Blockchain : ยกระดับมาตรฐาน ตรวจสอบย้อนกลับอาหารไทย

Blockchain : ยกระดับมาตรฐาน ตรวจสอบย้อนกลับอาหารไทย

  • 0 ตอบ
  • 85 อ่าน

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Naprapats

  • *****
  • 3225
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




อุตสาหกรรมอาหารของไทยนอกจากเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในพื้นที่ EEC เพราะเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายในกลุ่ม First S-Curve แล้ว ยังสร้างรายได้ให้กับประเทศจากการส่งออกถึงกว่า 1 ล้านล้านบาทต่อปี แต่จากแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของอาหาร สุขภาพ สวัสดิภาพแรงงาน และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงต้องการรู้ที่มาที่ไปของอาหาร ขณะที่เทคโนโลยีการตรวจสอบย้อนกลับอาหารมีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยี Blockchain ที่ได้รับการจับตามองมากขึ้นเรื่อยๆ และถูกคาดหมายว่าจะพลิกโฉมระบบการตรวจสอบย้อนกลับอาหารในอนาคต

หลายท่านอาจสงสัยว่าเทคโนโลยี Blockchain ช่วยในการตรวจสอบย้อนกลับอาหารได้อย่างไร แต่ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ ผู้อ่านคงต้องเข้าใจก่อนว่า ความท้าทายจากความต้องการรู้ที่มาที่ไปของอาหารของผู้บริโภคจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจอาหารในรูปแบบใด

ในระยะข้างหน้าความต้องการรู้ที่มาที่ไปของอาหารจะมาในรูปแบบมาตรฐานและกฎระเบียบทางการค้าที่จะเป็นอุปสรรคสำหรับ

ผู้ส่งออกอาหารของไทย อาทิ นโยบาย Farm to Fork ของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นมาตรการทางการค้าที่กำหนดให้อาหารจะต้องตรวจสอบย้อนกลับได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงผู้บริโภค หรือมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาที่กำหนดให้การตรวจสอบย้อนกลับอาหารเป็นในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาที่ไปของอาหารได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2023

กลับมาคำถามที่ว่า เทคโนโลยี Blockchain ช่วยในการตรวจสอบย้อนกลับอาหารได้อย่างไร?

Blockchain ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นตลอดห่วงโซ่การผลิต เช่น ข้อมูลแหล่งผลิตฟาร์มและเพาะเลี้ยง ชนิดพันธุ์พืชหรือพันธุ์สัตว์ ปริมาณการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง ข้อมูลการแปรรูป เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับอาหารได้แบบเรียลไทม์ จึงทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในคุณภาพของอาหารมากยิ่งขึ้น สำหรับตัวอย่างผู้ประกอบการในต่างประเทศที่น่าสนใจซึ่งใช้เทคโนโลยี Blockchain มาช่วยในการตรวจสอบย้อนกลับอาหาร ได้แก่ บริษัทสตาร์ทอัพที่ชื่อว่า Beefchain ของสหรัฐอเมริกา ที่นำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้เก็บข้อมูลตั้งแต่กระบวนการเลี้ยงสัตว์ไปจนถึงผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้า ซึ่งในกรณีที่มีการระบาดของโรคในสัตว์ Beefchain ช่วยลดเวลาที่ต้องใช้ในการติดตามสต็อกที่ติดเชื้อ โดยข้อมูลที่ได้รับการบันทึกในระบบแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จึงทำให้เกิดความน่าเชื่อถือของข้อมูล

อีกตัวอย่างที่น่าสนใจ ได้แก่ Walmart บริษัทยักษ์ใหญ่ค้าปลีกของโลกในสหรัฐอเมริกา ได้นำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการติดตามการขนส่งกุ้งมาจากประเทศคู่ค้าอย่างอินเดีย โดยใช้แพลตฟอร์ม IBM Food Trust ทำงานร่วมกับบริษัทสัญชาติอินเดียอย่าง Sandhya Aqua เพื่อบริหารจัดการกับระบบสต็อกสินค้าและการจัดเก็บอาหารทะเล 

นอกจากนี้ ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้ทันทีว่ากุ้งได้ถูกส่งมาจากที่ไหน ช่วยยกระดับความน่าเชื่อถือและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการส่งออกสินค้าทางการเกษตรของอินเดีย

โดยสรุปแล้ว ไทยซึ่งเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกสินค้าในกลุ่มอาหารจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรฐานและกฎระเบียบทางการค้าในด้านการตรวจสอบย้อนกลับ รวมถึงผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต โดย Quick Win ที่จะทำให้ผู้ประกอบการไทยรับมือกับความท้าทายดังกล่าว คือ การร่วมมือกันทั้ง Ecosystem ตั้งแต่เกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านการตรวจสอบย้อนกลับอาหาร รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐที่ให้การรับรองมาตรฐานและให้คำปรึกษาด้านมาตรฐานอาหาร