ไทยมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เดินหน้าพลังงานสะอาด – แบตเตอรี่รับเทรนด์โลก

ไทยมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เดินหน้าพลังงานสะอาด – แบตเตอรี่รับเทรนด์โลก

  • 0 ตอบ
  • 81 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Beer625

  • *****
  • 3030
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 





ปัญหาสภาวะโลกรวนทำให้หลายประเทศในยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกามีความพยายามที่จะกำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เข้มข้น รวมถึงประเทศไทยที่ออกมาขานรับการเดินหน้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำเช่นกัน โดยเฉพาะในภาคพลังงานที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงร้อยละ 30

แผนพลังงานแห่งชาติฉบับใหม่จึงมุ่งเป้าสู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) ด้วยนโยบาย 4D1E ประกอบด้วย

- DIGITALIZATION ยกระดับโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าให้เป็นระบบอัจฉริยะรองรับไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนและพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน

- DECARBONIZATION ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ชีวมวล ส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล

- DECENTRALIZATION ส่งเสริมโรงไฟฟ้าชุมชน สร้างความสมดุลของพื้นที่ไฟฟ้าในทุกภูมิภาค

- DE-REGULATION สนับสนุนการเปิดพื้นที่เฉพาะให้สามารถพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านพลังงานได้โดยผ่อนปรนกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค (ERC Sandbox) และส่งเสริมสตาร์ทอัพด้านพลังงาน

- ELECTRIFICATION ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

เทรนด์แบตเตอรี่มาแรง หนุนไทยมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

รศ.ดร.ณอคุณ สิทธิพงศ์ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการองค์การซีเกรฝ่ายไทย กล่าวถึงทิศทางพลังงานโลกภายในงาน TNC – CIGRE WEBINAR 2021 ระบุว่า หลายประเทศทั่วโลกได้เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมากขึ้น แต่ความผันผวนของการผลิตไฟฟ้าที่เป็นไปตามสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศ ทำให้ต้องนำเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานในรูปแบบของแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System : BESS) เข้าช่วยเสริมเสถียรภาพการบริหารจัดการไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน อีกทั้งราคาแบตเตอรี่ที่มีแนวโน้มลดลงจะมีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคตให้เพิ่มมากขึ้นด้วย

Mr. Wilhelm van Butselaar ผู้แทนจาก Wärtsilä Singapore กล่าวเสริมว่า เทคโนโลยี BESS ได้ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายและมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หากนำมาประยุกต์ร่วมกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและพลังงานฟอสซิลจะสามารถลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยของระบบได้มากกว่าร้อยละ 25 หรือหากนำไปใช้ร่วมกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจะช่วยลดความผันผวนจากข้อจำกัดด้านสภาพแวดล้อมและเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบให้มีความมั่นคง ถือเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาดในกระบวนการผลิตไฟฟ้าเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำในอนาคต

ชู ‘โซลาร์ลอยน้ำไฮบริดและแบตเตอรี่’ จุดเด่นโมเดลผลิตไฟฟ้ารับหมุนเวียน

ด้าน กฟผ. ก็ไม่ตกเทรนด์มุ่งพัฒนา BESS เชื่อมต่อกับระบบส่งไฟฟ้า (Grid Scale) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพื่อช่วยเสริมความมั่นคง รองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นในอนาคต โดย BESS จะกักเก็บพลังงานในช่วงที่ระบบมีความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อย และจ่ายพลังงานให้กับระบบในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้น อีกทั้งยังช่วยรักษาความถี่ของระบบไฟฟ้าด้วย โดย กฟผ. ได้เริ่มนำร่อง BESS ในพื้นที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงบำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ และสถานีไฟฟ้าแรงสูงชัยบาดาล จ.ลพบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนสูง

นอกจากนี้ กฟผ. ยังขานรับเทรนด์พลังงานโลกเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ชูจุดเด่นของการผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานจากพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อน กฟผ. หรือ Hydro-Floating Solar Hybrid ซึ่งถือเป็นโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยนำร่องแห่งแรก ณ เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระบุว่า โครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริดของ กฟผ. ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ยาวนานขึ้น โดยในช่วงกลางวันจะผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ และช่วงกลางคืนผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ควบคู่กับแบตเตอรี่ที่กักเก็บพลังงานไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากการผลิตไฟฟ้าในตอนกลางวัน อีกทั้งยังเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เดิมของเขื่อนให้เกิดประโยชน์สูงสุด อาทิ สายส่งไฟฟ้า สถานีไฟฟ้าแรงสูง ทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่ำลงไม่เกิน 1.50 สตางค์ต่อหน่วย

ส่วนในภาคการขนส่ง กฟผ. ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การติดตั้งสถานีชาร์จอีวี EleX by EGAT จำนวน 14 แห่ง และเตรียมขยายเพิ่มอีก 30 แห่งในอนาคต การพัฒนาแอพพลิเคชัน EleXA สำหรับค้นหาสถานีชาร์จอีวี ออกแบบและติดตั้ง EGAT Wallbox สำหรับชาร์จอีวีภายในบ้านหรือสถานที่ประกอบการ รวมถึงพัฒนาแพลตฟอร์ม BackEN สำหรับบริหารจัดการสถานีชาร์จอีวีแบบครบวงจร


การพัฒนาการผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงเชื่อถือได้ และเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความพยายามในการเดินหน้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำเท่านั้น แต่ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์คือ ความร่วมมือจากประชาชนและทุกภาคส่วนในการดำเนินกิจกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน