เกษตร ชู 'ระบบอาหารและเกษตรที่ยั่งยืน' ในเวที APEC

เกษตร ชู 'ระบบอาหารและเกษตรที่ยั่งยืน' ในเวที APEC

  • 0 ตอบ
  • 78 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

dsmol19

  • *****
  • 2466
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานร่วมในการประชุม APEC High Level Policy Dialogue on Agricultural Biotechnology (HLPDAB) 2021 ผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกล โดยมีประเทศนิวซีแลนด์เป็นเจ้าภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดและบทบาทของเทคโนโลยีชีวภาพด้านต่าง ๆ


        โดยการประชุมดังกล่าว นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ ได้มุ่งเน้นประเด็นหลัก 5 เรื่อง ได้แก่ 1) ความปลอดภัยด้านอาหารและความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรอย่างเพียงพอ 2) การบูรณาการระบบอาหารที่ยั่งยืนโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติแบบเป็นมิตรกับธรรมชาติมากที่สุด 3) “การนำนโยบาย 3-S” 'ความปลอดภัย' (Safety), 'ความมั่นคง' (Security) และ 'ความยั่งยืน' (Sustainability) ในการปรับใช้ด้านการเกษตร 4) การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นหลักการพื้นฐานสำหรับการพัฒนาประเทศไทย


5) การปรับตัวสู่ระบบอาหารและการเกษตรที่ยั่งยืน นับเป็นวาระแห่งชาติในการกำหนด Food Security Roadmap ถึงปี 2030 ซึ่งเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรจะเป็นอีกเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเกษตรกรทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิต การควบคุมคุณภาพ การควบคุมแมลงศัตรูพืช และช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมไปถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ในระยะยาว

ซึ่งมีความสอดคล้องกับของประเทศไทยที่นำโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Model (Bio-Circular-Green Economy)) เป็นวาระแห่งชาติ รวมถึงการประชุม UN 2021 Food Systems Summit ที่จัดขึ้น ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 26 – 28 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ว่าระบบการผลิตอาหารได้สร้างผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ และทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

ดังนั้น “ระบบอาหารและเกษตรที่ยั่งยืน” จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับอนาคตของทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม APEC High Level Policy Dialogue on Agricultural Biotechnology (HLPDAB) ในปีถัดไป (2565)

        "การเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนำนวัตกรรมในด้านเทคโนโลยีชีวภาพใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ จะช่วยยกระดับการพัฒนาระบบอาหารและเกษตรที่ยั่งยืน โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Green Kitchen of the World ได้อย่างแท้จริง" นายระพีภัทร์ กล่าว