ขยะอาหารทั่วโลกพุ่ง! ถูกทิ้งปีละกว่า 2.5 พันล้านตัน ซ้ำเติมภาวะโลกร้อน

ขยะอาหารทั่วโลกพุ่ง! ถูกทิ้งปีละกว่า 2.5 พันล้านตัน ซ้ำเติมภาวะโลกร้อน

  • 0 ตอบ
  • 76 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

hs8jai

  • *****
  • 2219
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 





รายงานวิจัยล่าสุดโดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ร่วมกับเทสโก้ พบอาหารถูกทิ้งเป็นขยะอาหาร (Food Waste) กว่า 2.5 พันล้านตันต่อปี และประมาณ 40% ของอาหารที่ผลิตขึ้นทั่วโลก ไม่มีโอกาสไปถึง ‘โต๊ะอาหาร’ ด้วยซ้ำ

ขยะอาหาร หรือ Food Waste ถูกทิ้งเพิ่มขึ้นทุกปี กลายเป็นสาเหตุซ้ำเติมปัญหาภาวะโลกร้อน เนื่องจากขยะจากอาหารสามารถปล่อยก๊าซมีเทน (Methane) ที่มีความรุนแรงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 20 เท่า

รายงานชื่อ ‘Driven to Waste: The Global Impact of Food Loss and Waste on Farms' พบ 40% ของอาหารจบลงที่ 'ถังขยะ' มากกว่าโต๊ะอาหาร เป็นตัวเลขที่สูงขึ้นจากเดิมที่คาดการณ์ไว้อยู่ที่ 33% #โดยปัญหาขยะอาหารไม่ได้มาจากอาหารเหลือจากครัวเรือนเท่านั้น แต่รายงานชี้ให้เห็นว่า ขยะอาหารมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่กระบวนการผลิต ทั้งในฟาร์ม ซุปเปอร์มาร์เก็ต ตลาด มาจนถึงร้านอาหาร คาเฟ่ และโรงแรม ซึ่งรวมแล้วสร้างปริมาณขยะอาหารมากกว่า 1.2 ล้านตันในทุกปี

การผลิตอาหารทุกชนิดใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติมหาศาล ทั้งที่ดิน น้ำ และพลังงาน เมื่อคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทั้งโลกแล้ว อาหารที่ถูกทิ้งทั้งหมด (ตั้งแต่ต้นทางการผลิตในฟาร์ม ไปจนถึงปลายทางการขนส่ง-จัดจำหน่าย) ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 8% ของจำนวนก๊าซทั้งหมดในชั้นบรรยากาศ อย่างไรก็ตาม รายงาน Driven to Waste ชี้ให้เห็นว่า ตัวเลขดังกล่าวอาจสูงขึ้นเป็น 10% เนื่องจากปริมาณขยะอาหารที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี

อาหารเหลือทิ้งเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดเตรียมอาหารเพื่อใช้ในงานเลี้ยงต่าง ๆ ที่มากเกินไป หรือไม่ได้คํานึงถึงพฤติกรรมผู้บริโภค การทิ้งอาหารที่จําหน่ายไม่หมดของธุรกิจการค้าในแต่ละวัน อาหารเน่าเสียหรือสูญหายระหว่างขนส่ง หรือแม้แต่ ‘วัฒนธรรมการกินให้เหลือไว้ในจาน’ เพื่อเป็นการแสดงออกมารยาททางสังคมในบางประเทศ

รายงานยังพบอีกว่า อาหารเน่าเสีย หรือถูกคัดทิ้งของทุกประเทศรวมกันมีปริมาณ ‘มากพอ’ เลี้ยงปากท้องประชากรทั่วโลกได้อีกจำนวนมาก โดยสำหรับประเทศไทยนั้น กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) รายงานว่า ไทยมีขยะอาหารคิดเป็น 64% ของปริมาณทั้งหมด แต่ยังขาดระบบการคัดแยกขยะทำให้ขยะอาหาร โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ ยังถูกกำจัดโดยวิธีการฝังกลบซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และลดต้นทุนต่อธุรกิจ แต่ก็ทำให้เกิดความสูญเสียทรัพยากรที่ยังมีค่าโดยเปล่าประโยชน์

การสูญเสียอาหาร ถือเป็นความเสียหายทั้งต่อระบบเศรษฐกิจ และ ‘ความเจ็บปวด’ ของประชากรโลกที่ยังคงอดอยาก และต้องต่อสู้อย่างหนักเพื่อมีอาหารลงท้อง โชคดีว่าปัจจุบัน คนในสังคมเริ่มตื่นตัวมากขึ้น และปรับพฤติกรรมการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible consumption) หรือลด-เลิกการทิ้งขว้างอาหาร (No food waste) โดยร้านอาหารในหลายประเทศเริ่มคิด “ค่าปรับ” ลูกค้าที่ทานอาหารเหลือ หรือภาครัฐเริ่มมีการบังคับใช้กฎหมาย “ภาษีอาหารที่ทิ้งขว้าง” สำหรับบริษัทผลิตอาหาร หรือซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อควบคุมการทิ้งผัก-ผลไม้ที่ยังไม่หมดอายุ หรือการบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมด ให้กับองค์กรการกุศล หรือมูลนิธิ เพื่อถูกต่อส่งให้เป็น “มื้ออาหารล้ำค่า” ให้กับผู้ยากไร้

ข้อมูลอ้างอิง WWFThailand,https:// updates.panda.org/driven-to-waste-report