ใช้ชุมชนเป็นฐาน 'สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ'

ใช้ชุมชนเป็นฐาน 'สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ'

  • 0 ตอบ
  • 78 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Ailie662

  • *****
  • 2858
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




กสศ. เดินหน้า Reskill – Upskill ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ผ่านทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน สร้างกระบวนการให้เกิดการยกระดับความรู้ ความสามารถ ในการประกอบอาชีพตามความถนัดและศักยภาพของตนเอง

ศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ประธานอนุกรรมการกำกับทิศทางโครงการพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ปี 2563 และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาคประชาสังคม) ในคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

กล่าวตอนหนึ่งในเวทีเสวนาออนไลน์ เรียนให้รู้...อยู่ให้รอด ภายใต้วิกฤตโควิด 19 บทเรียนการทำงานทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ปี 2563 ในหัวข้อ “ทุนพัฒนาอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน  ทางรอด ทางเลือกในยุค New Normal” เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมาว่า โครงการพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ปี 2563 หรือ ทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ภายใต้การสนับสนุนของ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เริ่มดำเนินโครงการฯ มาตั้งแต่ปี 2562  กสศ. เล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริม สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือประชากรวัยแรงงานที่เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ชุมชนเป็นฐานสร้างกระบวนการให้เกิดการยกระดับความรู้ ความสามารถ ในการประกอบอาชีพตามความถนัดและศักยภาพของตนเองให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ เพิ่มทักษะใหม่ที่จำเป็น (Reskill) เสริมทักษะใหม่ในบริบทใหม่ (Upskill) พัฒนาทักษะอาชีพรายบุคคล โดยใช้ทุนชุมชนในการพัฒนาอาชีพ

“เรากำลังเปิดพื้นที่การเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สร้างนิเวศแห่งการเรียนรู้ใหม่ การเรียนรู้รูปแบบนี้เป็นการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ของประเทศ ที่น่าจะเป็นคำตอบให้กับสังคมไทยได้ และที่สำคัญกำลังรอให้คนนำไปขยายผลต่อ”ศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ กล่าว

ดร.สมคิด แก้วทิพย์ ผู้จัดการโครงการพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ปี 2563 กล่าวว่า องค์ประกอบที่สำคัญของโครงการฯ นี้ คือ “ระบบการจัดการร่วม” ที่ กสศ.มี “อนุกรรมการกำกับทิศทางโครงการฯ” และจัดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลการดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีการทำงานร่วมกับ “พี่เลี้ยง” ที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศทำหน้าที่ กระตุ้น หนุนเสริมองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้แก่ “หน่วยพัฒนาอาชีพ” ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการเข้าไปทำงานและร่วมเรียนรู้กับ “ผู้เข้าร่วมโครงการฯ” ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการฯ องค์ประกอบเหล่านี้เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดการบริหารจัดการร่วมเชิงบูรณาการบนฐานพื้นที่ ทำงานเชื่อมประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีจุดร่วมคือการนำปัญหาของพื้นที่เป็นตัวตั้ง

ศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ ชี้ว่า เรากำลังสร้าง “ต้นแบบ” การพัฒนาทักษะอาชีพบนฐานทุนชุมชนในมิติใหม่ ที่ตอบโจทย์เรื่องการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ด้วยการเข้าไปดูว่าเขาต้องการแก้ปัญหาอะไร ชุมชนมีต้นทุนอะไร และสุดท้ายเรานำข้อมูลมาวิเคราะห์ออกแบบเป็นหลักสูตรเฉพาะร่วมกับชุมชนที่เหมาะสม เพื่อคลี่คลายปัญหาของชุมชน

ตลอดการทำงาน 2 ปีที่ผ่านมา ก่อให้เกิดกลุ่มแรงงานนอกระบบ แรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นแรงงานที่มีฝีมือ จำนวน 14,414 คน จาก 194  โครงการ ใน 51 จังหวัด ครอบคลุม 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ  เกิดหลักสูตรการยกระดับการประกอบอาชีพที่ตอบโจทย์ท้องถิ่นและตลาดแรงงาน นำไปสู่การเป็นผู้ประกอบการและแรงงานที่มีฝีมือในชุมชน เกิดเครือข่ายคนทำงานรุ่นใหม่ที่เข้ามามีบทบาทในการร่วมพัฒนา อีกทั้งยังเกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิชาการ สถาบันการศึกษาในการพัฒนากลไกเสริม เครื่องมือ และชุดความรู้ร่วมกับหน่วยพัฒนาอาชีพ และเกิดเป็นนวัตกรรมการพัฒนาอาชีพในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การพัฒนาส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ การรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน และเกิดผลิตภัณฑ์ งานบริการที่ถูกยกระดับให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นผ่านการใช้เทคโนโลยีออนไลน์

“การใช้ชุมชนเป็นฐานเป็นต้นแบบหนึ่งของ กสศ. ถือเป็นมิติใหม่ของการทำงานเชิงพื้นที่ที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน โดย กสศ.เข้าไปหนุนเสริมทักษะความรู้และงบประมาณบางส่วน ทำให้เกิดการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นความสุขมากขึ้น ผมคิดว่ารูปแบบการทำงานแบบบนี้น่าจะเป็นทางเลือกทางรอดของประเทศได้”


ขณะที่ ดร.สมคิด กล่าวเสริมว่า ผลจากการทำโครงการ 2 ปีที่ผ่านมา วันนี้ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น คือ เห็นระบบของการดึงโครงสร้างความรู้ มาร่วมปฏิบัติการในพื้นที่ เป็นระบบการศึกษาใหม่ในการพัฒนาอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สร้างทักษะและองค์ความรู้ที่จะนำมาประกอบอาชีพให้เกิดรายได้แล้ว ความรู้ที่เกิดขึ้นยังเป็นเกราะกำบังให้คนในชุมชนเอาตัวรอดได้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และที่สำคัญคือ เกิดความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างคนในชุมชน คือ “หาได้” และ “ให้ได้” สร้างสังคมแห่งการดูแลกันและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

ดร. สมคิด กล่าวสรุปว่า การสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เป็นการยกระดับทักษะความรู้ให้กลุ่มแรงงานสามารถประกอบอาชีพ มีรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัว ถือเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุณภาพการศึกษา สังคม วัฒนธรรม ให้ค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างเข้าใจ อันจะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในชุมชน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการลดความเลื่อมล้ำในสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานได้อย่างแท้จริง