'มทร.สุวรรณภูมิ' สร้างมูลค่าเพิ่ม 'กล้วยหอมเขียวคาเวนดิช' สิงห์บุรี

'มทร.สุวรรณภูมิ' สร้างมูลค่าเพิ่ม 'กล้วยหอมเขียวคาเวนดิช' สิงห์บุรี

  • 0 ตอบ
  • 89 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Cindy700

  • *****
  • 3330
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 





อีกหนึ่งโครงการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิเพื่อชุมชน โดยพัฒนาผลิตผลในพื้นที่ช่วยเกษตรกรแก้ปัญหาเรื่องผลผลิตราคาตกต่ำ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา เหลียวตระกูล อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) หัวหน้าโครงการหมู่บ้านต้นแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มกล้วยหอมเขียวคาเวนดิช เปิดเผยว่า ตนพร้อมคณะทำงาน ได้ลงพื้นที่สำรวจบริบทกลุ่มเกษตรกรพื้นที่ตำบลโพประจักษ์ และตำบลถอนสมอ อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี มีการเพาะปลูกกล้วยหอมเขียวคาเวนดิช พบปัญหาผลผลิตเกินความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ มีกล้วยตกเกรดจำนวนมาก อีกทั้งราคาของกล้วยหอมสดยังตกต่ำ ทำให้เกษตรกรมีภาวะหนี้สินครัวเรือน นั้น



ทำให้ทีมงานวิจัยเกิดแผนงานภายใต้โครงการบ่มเพาะหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ (ชื่อเดิม) ในการสร้างมูลค่าเพิ่มกล้วยหอมเขียวคาเวนดิชตกเกรด ด้วยการแปรรูป ที่มุ่งเน้นการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านนวัตกรรมอาหารเข้ามาประยุกต์ใช้ ส่งผลให้ มีการรวมกลุ่มกันแปรรูปกล้วยหอมเขียว เพื่อจำหน่าย ถนอมอาหาร เพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิตทางการเกษตร  และ นำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ ลดอัตราการว่างงานในชุนชน กระตุ้นเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน



ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา กล่าวว่า ปกติเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมเขียวเดิมขายกล้วยหอมเขียวตกเกรด ในราคา 3 บาท/กิโลกรัม ปัจจุบันมีราคากลาง 9 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3 เท่าโดยมีกลุ่มแปรรูปมารับซื้อ  และมียอดจำหน่ายแป้งกล้วยหอมเขียวเพิ่มขึ้นประมาณ 30-50 กิโลกรัม/เดือน ส่วนผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่น ๆ จากกล้วยหอมเขียว ในปี พ.ศ. 2563 เกษตรกรมีรายได้ของกลุ่มเพิ่มขึ้น มูลค่าประมาณ 15,000 บาท/เดือน