'Home Isolation' มาตรการ 'กักโรค' ในวันที่..เตียงรพ.ถึงขั้นวิกฤติ

'Home Isolation' มาตรการ 'กักโรค' ในวันที่..เตียงรพ.ถึงขั้นวิกฤติ

  • 0 ตอบ
  • 72 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jenny937

  • *****
  • 2838
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 





ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายสำหรับวันที่ประเทศไทยจะเดินมาถึงจุดวิกฤติของการรักษาโควิด-19 ใน รพ. เมื่อเตียงไม่พอ หมอไม่มี บุคลากรด่านหน้ารับมือไม่ไหว การเพิ่มโรงพยาบาลสนามไม่ทันกับการเพิ่มจำนวนของคนไข้

นโยบายและมาตรการ Home Isolation จึงถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึง และถูกผลักดันให้เป็นนโยบายเร่งด่วน จนกลายเป็นวลียอดฮิตสำหรับ “เถียงนาโมเดล” ที่โฆษก ศบค.พูดถึง


จะว่าไปแล้ว การทำ Home Isolation ถือเป็นทางออกและมาตรการที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ไขปัญหา และไม่ใช่แค่ประเทศไทย โมเดลนี้ มีใช้ในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ สหรัฐฯ โดยให้ผู้ป่วย “โควิด-19” อาการไม่หนักดูแลตัวเองที่บ้าน ตั้งแต่ในช่วงการ ระบาด Wave 2 โดยให้คนไข้ดูแลตนเอง ทั้งการวัดไข้ กินยา สังเกตอาการแต่สำหรับประเทศไทยต้องบอกว่า การทำ Home Isolation ดู เหมือนจะดีกว่าต่างประเทศ เพราะมีการให้อุปกรณ์วัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนไปที่บ้านเพื่อวัดค่าต่างๆ มีแพทย์โทรศัพท์หรือวิดีโอคอลตรวจสอบอาการทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง มีการส่งอาหารและน้ำให้วันละ 3 มื้อ หากอาการทรุดลงก็จะส่งยาฟ้าทะลายโจรและยาฟาวิพิราเวียร์ไปให้ที่บ้านหรือส่งรถไปรับมานอนที่โรงพยาบาล

เรียกว่าไม่ผลักภาระให้ผู้ป่วยมากจนเกินไป การดูแลหรือ Care เหมือนอยู่ รพ.เพียงแต่คนไข้พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน

ในช่วงแรกที่มีการระบาด ประเทศในยุโรปเกือบทั้งหมดใช้มาตรการนี้ แม้แต่นายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริสจอห์นสัน ตอนที่ป่วยก็เข้าสู่มาตรการ Home Isolation เช่นเดียวกับคนไข้คนอื่นๆใครบ้างที่สามารถเข้าสู่กระบวนการ Home Isolation


มีข้อกำหนดอยู่ประมาณ 7 ข้อ เริ่มจากต้องเป็นคนไข้โควิดสีเขียว หมายถึงเป็นผู้ติดเชื้อโควิดที่สบายดี หรือไม่มีอาการ (asymptomatic cases) มีอายุน้อยกว่า 60 ปี มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อยู่คนเดียว หรือมีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน ไม่มีภาวะอ้วน (ภาวะอ้วน หมายถึง ดัชนีมวลกาย >3030 กก./ม.2 หรือน้ำหนักตัว > 90 กก.) ไม่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคไตเรื้อรัง (CKD Stage 3, 4) โรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ หรือโรคอื่นๆตามดุลพินิจของแพทย์ และสุดท้าย คือยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง

ถ้าเข้าเกณฑ์ทั้ง 7 ข้อนี้ ก็สามารถที่จะกักตัวเองอยู่ที่บ้าน เป็นการกักโรคไม่ให้ไปแพร่กระจายด้วย


มาตรการนี้ ทั้งยุโรป เอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ล้วนแล้วแต่มีโมเดลที่ได้ผลดี นอกจากจะเป็นการสกัดการระบาดของโรคไม่ให้รุนแรงขึ้นแล้ว ยังช่วยลด Work load ของบุคลากรทางการแพทย์ลงได้มากด้วย

สิ่งสำคัญสำหรับมาตรการนี้คือ ระบบที่ดี โดยเฉพาะการตรวจสอบ ติดตามอาการ จะผ่านทางโทรศัพท์ หรือวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ไลน์ วิดีโอ ก็ได้ เพื่อให้ทราบความคืบหน้าอาการของผู้ป่วย


ในสวีเดนมีรายงานยืนยันทางการแพทย์ชัดเจนว่า การทำ Home Isolation ช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อ และหากมีระบบที่ดี เช่น การจ่ายยาให้อย่างรวดเร็ว การติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยประมาณ 80% จะหายได้เอง และไม่พัฒนาจากผู้ป่วยสีเขียว เป็นสีเหลือง มีเพียง 20% เท่านั้นที่อาจมีข้อจำกัด และต้องถูกส่งตัวไป รพ.

ในประเทศอังกฤษ การทำ Home Isolation ช่วยลดการป่วยและนอนไอซียูลงได้มาก สำคัญที่การวินิจฉัยเร็ว ให้ยาเร็ว และติดตามอาการอย่างใกล้ชิด


สำหรับประเทศไทย สิ่งสำคัญที่ต้องเริ่มก่อนคือ การให้ความรู้ ความเข้าใจกับประชาชนให้เห็นว่าการรักษาตัวที่บ้าน ในกรณีที่เป็นน้อย หรือแทบไม่มีอาการ เป็นผลดีทั้งต่อตัวเองและสังคมโดยส่วนรวม เป็นการช่วยตัวเองเพื่อช่วยชาติ เพื่อผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน.

https:// www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/2136671