'อิเล็กทรอนิกส์' ในไทยสะดุด จับตา 'ย้ายฐานผลิต' เร่งหา"วัคซีน'ฉีดคนงาน

'อิเล็กทรอนิกส์' ในไทยสะดุด จับตา 'ย้ายฐานผลิต' เร่งหา"วัคซีน'ฉีดคนงาน

  • 0 ตอบ
  • 87 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Hanako5

  • *****
  • 1982
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ รับโควิดกระทบซัพพลายเชนสะดุด หวั่น 6 เดือนหลังสถานการณ์ในไทยไม่ดีขึ้น อาจกระทบซัพพลายเชนทั้งโลก เสี่ยงถูกโยกกำลังการผลิตไปประเทศอื่น งัดทุกมาตรการดูแล “พนักงาน” ไม่ให้เกิดความเสี่ยง เผยพร้อมจัดซื้อวัคซีนให้กลุ่มพนักงานเพิ่ม หลังอัตราการฉีดยังครอบคลุมไม่มากพอ 

นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ ประธานสมาคมนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ กล่าวกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า สถานการณ์ภาพรวมในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ช่วงนี้ หากมองทั้งซัััพพลายเชนที่มีอยู่ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ พบว่า “เริ่มสะดุด” ในไทยถูกผลกระทบจากโควิด ส่งผลให้บางบริษัทได้ปิดไปในช่วงที่ผ่านมา

ขณะที่ มาตรการที่ถูกนำมาใช้ขณะนี้ ทุกบริษัทจะมุ่งดูแล “คน” ก่อน “ธุรกิจ” แต่ละบริษัทจะมีมาตรการดูแลพนักงานไม่ให้มีการติดเชื้อภายในบริษัท ขณะเดียวกัน ให้ความรู้พนักงานกรณีที่ต้องออกไปภายนอก แจ้งเตือนทำความเข้าใจถ้าไม่จำเป็นอย่าออกไปเสี่ยง


หวั่นสะเทือนซััพพลายเชนทั้งโลก

“แต่ละโรงงานในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ การจะใช้มาตรการ Bubble and seal หรือ Home Isolation รวมไปถึงโรงพยาบาลสนาม ก็อาจจะมีติดขัดอยู่บ้างไม่น้อย ที่ผ่านมาในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เองได้มีการจัดหาวัคซีนเพื่อฉีดให้กับพนักงานซึ่งส่วนใหญ่เป็นเป็นวัคซีนซิโนฟาร์มของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เป็นหลัก วัคซีนที่มาจากภาครัฐน้อยมาก” 

นายสัมพันธ์ ย้ำว่า ภาคอิเล็กทรอนิกส์เองพร้อมที่จะจัดซื้อวัคซีนเพื่อนำมาฉีดให้กับกลุ่มพนักงานมาก แต่ไม่รู้ว่าจะซื้อที่ไหน ซึ่งปัจจุบันอัตราการฉีดวัคซีนในกลุ่มนี้ก็ยังครอบคลุมไม่มากพอ 

“ถ้าตัวเลขการติดเชื้อในประเทศไม่ลดลง ไทยจะกลายเป็น Bottleneck ของซัพพลายเชนอิเล็กทรอนิกส์ทั้งโลก”

ทั้งนี้ใน 6 เดือนแรกที่ผ่านมา กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ยังเติบโตมากกว่าปีที่แล้ว 10% แต่ 6 เดือนข้างหน้า มีความไม่แน่นอนสูง หากตัวเลขติดเชื้อในประเทศไม่ลด จะกระทบไปหมด ซึ่งมาตรการที่กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์นำมาใช้ก็อาจจะป้องกันไม่ได้ 100% ซึ่งหลักๆ พยายามดูแลคนในภาคอิเล็กทรอนิกส์ไม่ให้เป็นภาระของภาครัฐ  

"ช่วงเดือน ก.ค ถือว่าหนักมาก ดังนั้นไตรมาสนี้ถือว่ามีความเสี่ยงสูงมาก ถ้ายังเป็นสถานการณ์ลักษณะนี้ อาจเห็นภาพการโยกการผลิตจากประเทศไทยไปประเทศอื่น" นายสัมพันธ์ กล่าว 


เปิดรายได้ยักษ์ฮาร์ดดิสก์โลกในไทย

โควิดระลอกล่าสุด ส่งผลกระทบกับกลุ่มโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ยังหลีกเลี่ยงไม่ได้ บางโรงงานต้องปิดตัวลงชั่วคราว ข้อมูลจาก Creden data เผยรายได้ในกลุ่มบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะ 2 ยักษ์ใหญ่ บริษัทซีเกท ประเทศไทย ฐานการผลิตฮาร์ดดิสก์สำคัญของโลก มีรายได้ปี 2563 ที่ 154,499,475,430 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีรายได้ 149,568,157,717 บาท

บริษัทเวสเทิร์น ดิจิตอล ประเทศไทย หรือดับบลิวดี ฐานการผลิิตและส่งออกฮาร์ดดิสก์โลกที่สำคัญเช่นกัน มีรายได้ปี 2563 ที่ 88,178,228,057 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีรายได้ราว 78,092,718,973 บาท อย่างไรก็ตาม ย้อนหลังไป 5 ปีที่ผ่านมารายได้ของ ดับบลิวดีอยู่ในระดับแสนล้านบาทมาโดยตลอด


การ์ทเนอร์ชี้โควิดกระทบชิพขาด

นายคานิสกัส ชัวฮาน นักวิเคราะห์หลัก ฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า ปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อห่วงโซ่อุปทานและการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆ ประเภทในปีนี้ ขณะที่โรงงานผลิตขึ้นราคาแผ่นเวเฟอร์ ที่เป็นส่วนประกอบหลักผลิตชิพ และมีผลต่อเนื่องไปถึงบริษัทผู้ผลิตชิพก็ขึ้นราคาตามไปด้วย

ปัญหาการขาดแคลนชิพ เริ่มเกิดกับอุปกรณ์ประเภทต่าง ๆ ก่อน เช่น อุปกรณ์สำหรับการจัดการพลังงาน จอแสดงผล และไมโครคอนโทรลเลอร์ ที่ผลิตจากบนโหนดการทำงานแบบเดิม ของโรงงานผลิตชิพขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้ว ซึ่งมีวัตถุดิบจำกัด เวลานี้ปัญหาการขาดแคลนส่งผลต่อไปยังอุปกรณ์อื่นและมีข้อจำกัดด้านความจุ 

รวมถึงขาดสารตั้งต้นในการผลิต กระบวนการเชื่อมลวดทองคำ ส่วนประกอบแบบพาสซีฟ วัสดุและการทดสอบ ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน ที่กำลังเป็นปัญหานอกจากเรื่องโรงงานผลิตชิพ การ์ทเนอร์คาดว่าปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์แทบทุกหมวดหมู่จะกระทบต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2565

https:// www.bangkokbiznews.com/news/detail/952257