ลุยสร้างปีนี้ขยาย 4 เลน สายเชียงใหม่-เชียงราย 17 กม. งบ 2 พันล้าน

ลุยสร้างปีนี้ขยาย 4 เลน สายเชียงใหม่-เชียงราย 17 กม. งบ 2 พันล้าน

  • 0 ตอบ
  • 71 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jessicas

  • *****
  • 2373
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 





ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมทางหลวง (ทล.) แจ้งว่า ตามที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม  มอบนโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐานทางถนนให้ขยายทางหลวงหมายเลข 118 เชียงใหม่-เชียงราย เป็นถนนมาตรฐานขนาด 4 ช่องจราจร ไป-กลับ ตลอดเส้นทาง 158.473 กม. จากเดิมมีขนาด 2 ช่อง ไป-กลับ เพื่อเสริมสร้างโครงข่ายทางหลวงพื้นที่ภาคเหนือให้สมบูรณ์ 

ที่ผ่านมา ทล. ขยายทางหลวงสายดังกล่าวเป็น 4 ช่อง แล้วเสร็จ 48 กม. และได้ดำเนินโครงการก่อสร้างเป็น 4 ช่อง อีกระยะทาง 42.8 กม. ช่วง อ.ดอยสะเก็ด-ต.แม่ขะจาน ระหว่าง กม.20+200-กม.63+000 ซึ่งขณะนี้เหลือเพียง ตอน อ.ดอยสะเก็ด-ต.ป่าเมี่ยง ตอน 1 ระหว่าง กม.20+200-กม.31+700  ระยะทาง 11.5 กม. ขณะนี้มีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 93% คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือน ก.ย.นี้ จะทำให้เพิ่มระยะทางเป็น 4 ช่องรวม 91 กม. ทั้งนี้มีบางช่วงที่ดำเนินการแล้วเสร็จและเปิดให้ใช้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้ใช้เส้นทางไปแล้ว 


ส่วนที่เหลืออีก 67.473 กม. ที่ยังเป็น 2 ช่องอยู่ และเป็นช่วงสุดท้ายโดยอยู่ในพื้นที่ ต.บ้านโป่ง-บรรจบทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ระหว่าง กม.91+000 กม.158+473 เนื่องจากสภาพเส้นทางมีลักษณะคดเคี้ยว  เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง  จำเป็นต้องปรับปรุงให้เป็นทางหลวงขนาด 4 ช่องตลอดเส้นทาง เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก ปลอดภัยในการเดินทาง  ยกระดับความปลอดภัยด้านคมนาคมขนส่ง และรองรับปริมาณการจราจรและการขยายตัวทางเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค และประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะภาคการขนส่งและการท่องเที่ยว 


ทั้งนี้ ทล. จึงเร่งดำเนินโครงการสำรวจและออกแบบทางหลวงหมายเลข 118 (สายเชียงใหม่-เชียงราย) แบ่งเป็น 2 ตอน คือ 1.ตอน บ.แม่เจดีย์-อ.แม่สรวย 50 กม. อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลสำรวจผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และจัดทำรายงาน EIA เสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) หากผ่านการพิจารณาแล้วโครงการจะมีความพร้อมเพื่อเสนอของบประมาณดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ประมาณ ปี 67 แล้วเสร็จปี 69 


และ 2.ตอน อ.แม่สรวย-แยกจุดตัดทางหลวงหมายเลข 1 จ.เชียงราย 17.473 กม. กำลังเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณจากแหล่งเงินกู้ (เพิ่มเติม) อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ และหากได้รับงบประมาณจะเร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป  โดยใช้งบประมาณโครงการ  2,000 ล้านบาท  คาดว่าเริ่มดำเนินการได้ประมาณปี 65 แล้วเสร็จปี 67 

สำหรับโครงการ ตอน อ.แม่สรวย-แยกจุดตัดทางหลวงหมายเลข 1 จ.เชียงราย มีจุดเริ่มต้นบริเวณ กม.141+000 ท้องที่ ต.แม่สรวย สิ้นสุดที่จุดตัดทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธินบริเวณ กม.910+123) ที่ กม.158+473 ต.ดงมะดะ ครอบคลุมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่สรวย  อ.แม่ลาว และ  3 ตำบล ได้แก่ ต.แม่สรวย ต.ดงมะดะ ต.จอมหมอกแก้ว รูปแบบการก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตขนาด  4 ช่อง ความกว้างช่องจราจรละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 2.50 เมตร แบ่งทิศทางการจราจรด้วยแบริเออร์คอนกรีตกว้าง 1.60 เมตร  


มีรูปแบบทางแยก 4 จุดตัด ดังนี้ 1.จุดตัดทางหลวงชนบทหมายเลข ชร.2113 (กม.146+994) ออกแบบเส้นทางสายหลักทางหลวงหมายเลข 118 เป็นสะพานยกระดับ ลดการตัดกระแสของการจราจรบริเวณทางแยกและมีการจัดการทางแยกระดับพื้นดินในลักษณะวงเวียน ออกแบบทางขนานเพื่อแยกการจราจรระหว่างการเดินทางในพื้นที่กับถนนสายหลัก และกำหนดจุดกลับรถใต้สะพานสำหรับความสูงไม่เกิน 5.50 เมตร 2.จุดตัดทางหลวงหมายเลข 1211 (กม.154+647) ออกแบบเส้นทางสายหลักทางหลวงหมายเลข 118 เป็นสะพานยกระดับ ลดการตัดกระแสของจราจรบริเวณทางแยกและมีการจัดการทางแยกระดับพื้นดินในลักษณะวงเวียน ออกแบบทางขนานเพื่อแยกการจราจรระหว่างการเดินทางในพื้นที่กับถนนสายหลัก และกำหนดจุดกลับรถใต้สะพานสำหรับความสูงไม่เกิน 5.50 เมตร 


3.จุดตัดถนนเลียบคลองชลประทาน (กม.156+500) โดยรื้อสะพานข้ามคลองชลประทาน บนเส้นทางสายหลักทางหลวงหมายเลข 118 ในปัจจุบันออก เพื่อออกแบบเป็นสะพานยกระดับข้ามคลองชลประทาน โดยออกแบบทางขนานเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางในพื้นที่ และแยกกระแสจราจรของรถที่ใช้ความเร็วออกจากกันเพื่อความปลอดภัยบริเวณใต้สะพานออกแบบจัดการจราจรเป็นระบบวงเวียนของถนนเลียบคลองชลประทานทั้ง 2 ฝั่ง และกำหนดจุดกลับรถใต้สะพานสำหรับความสูงไม่เกิน 4.50 เมตร 


และ 4.จุดตัดถนนทางหลวงหมายเลข 1 ที่ กม.158+473 แนวเส้นทางตัดกับทางหลวงหมายเลข 1  ที่ กม.910+123 และเป็นจุดสิ้นสุดของโครงการ  สภาพพื้นที่ในปัจจุบันเป็น 3 แยกสัญญาณไฟแบบ channelize แต่เนื่องจากเป็นทางแยกหลักที่เชื่อมโยงระหว่าง 3 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย เชียงใหม่ และพะเยา ซึ่งปริมาณจราจรที่ผ่านจุดตัดนี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้จำเป็นต้องพิจารณาออกแบบปรับปรุง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของทางแยกให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น 

โดยออกแบบทางยกระดับข้ามทางแยก 1 ทิศทาง บนทางหลวงหมายเลข 1 ฝั่งมุ่งหน้าจาก จ.พะเยา ไปตัวเมืองเชียงราย พร้อมทางขนานทางยกระดับ ทิศทางมุ่งหน้าจากตัวเมืองเชียงรายไป จ.พะเยา จะขยายถนนระดับพื้นดิน จากเดิม 2 ช่อง เป็น 4 ช่อง โดยออกแบบเกาะกลางรูปปีกนกสำหรับแบ่งรถในทิศทางตรงให้สามารถผ่านทางแยกได้คล่องตัว ไม่ต้องติดสัญญาณไฟจราจร ส่วนทิศทางเลี้ยวขวาเข้า-ออก จากทางหลวงหมายเลข 118 จะถูกควบคุมด้วยสัญญาณไฟจราจร ทำให้ลดการตัดกระแสจราจรบริเวณทางแยกและทำให้การจราจรบนทางหลวงหมายเลข 1 เกิดความคล่องตัว  


เมื่อโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จจะช่วยเติมเต็มโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งทางหลวงหมายเลข 118 ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ช่วยลดอุบัติเหตุ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถรองรับปริมาณการจราจรที่มากขึ้นจากเดิม 1-1.8 หมื่นคันต่อวัน เป็น 3 หมื่นคันต่อวัน ช่วยลดระยะเวลาการเดินทางระหว่าง จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงราย จากเดิมที่ใช้เวลาประมาณ 4 ชม. ลดลงเหลือ 3 ชม. ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชนให้สะดวกรวดเร็ว ช่วยส่งเสริมด้านเศรษฐกิจการค้า การท่องเที่ยว จ.เชียงราย และเกิดโครงข่ายคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคเหนือไปยังประเทศเพื่อนบ้าน