JWD รุกเข้าถือหุ้น 2เฟสใน ESCO รวม 20%

JWD รุกเข้าถือหุ้น 2เฟสใน ESCO รวม 20%

  • 0 ตอบ
  • 89 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Ailie662

  • *****
  • 2858
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


JWD รุกเข้าถือหุ้น 2เฟสใน ESCO รวม 20%
« เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2021, 02:44:12 pm »



นายชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JWD ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนระดับอาเซียน เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้วางนโยบายขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลากหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) โดยเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัทฯ มีมติอนุมัติให้ บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี ทรานส์ปอร์ต (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในเครือ JWD เข้าซื้อหุ้นรวม 20% ใน บริษัท อีสเทิร์นซี  แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด (EASTERN SEA LAEM CHABANG TERMINAL หรือ ESCO) ผู้ประกอบการท่าเรือคอนเทนเนอร์รายใหญ่ในท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี และผู้ให้บริการสถานีบรรจุและขนถ่ายสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ ลาดกระบัง (Inland Container Depot หรือ ICD) โดยการเข้าซื้อหุ้นครั้งนี้จะส่งผลให้ JWD เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ PSA ซึ่งเป็นผู้บริหารและดำเนินการท่าเรือขนส่งสินค้าระดับโลกของประเทศสิงคโปร์ เนื่องจาก PSA เป็นผู้ถือหุ้นหลักของ ESCO

'การลงทุนที่สำคัญในครั้งนี้นับเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ในรอบปีของบริษัทฯ ซึ่งจะมาจากการออกหุ้นกู้ในช่วงที่ผ่านมาและกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน โดยในช่วงแรก เจดับเบิ้ลยูดี ทรานส์ปอร์ต จะเข้าถือหุ้น 15% ใน ESCO และคาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนถือหุ้นเป็น 20% ภายใน 6-12 เดือนข้างหน้า'นายชวนินทร์ กล่าว

ปัจจุบัน ESCO เป็นผู้ประกอบการท่าเรือตู้คอนเทนเนอร์ 3 แห่ง ในพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง ได้แก่ (1) ท่าเรือ ESCO (B3) ที่เป็นผู้พัฒนาและบริหารจัดการเองโดยได้รับสัมปทานโดยตรงจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย (2) ท่าเทียบเรือ LCB1 (B1) และ (3) ท่าเทียบเรือ LCMT (A0) ซึ่ง ESCO มีส่วนร่วมในฐานะผู้ถือหุ้นในบริษัทที่ได้รับสัมปทานพัฒนาท่าเรือทั้ง 2 แห่งดังกล่าว โดยในปี 2563 ท่าเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทั้ง 3 แห่ง ให้บริการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์สินค้าที่ผ่านเข้า-ออกตลอดทั้งปี รวมทั้งสิ้นกว่า 2 ล้าน TEU คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20% ของปริมาณตู้คอนเทนเนอร์สินค้าที่ผ่านเข้า-ออกในพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบังในปีที่ผ่านมา และคาดว่าความต้องการใช้บริการท่าเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ระหว่างประเทศ มีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว หลังสถานการณ์ COVID-19 ในสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรปเริ่มคลี่คลาย


ขณะเดียวกัน ESCO ยังเป็น 1 ใน 6 ผู้ให้บริการสถานี ICD ลาดกระบัง เพื่อรองรับการบรรจุและขนถ่ายสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ของสายการเดินเรือต่าง ๆ ที่ไม่ได้อยู่ใกล้กับท่าเรือแหลมฉบัง ช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง โดยมีรายได้จากการให้บริการลานจัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์ คลังบรรจุสินค้าเพื่อการส่งออกและนำเข้าพร้อมบริการพิธีการทางศุลกากร และการให้บริการขนส่งบริหารจัดการและซ่อมแซมตู้คอนเทนเนอร์โดยทางบกและทางราง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจขนส่งสินค้าของ JWD ในการนำเสนอบริการเพิ่มเติมให้แก่ผู้ใช้บริการสถานี ICD ลาดกระบังอีกด้วย


ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JWD กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทฯ คาดว่าจะเริ่มรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนใน ESCO ไม่เกินเดือนตุลาคมนี้เป็นอย่างช้า

ทั้งนี้ การเข้าลงทุนใน ESCO จะเป็นการรุกขยายธุรกิจสู่การเป็นผู้ให้บริการท่าเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศรายใหญ่ในแหลมฉบังอย่างเต็มตัวของ JWD  จากปัจจุบันที่ได้รับสิทธิ์บริหารท่าเรือชายฝั่ง A ในท่าเรือแหลมฉบัง จากการท่าเรือแห่งประเทศไทย และดำเนินธุรกิจท่าเรือขนส่งสินค้า MIPEC ในเมืองไฮฟง ประเทศเวียดนาม ผ่านการถือหุ้นใน Transimex ผู้ให้บริการโลจิสติกส์รายใหญ่จากเวียดนาม โดยการรุกเข้าสู่ธุรกิจให้บริการท่าเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศครั้งนี้ จะเพิ่มศักยภาพแก่บริษัทฯ ด้านการให้บริการโลจิสติกส์แบบ Multimodal Transportation สามารถเชื่อมต่อการให้บริการขนส่งสินค้าหลากหลายรูปแบบ ทั้งทางรถ ทางราง ทางน้ำ และเพิ่มโอกาสขยายฐานลูกค้าจากบริการท่าเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ และบริการสถานี ICD ลาดกระบัง ไปสู่การให้บริการโลจิสติกส์อย่างครบวงจร


“ปัจจุบัน JWD ให้บริการขนส่งสินค้าในรูปแบบ Multimodal Transportation เช่น การขนส่งและเคลื่อนย้ายสินค้าทั่วไป ยานยนต์ สินค้าอันตรายและเคมีภัณฑ์, การขนส่งสินค้าจากกรุงเทพฯ มายังท่าเทียบเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ระหว่างประเทศในพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง, การยกขนและเคลื่อนย้ายตู้สินค้าที่ขนส่งทางรถไฟจากภาคอีสาน รวมทั้งจากภาคอุตสาหกรรมหลักในโซน EEC จังหวัดระยองสู่ท่าเรือแหลมฉบัง ดังนั้นการลงทุนครั้งนี้ทำให้บริษัทฯ สามารถขยายฐานลูกค้าและการให้บริการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น ทั้งในฝั่งการให้บริการจากกรุงเทพฯ มายังท่าเรือแหลมฉบัง และจากสถานี ICD ลาดกระบัง มายังท่าเรือแหลมฉบัง รวมถึงการนำฐานข้อมูลสินค้าที่ผ่านเข้า-ออกท่าเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศมาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาบริการด้านโลจิสติกส์เพิ่มขึ้น” นายชวนินทร์ กล่าว