ขอดเกล็ดรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ประมูลแบบ 'นานาชาติ' แต่'ผู้รับเหมาต่างชาติ' กระอัก!

ขอดเกล็ดรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ประมูลแบบ 'นานาชาติ' แต่'ผู้รับเหมาต่างชาติ' กระอัก!

  • 0 ตอบ
  • 82 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Chigaru

  • *****
  • 2319
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 



  

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ชำนาญด้านโครงการและแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนและ ท่าอากาศยานได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว ชื่อ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ -Drsamart Ratchapolsitte โดยมีเนื้อหาดังนี้... แม้ผมจะสนับสนุนผู้รับเหมาไทย แต่เมื่อ รฟม.เปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงินงานโยธา 78,720 ล้านบาท โดยใช้วิธี “การประกวดราคานานาชาติ” เพราะเห็นว่าจำเป็นต้องใช้ผู้รับเหมาต่างชาติ ผมจึงต้องตามดูว่ามีการปฏิบัติต่อผู้รับเหมาต่างชาติเท่าเทียมกับผู้รับเหมาไทยหรือไม่? มีการกำหนดเงื่อนไขที่ขัดขวางการแข่งขันอย่างเป็นธรรมหรือไม่? ที่สำคัญ ผู้รับเหมาต่างชาติจะผ่านด่านสุดโหดได้หรือไม่? ติดตามได้จากบทความนี้

การประกวดราคานานาชาติมีเงื่อนไขอย่างไร?

การประกวดราคานานาชาติ (International Competitive Bidding) กรณีงานก่อสร้างที่มีวงเงินตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 และแนวทางปฏิบัติของกระทรวงการคลัง ที่ กค 0405.3/ว93 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2560 ระบุไว้ดังนี้

1. เป็นงานก่อสร้างที่มีรายละเอียดซับซ้อน
2. มีเทคนิคเฉพาะ
3. จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง
4. ต้องใช้บุคลากรในสาขาวิชาชีพการก่อสร้างชั้นสูงหรือช่างผู้มีฝีมือโดยเฉพาะ หรือมีความชำนาญเป็นพิเศษ เช่น ทางยกระดับ อุโมงค์ใต้ดิน ท่าเรือขนส่ง ท่าอากาศยาน เป็นต้น

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เห็นว่าการประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) หรือที่เรียกกันว่ารถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้เข้าเงื่อนไขดังกล่าว จึงตัดสินใจใช้การประกวดราคานานาชาติ

รฟม.อ้างว่าได้ปฏิบัติตาม พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบการทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาดูกันว่าข้อกำหนดของผู้ว่าจ้างหรือทีโออาร์ตรงกับเจตนารมณ์ของ พรบ.จัดซื้อฯ และระเบียบ ก.คลังฯ ดังกล่าวหรือไม่?

ผู้เข้าประมูลต้องมีผลงานอะไร?

ทีโออาร์กำหนดชัดว่าผู้เข้าประมูลจะต้องมีผลงานกับ “รัฐบาลไทย” ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ดังนี้

1. ก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท และ
2. ก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินหรือลอยฟ้าในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท และ
3. ออกแบบอุโมงค์ใต้ดินหรือสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินหรือลอยฟ้าในสัญญาเดียวที่มีค่าก่อสร้างไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท

เมื่อทีโออาร์กำหนดผลงานไว้อย่างนี้ กล่าวคือต้องมีผลงานกับรัฐบาลไทยเท่านั้น ผลงานในต่างประเทศนำมาใช้ไม่ได้ ถามว่าผู้รับเหมาต่างชาติจะผ่านด่านทีโออาร์สุดโหดนี้ได้หรือ? สุดท้ายคงเหลือผู้รับเหมาไทยขนาดใหญ่เพียง 4-5 รายเท่านั้นที่สามารถผ่านด่านทีโออาร์นี้ได้ และคงได้งานครบทุกราย เนื่องจาก รฟม.แบ่งการประมูลงานโยธาออกเป็น 6 สัญญา
ทีโออาร์เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พรบ. จัดซื้อฯ และระเบียบ ก.คลังฯ หรือไม่?

พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 8(2) บัญญัติไว้ว่า “ต้องเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม มีการปฏิบัติต่อผู้ประกอบการทุกรายโดยเท่าเทียมกัน”
ระเบียบการทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 45 ระบุชัดไว้ว่า “ต้องไม่มีการกำหนดเงื่อนไขที่เป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม”
อ่านแล้ว พอจะบอกได้ใช่มั้ยครับว่าทีโออาร์ของ รฟม.ตรงตามเจตนารมณ์ของ พรบ.จัดซื้อฯ และระเบียบ ก.คลังฯ หรือไม่?

รฟม.ได้ตระหนักถึงเจตนารมณ์ของกระทรวงคมนาคมในการประกวดราคานานาชาติหรือไม่?

น่าเสียดายที่ รฟม.ไม่อ้างถึงหนังสือกระทรวงคมนาคม ที่ คค 0208/2840 ลงวันที่ 7 เมษายน 2560 ถึงอธิบดีกรมบัญชีกลาง มีใจความตอนหนึ่งว่า “งานก่อสร้างที่เป็นเทคนิคเฉพาะหรือต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ที่เป็นการดำเนินการในรูปแบบ Design and Build หรือ Turnkey หรือการซื้อหรือการจ้างที่เป็นเทคนิคเฉพาะ มีความเป็นไปได้ที่ผู้รับจ้างไทยที่มีคุณสมบัติจะมีจำนวนไม่มากนัก อาจไม่ทำให้เกิดการแข่งขัน ดังนั้น การประกวดราคานานาชาติจะทำให้มีการแข่งขันมากขึ้น และช่วยลดการสมยอมราคา ส่งผลดีต่อความโปร่งใสในระบบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ รวมทั้งเกิดการถ่ายทอดและเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ จากต่างประเทศโดยตรง มีผลดีต่อการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศไทยในระยะยาว”

อ่านแล้วทำให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกระทรวงคมนาคมในการจัดให้มีการประกวดราคานานาชาติ ดังนี้

1. ให้มีการแข่งขันมากขึ้น

2. ลดการสมยอมราคา หรือ “ฮั้ว”

3. ให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี

รฟม.ซึ่งสังกัดกระทรวงคมนาคมได้ตระหนักถึงเจตนารมณ์ของกระทรวงเจ้าสังกัดในการจัดให้มีการประกวดราคานานาชาติขึ้นหรือไม่? ถ้าได้ตระหนัก แล้วทำไมจึงเขียนทีโออาร์ไว้อย่างนั้น?
สรุป

งานก่อสร้างที่ผู้รับเหมาไทยสามารถทำได้ ผมเห็นว่าควรใช้ผู้รับเหมาไทย ไม่จำเป็นต้องใช้ผู้รับเหมาต่างชาติ เพื่อสนับสนุนผู้รับเหมาไทย แต่งานก่อสร้างที่จำเป็นต้องใช้ผู้รับเหมาต่างชาติ โดยใช้การประกวดราคานานาชาตินั้น เราจะต้องให้ความเป็นธรรมต่อทุกรายด้วยการปฏิบัติต่อผู้เข้าประมูลทุกรายโดยเท่าเทียมกัน

เป็นที่รู้กันในวงการประมูลว่าหากโครงการใดที่ผู้รับเหมาต่างชาติสามารถเข้าประมูลได้ เขาจะไม่ยอม “ฮั้ว” แต่จะสู้ด้วยฝีมือและราคาที่ต่ำกว่า เนื่องจากเขามีประสบการณ์สูง มีการใช้เทคโนโลยีที่
สามารถทำให้งานก่อสร้างเสร็จเร็ว ประหยัดค่าก่อสร้างได้ ทำให้เขาสามารถเสนอราคาได้ต่ำกว่า
ด้วยเหตุนี้ งานก่อสร้างที่จำเป็นต้องใช้ผู้รับเหมาต่างชาติ เราจะไปกีดกันเขาทำไม? เพราะเขาช่วยประหยัดค่าก่อสร้าง และช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เราได้ ไม่ใช่หรือ?
...................
ข้อสงสัยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ผมและประชาชนทุกคนชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง