินเฟ้อก็คือค่าดัชนีชี้วัดว่า ค่าของเงินในกระเป๋าเรา มีอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้าค่าเงินเฟ้อเป็นบวกมากๆ ก็แสดงว่าเงินในกระเป๋า เรามีค่าน้อยลงมาก อำนาจจับจ่ายก็น้อยไปด้วย แต่ดัชนีเงินเฟ้อยังมีประโยชน์ในด้านการชี้วัดอุณภูมิทางเศรษฐกิจโดยรวม เพราะยิ่งค่าเงินเฟ้อ สูงก็แสดงว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมากนั่นหมายความว่ารายได้อีกฝากนึงของกระเป๋าเงินก็เข้ามาได้มากและแน่นอนก็จ่ายมากตามไปด้วย ดังนั้น การดูแลเงินเฟ้อไม่ให้สูงไป หรือต่ำไป จนเป็นเงินฝืด คือ ค่าเงินเฟ้อติดลบเกิน 6 เดือนนั้น เป็นสิ่งจำเป็น 


เดือนก.ค. ที่ผ่านมา ค่าเงินเฟ้อ ขยายตัว ที่ 0.45% นั่นหมายความว่า ราคาการใช้จ่ายของประชาชนทั่วไป เพิ่มขึ้นไม่ถึง1%  จะเรียกว่าพอรับได้ก็ใช่ เพราะที่ค่าเงินเฟ้อไม่สูงเพราะรัฐบาลช่วยบรรเท่าค่าใช้จ่ายให้ผ่านมาตรการต่างๆ แต่อีกด้านของค่าดัชนีกำลังบอกว่า คนไทยในยุคโควิด พิษร้ายทำลายทั้งสุขภาพ เศรฐษกิจและชีวิตคนไทยนี้ มีกำลังซื้อที่อ่อนแอมาก 



กระทรวงพาณิชย์ได้ประเมินค่าใช้จ่ายครัวเรือนเดือนก.ค. 2564 ไว้ว่า มีรายจ่ายรายเดือนที่ 16,783 บาท  แบ่งเป็น 

-ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง  ค่าบริการโทรศัพท์มือถือ 3,946 บาท 


-ค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม เครื่องใช้ในบ้าน 3,654 บาท 

-ซื้อเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ 1,548 บาท 

-อาหารบริโภคในบ้าน Delivery1,478 บาท 

-ค่าอาหารบริโภคนอกบ้าน (ข้าวราดแกง อาหารตามสั่ง KFC Pizza)1,140

-ค่าแพทย์ ค่ายา และบริการส่วนบุุคคล 960

-ค่าผักและผลไม้ 892

-ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการ ค่าเล่าเรียน และการกุศลต่างๆ 757

-ซื้อข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง 677

-เครื่องปรุงอาหาร 393

-เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์376

-ค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและร้องเท้า374

-ซื้อไข่และผลิตภัณฑ์นม 354

-ค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์234

ค่าใช้จ่ายครัวเรือนไทย เงินหมดไปกับอะไรมากที่สุด
ก่อนซื้อทำอย่างไร เมื่อ 'ฟ้าทะลายโจร' ขาดตลาด ราคาพุ่ง เจอของปลอม
ศึกล่าลายเซ็น 'เมสซี' ส่อง 6 ทีมเต็ง พร้อมเปย์ค่าเหนื่อย
จากสัดส่วนค่าใช้จ่ายที่ได้แจกแจงมาเป็นค่าเฉลี่ยของแต่ละครัวเรือนแล้วจะพบว่า ส่วนของค่าเดินทางและการติดต่อสื่อสาร ในประเทศนี้กินเงินคนไทยไปไม่น้อย ข้อมูลนี้อาจต้องสะท้อนไปถึงรัฐบาลให้เข้ามาดูแลในเรื่องนี้อย่างจริงจัง  ส่วนค่าใช้จ่ายสำคัญรองลงมาคือ ค่าที่อยู่อาศัย และพลังงาน พบว่า กินสัดส่วนไปไม่น้อยกว่าค่าใช้จ่ายส่วนแรก 

วิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) กระทรวงพาณิชย์  เปิดมุมมองเงินเฟ้อปีนี้ว่า  แผนการจัดหาและการกระจายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและมีความชัดเจน รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ทยอยออกมาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง น่าจะสนับสนุนให้อัตราเงินเฟ้อเคลื่อนไหวในกรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กำหนดไว้คือที่ 1.0 – 3.0% 

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2564 จะอยู่ระหว่าง0.7 – 1.7 %(ค่ากลางอยู่ที่ 1.2%) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง