'คลินิกเอกชน' กำลังสำคัญส่งยา ติดตามผู้ป่วย 'Home Isolation' ลดอาการหนัก

'คลินิกเอกชน' กำลังสำคัญส่งยา ติดตามผู้ป่วย 'Home Isolation' ลดอาการหนัก

  • 0 ตอบ
  • 84 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Fern751

  • *****
  • 2936
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ตัวเลขผู้ป่วยโควิดรายใหม่ (4 ส.ค. 64) ทะลุ 20,200 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วกว่า 672,385 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 188 ราย การดูแลผู้ป่วยโควิดที่บ้าน (Home Isolation : HI)จึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว ได้รับยาเร็ว และลดอาการหนักได้ แต่ปัจจุบันยังพบว่ายังมีผู้ป่วยจำนวนมากตกค้างและยังไม่ได้เข้าสู่ระบบรักษา


ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 64 ที่ผ่านมา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้จัดการประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติ เพื่อดูแล “ผู้ป่วย โควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่บ้าน” และ “ตรวจโควิดด้วยชุดตรวจ ATK” ผ่านระบบ Zoom เพื่อเชิญชวน คลินิกเอกชน ทั่วประเทศที่อยู่นอกระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (UC) เข้าร่วมดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว ที่เป็นกลุ่มที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย ซึ่งมีจำนวนราวร้อยละ 80 ของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมด มีคลินิกเอกชนให้ความสนใจเข้าร่วมประชุมกว่า 1,000 แห่ง โดยสปสช. จัดงบสนับสนุนค่าบริการเบื้องต้นเหมาจ่าย 3 พันบาท/ราย โอนจ่ายทุกสัปดาห์

“นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี” เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้สัมภาษณ์ว่า เดิมมีคลินิกชุมชนอบอุ่น ซึ่งเป็นคลินิกที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช. มาก่อนหน้านี้ราว 200 กว่าแห่ง จากที่พูดคุยเมื่อ 2-3 สัปดาห์ก่อน คลินิกจำนวนหนึ่งราว 117 แห่ง ยินดีเข้าร่วมโครงการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ตามแนวทาง Home Isolation ร่วมกับ ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง


"การดำเนินการที่ผ่านมามาพบว่าจำนวนคลินิกที่ดำเนินการอยู่ไม่เพียงพอต่อผู้ป่วยที่เข้ามาใหม่ ทำให้เกิดปัญหาแจ้งมาในระบบ ไม่ว่าจะช่องทางสายด่วน 1330 หรือกรอกข้อมูลในระบบ หรือไลน์แอด สปสช. หรือช่องทางอื่นๆ พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยตกค้างจำนวนมาก สปสช. จึงพยายามขยายไปยังคลินิกเอกชนซึ่งแต่เดิมไม่อยู่ในระบบของ สปสช. โดยเน้นในกทม. ซึ่งมีประมาณ 3,000 กว่าแห่ง,มาเข้าร่วมดูแลผู้ป่วยโควิดตามแนวทาง Home Isolation เพิ่มขึ้น”

ต้องมีแพทย์ ดูแล ติดตาม ผู้ป่วย
สำหรับคลินิกเอกชนที่เข้าร่วมโครงการจะมีหน้าที่ติดตามผู้ป่วย ตามแนวทาง Home Isolation ตามเกณฑ์ คือต้องมีแพทย์ ในการควบคุมดูแลผู้ป่วย จัดระบบที่จะดูแลผู้ป่วยได้ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ วิดีโอคอล หรือไลน์แอด มีระบบส่งน้ำ ส่งอาหาร ส่งอุปกรณ์ อยากให้คลินิคที่สนใจมาลงทะเบียนกับ สปสช. โดยเบื้องต้น สปสช.จะกระจายยาให้คลินิก หรือส่วนที่ยังเบิกยาไม่ได้ และต่อไปจะเป็นการกระจายความรับผิดชอบให้คลินิกดำเนินการเองต่อไป


นพ.จเด็จ กล่าวต่อไปว่า เวลาผู้ป่วยแจ้งเข้ามา จะยังไม่รู้ว่าอยู่ในระดับสีอะไร ต้องให้คลินิกกดรับเข้าระบบ สัมภาษณ์ ซักประวัติ และการเอกซเรย์ปอดจะสามารถแยกระดับสีได้ชัดเจน ส่วนใหญ่ที่รอนานๆ จะเริ่มมีอาการ ไม่ได้ยา ดังนั้น จึงไม่อยากให้รอนานเกิน 24 ชั่วโมง อย่างน้อยมีแพทย์โทรเข้าไปถามอาการ ตอนนี้แนะนำให้จ่ายยาเร็ว ส่งยาไปให้ก่อน การเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นเหลือง หรือ จากเหลืองเป็นแดงก็จะลดลง ตอนนี้เราทำงานแข่งกับเวลา


“หากมีคลินิกเอกชนเข้ามาร่วม อย่างน้อยผู้ป่วยได้รับการดูแล ได้อาหาร หากผู้ป่วยเยอะก็จะได้ไม่ต้องกังวลมาก เพราะมีการแยกกักตัว มียา อาหารไปให้ แต่ติดที่คอขวดระบบบริการยังไปไม่ถึงชาวบ้าน สถิติตัวเลขล่าสุด (3 ส.ค. 64) เวลารอเฉลี่ย 17 ชั่วโมง นานสุด 27 ชั่วโมง รอเกิน 24 ชั่วโมง จำนวน 408 คน หากทำให้รวดเร็วขึ้น ก็จะทำให้ประชาชนสบายใจขึ้น ผู้ป่วยมั่นใจขึ้น" นพ.จเด็จ  กล่าว

"พญ.กฤติยา ศรีประเสริฐ" ผู้เชี่ยวชาญพิเศษสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า คลินิกเอกชนเข้าร่วมดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 สามารถให้บริการตรวจ Antigen Test Kit (ATK) กับประชาชนไทยทุกคนได้ตามเกณฑ์การคัดกรอง โดยใช้ชุดตรวจที่ขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดำเนินการผ่านระบบ Authentication Code ยืนยันด้วยบัตรสมาร์ทการ์ด พร้อมรายงานผลตรวจทุกรายให้ สปสช. เพื่อใช้ในการประเมินการให้บริการประชาชน 

ซึ่งกรณีตรวจด้วยเทคนิค Chromatography จ่ายตามจริงไม่เกิน 450 บาท/ครั้ง และกรณีตรวจด้วยเทคนิค Fluorescent Immunoassay (FLA) จ่ายตามจริงไม่เกิน 550 บาท/ครั้ง หากผลตรวจเป็นบวกกรณีที่อยู่ในผู้ติดเชื้อกลุ่มสีเขียวให้เข้าสู่การรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้านและในชุมชน (Home Isolation/Community Isolation : HI/CI) แต่กรณีที่จำเป็นต้องรักษาแบบผู้ป่วยใน ให้รับรักษาเป็นผู้ป่วยในที่หน่วยบริการ หรือส่งต่อรักษาในเครือข่ายหน่วยบริการ


สำหรับการเบิกจ่ายค่าบริการระบบ HI/CI  มีดังนี้
1. การตรวจ RT-PCR จำนวน 1,500 - 1,700 บาท/ครั้ง (ปรับอัตราใหม่เริ่ม 1 ส.ค. 64)

2.ค่าดูแลการให้บริการผู้ป่วยอัตราเหมาจ่าย 1,000 บาท/วัน ไม่เกิน 14 วัน (ค่าอาหาร)

3 มื้อ และติดตามประเมินอาการให้คำปรึกษา)

3.ค่าอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วย ได้แก่ ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล เครื่องวัดออกซิเจน ตามรายการใช้จริงไม่เกิน 1,100 บาท/ราย

4.ค่ายารักษาเฉพาะโควิด-19 จ่ายตามจริงไม่เกิน 7,200 บาท/ราย

5.ค่ารถส่งต่อ จ่ายตามจริงตามระยะทางและค่าทำความสะอาด 3,700 บาท และ 

6.ค่าบริการถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest X-ray) อัตรา 100 บาท/ครั้ง จ่ายเพิ่มเติมกรณีผู้ป่วยนอกเพื่อแยกความรุนแรงของโรคและภาวะปอดอักเสบก่อนเข้าสู่ระบบ HI/CI นอกจากนี้ยังมีค่าชุดป้องกันการติดเชื้อ จ่ายตามจริงไม่เกิน 740 บาท/วันสำหรับการดูแลใน CI และค่าออกซิเจนสำหรับผู้ป่วย จ่ายตามจริงไม่เกิน 450 บาท/วัน

“รูปแบบการจ่ายชดเชยค่าบริการในระบบ HI/CI จะเป็นเหมาจ่าย 1 งวด จำนวน 3,000 บาท/ราย โดย สปสช. จะโอนจ่ายในทุกสัปดาห์ และเมื่อดูแลครบตามระยะเวลาที่กำหนด หน่วยบริการสามารถคีย์ข้อมูลเบิกจ่ายตามจริงตามรายการที่แจ้งข้างต้น โดยกรณีที่ค่าบริการมากกว่าจำนวนเงินเหมาจ่าย ทาง สปสช. จะมีการจ่ายชดเชยเพิ่มเติม” พญ.กฤติยา กล่าว  

ทั้งนี้ 'คลินิกเอกชน' ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https:// www.nhso.go.th/downloads/159