สอวช. - วช. และมจธ. จับมือขับเคลื่อน ววน.ของประเทศ 

สอวช. - วช. และมจธ. จับมือขับเคลื่อน ววน.ของประเทศ 

  • 0 ตอบ
  • 73 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

hs8jai

  • *****
  • 2219
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 





สอวช. จับมือ วช. และ มจธ. เดินหน้าพัฒนาระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และพัฒนากลไก ในการขับเคลื่อนระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ให้สัมฤทธิ์ผลอย่างเป็นรูปธรรม

 นอกจากนี้ ยังเป็นการร่วมพัฒนาองค์ความรู้และบุคลากรด้านการพัฒนานโยบายวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ในการเพิ่มขีดความสามารถและการขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมของประเทศ และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน ให้เกิดเครือข่าย การวิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทย ที่จะนําไปสู่การร่วมกําหนดและผลักดันนโยบาย ววน. ร่วมกันได้อย่าง มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พร้อมด้วย ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ผ่านระบบออนไลน์ (ระบบ ZOOM)

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวถึงการเชื่อมโยงบทบาทของ วช. กับนโยบายวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศในฐานะ PMU ด้วยว่า การมี กระทรวง อว.เกิดขึ้นในส่วนของการรวมกลไกหลักสำคัญของประเทศ ทั้งในเรื่องของการอุดม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและต้องมีความเข้าใจอย่างมาก สำหรับทีมงานของ วช.ที่ต้องเข้าไปสัมพันธ์กับรูปแบบการทำงานที่มีความเชื่อมโยงทั้งเรื่องเชิงระบบ เชิงกลไก เชิงแผนงาน และการนำส่งผลสำเร็จผลลัพธ์ของงาน อย่างไรก็ตาม การที่จะขับเคลื่อนงานให้เดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพสิ่งหนึ่งคือการเชื่อมต่อในเชิงนโยบาย

สำหรับบทบาทของ PMU ที่ วช.ให้ความสำคัญคือนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน.ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา ในส่วนของการลงนามวันนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และตัวสมรรถนะของความเข้าใจของบุคลากร วช. ในเรื่องของการพัฒนานโยบาย ววน.มีความเข้มแข็ง สามารถเข้าไปทำความใจระบบใหม่ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ


ด้าน ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผอ.สอวช.กล่าวถึง ความสำคัญของระบบและนโยบายวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ว่า การสนับสนุนในเรื่องดังกล่าวถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด19 ที่เกิดขึ้นขณะนี้ที่มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ก็เพื่อให้ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) มีความเข้มแข็งมากขึ้น ในส่วนของการจัดการนั้นจะต้องดำเนินการในเชิงระบบให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้ง ววน.จะต้องมีมากกว่างานวิจัย และต้องไปถึงการพัฒนาที่มีฐานความรู้ทั้งจากงานวิจัยและนวัตกรรม โดยจะต้องมีการถ่ายทอดให้ความรู้ลงไปถึงกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น


ขณะที่ รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวถึงงนวัตกรรมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมสมรรถนะของบุคลากรในการบริหารการวิจัยของประเทศด้วยว่า ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นความสำคัญอย่างมาก ในการบริหารจัดการงานวิจัยให้ตอบสนองนโยบายของประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งหลักสูตรการพัฒนาบุคลากร ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากที่มีการคิดอย่างตนวางระบบที่ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ