'อาสาสมัคร’กำลังสำคัญ'โควิดระบาด'แนะ'ประชาชน'พึ่งตนเอง

'อาสาสมัคร’กำลังสำคัญ'โควิดระบาด'แนะ'ประชาชน'พึ่งตนเอง

  • 0 ตอบ
  • 75 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jenny937

  • *****
  • 2838
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 





สถานการณ์การที่พื้นที่ กทม.และปริมณฑล เต็มไปด้วย ผู้ป่วยโควิด 19 ทั้งกลุ่มสีเขียว และกลุ่มผู้ป่วยอาการหนัก สีเหลือง และสีแดง ‘อาสาสมัคร’ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ช่วยทีมแพทย์ ลงพื้นที่ทำงานเชิงรุก ทั้งในการตรวจคัดกรองโควิด 19 เพื่อค้นหาแยก ผู้ป่วยโควิด 19 ลดการแพร่ระบาดในชุมชน รวมถึงเป็นผู้ดูแลในส่วนของ Home Isolation และCommunity Isolation ด้วย

นิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ (AIDS Access) และกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทีมอาสาสมัครที่ได้ทำงานร่วมกับชุมชนแออัดในกทม.เรื่องรัฐสวัสดิการ บำนาญแห่งชาติ รวมถึงเรื่องที่อยู่อาศัย ที่ดินร่วมกับพี่น้องชุมชนแออัด มาตลอด เล่าว่า เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 กลุ่ม อาสาสมัคร ได้มีการปรับมาทำหน้าที่ช่วยเหลือให้ความรู้ และร่วมแก้ปัญหาให้พี่น้องในชุมชนแออัดที่ติดเชื้อโควิด 19 รวมถึงป้องกับการแพร่ระบาดในชุมชน


โดยเมื่อพบผู้ป่วยติดเชื้อจะติดต่อไปยังหน่วยงานของรัฐ รพ.ต่างๆ เพื่อรับผู้ป่วยโควิด เข้าดูแล รักษาที่รพ. ทีมอาสาสมัครได้มีการอบรมแกนนำในชุมชน เพื่อให้คนเหล่านี้มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยโควิด 19

คาดการณ์ว่าหากมีการติดเชื้อในชุมชนมาก อาจจะไม่มีรพ.ให้เข้า จึงได้ร่วมกันตั้งศูนย์พักคอยในชุมชนเพื่อให้ผู้ป่วยโควิด 19 ได้รับการดูแลระหว่างรอเตียงจากรพ. ซึ่งศูนย์ดังกล่าวจะเป็นการดูแลให้ข้าวให้น้ำ หรือให้ ยาฟ้าทะลายโจร ภายใน 1-2 วัน แล้วเข้ารับการรักษาในรพ. แต่ขณะนี้เตียงไม่มี ทุกคนก็มาแออัดอยู่ในศูนย์พักคอย หรือบางคนก็ดูแลตัวเองที่บ้าน ทำให้ชุมชนมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก

นิมิตร์ กล่าวต่อว่า จาก ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว กลายเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง สีแดง และเสียชีวิต เพราะไม่ได้รับการรักษา นอนรอเตียงอยู่ที่บ้าน เพราะการให้ผู้ป่วยโควิด 19 ทุกคนเข้าไปนอนในรพ.ทั้งหมด พอมีผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง สีแดง กลุ่มอาการหนักก็ไม่มีเตียงทำให้ประชาชน


ตอนนี้เตียงในรพ.ต่างๆ เต็มไปหมด ช่วงเดือนเมษายนมีการหารือ เรื่อง Home Isolation ว่าให้ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว ได้รับการกักตัวรักษาที่บ้าน หรือ Community Isolation แยกกักตัวรักษาในชุมชน

แนะ 'ตรวจโควิด 19' ทุกชุมชนแออัดทุกที่ในกทม.
“ตอนนี้สถานการณ์สุกงอม ไม่มีเตียง ประกาศสาธารณสุขเริ่มออกมาตรการให้ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวกักตัวรักษาที่บ้าน หรือที่ชุมชน หลายคนกังวลไม่อยากกักตัวรักษาที่บ้าน ไม่รู้ว่าจะดูแลตัวเองอย่างไร ยิ่งมีคนรอบตัวติดมากขึ้น พวกเขาก็ยิ่งเครียด การดูแลรักษาก็ไม่ทั่วถึง อาการก็แย่ลง ถ้ารักษาทันก็หาย รักษาไม่ทันก็เสียชีวิต” นิมิตร์ กล่าว

ขณะนี้ได้เปิดรับอาสาสมัครรับลงทะเบียน ณ จุดตรวจโควิดบริการเชิงรุก จำนวน 300 คน โดยจะมีการอบรมอาสาสมัครมาร่วมทำงานวันที่ 2 ส.ค.นี้ ขอเพียงมีโน้ตบุ๊คและพร้อมทำงานต่อเนื่อง 7 วัน ระหว่างวันที่ 4-10 ส.ค.นี้ ณ จุดลงทะเบียน การตรวจเชิงรุกจะกระจาย ไปทั้ง 69 เขตในกทมและปริมณฑล ซึ่งจะมีจุดตรวจอย่างน้อย 50 จุดต่อวัน แต่ละจุดต้องการอาสาสมัครช่วยงานลงทะเบียน 6 คน รวมแล้วต้องการอาสาสมัครช่วยการลงทะเบียน 300 คน


เพื่อเร่งค้นหาเพื่อช่วยผู้ติดเชื้อโควิดที่รู้ผลในวันที่ตรวจ เพื่อช่วยให้ทุกคนได้รับบริการที่เหมาะสมตาม โดยผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว ไม่มีอาการเข้าสู่ระบบ Home Isolation(HI) ในศูนย์สาธารณสุขหรือคลินิกอบอุ่น ส่วนผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว มีอาการสัมพันธ์กับโควิดและกลุ่มผู้ป่วยสีเหลือง จะได้รับยา และ อยู่ในระบบ HI กับคลินิกพริบตา IHRI ซึ่งต้องมีระบบการลงทะเบียนและระข้อมูลที่ดี

นายนิมิตร์ กล่าวต่อไปว่าอยากให้รัฐบาล สธ. กทม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจโควิด 19 ทุกชุมชนแออัด ทุกที่ในกทม.ให้ได้มากที่สุด และเมื่อตรวจแล้ว ควรมีการให้ความรู้ ทำความเข้าใจกับผู้ป่วย และต้องหาสถานที่ดูแลรักษาซึ่งทีมอาสาสมัครพร้อมช่วยเหลือ เตรียมชุมชน เตรียมพื้นที่ให้ และถ้าผลติดเชื้อ ก็พร้อมจะช่วยดูแลต่อหากผู้ป่วยเข้ามาตรการต่างๆ



จัดลำดับความสำคัญเร่ง 'ตรวจเชิงรุก' 1 ล้านคน
ตอนนี้ประชาชนที่ป่วยโควิด 19 ต้องรู้ว่าเมื่อตัวเองติดเชื้อต้องทำอย่างไรต่อไป และต้องมีการผลักดันให้คลินิกเป็นตัวจ่าย ยาต้านไวรัสให้แก่คนในชุมชนทันที เพื่อให้พวกเขาไม่มีอาการรุนแรงมากขึ้น ถ้ามัวแต่รอคัดแยกกลุ่ม ไม่ให้ยา แถมคัดแยกแล้วก็ไม่มีเตียงรองรับผู้ป่วยก็มีแต่คนติด ไม่มีคนหาย

“รัฐบาล สธ.และกทม. ควรจัดลำดับความสำคัญ โดยเฉพาะกทม.ต้องยอมรับว่าตัวเองเป็นเมืองใหญ่ แต่คนทำงานที่มีประสิทธิภาพจริงๆ มีน้อย คนทำงานระดับล่างทำงานจริง เข้าใจปัญหาแต่ไม่กล้าตัดสินใจ ขณะที่ผู้บริหารระดับสูงออกนโยบายแต่ยากในทางปฎิบัติจริง การบริหารจัดการกทม.ถือว่าด้อยประสิทธิภาพ กทม.ต้องเร่งตรวจเชิงรุก ลงมาร่วมมือกับภาคประชาชน สาธารณสุขในพื้นที่และแพทย์ชนบท ต้องทำงานตรวจเชิงรุกให้ได้ 1 ล้านคน และสั่งการให้ทุกจุดของสาธารณสุขเป็นจุดตรวจโควิด ” นิมิตร์ กล่าว


รัฐต้องสื่อสาร ไทยจะไปทิศทางไหน 
ขณะที่ ระบบสาธารณสุข ต้องสร้างภาพใหม่ว่าเป็นโรคติดต่อที่ทุกคนสามารถป้องกันได้หากทุกคนปฎิบัติตัว สวมใส่หน้ากากตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ เพราะในความเป็นจริง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ในประเทศเป็นกลุ่มสีเขียว ส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อ 80% รักษาได้ด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาในรพ.และหากตอนนี้มีผู้ป่วยติดเชื้อที่มีแนวโน้มจะเสียชีวิตเป็นกลุ่มใด ต้องเร่งสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชน และจ่ายยาให้ครบทุกคน

อยากให้นำเสนอคนที่รักษาตัวเองแล้วหายมีจำนวนเท่าไหร่ และควรให้คนเหล่านี้มาเป็นอาสาสมัคร เป็นกระบอกเสียง ไม่สร้างความตื่นตระหนกจนแย่ไปหมด ทุกคนดิ้นรนหาเตียง รัฐไทยต้องการผู้นำในการสื่อสาร ต้องบอกกับคนในประเทศว่าสถานการณ์เป็นแบบไหน จะเดินไปทิศทางใด ไม่ใช่แก้สถานการณ์ตามปัญหาที่เกิดไปเรื่อยๆ ตอนนี้มีการล็อกดาวน์ ตรวจเชิงรุก เร่งฉีดวัคซีน แต่กลายเป็นทุกอย่างทำให้คนแออัดมากขึ้น


“ในเมื่อพึ่งพาภาครัฐได้เพียงส่วนน้อย ประชาชนต้องเริ่มด้วยตัวเอง ต้องไม่ตื่นตระหนก ควรมีสติ ถ้าติดเชื้ออาการไม่รุนแรง ไม่จำเป็นต้องร้องหาเตียง ดูแลตัวเองที่บ้าน และคนที่หายดีแล้ว ต้องลุกขึ้นมาพูด ช่วยบอกชุมชน ช่วยเป็นอาสาสมัคร มาทำงาน ต้องสร้างเครือข่ายอดีตผู้ติดเชื้อโควิด ส่วนบุคลากรทางการแพทย์เข้าใจว่าเหนื่อยล้า แต่ในภาวะวิกฤตนี้เป็นความท้าทายของบุคลากรทางการแพทย์ว่าจะบริหารจัดการอย่างไร และ หน่วยงานของรัฐต้องยืดหยุ่น ลดความเป็นระบบราชการ ต้องกล้าคิด กล้าตัดสินใจเอาผู้ป่วยเป็นที่ตั้ง” นิมิตร์ กล่าวทิ้งท้าย