‘SIAM PIECES’ โครงการต้นแบบจัดการ ‘ขยะพลาสติก’ อย่างยั่งยืน

‘SIAM PIECES’ โครงการต้นแบบจัดการ ‘ขยะพลาสติก’ อย่างยั่งยืน

  • 0 ตอบ
  • 88 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

fairya

  • *****
  • 2954
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


 


พลาสติก...ไม่ใช่ผู้ร้าย  ตรงกันข้าม “พลาสติก” เป็นวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตข้าวของเครื่องใช้ที่มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตและอุตสาหกรรมใหญ่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับประเทศและระดับโลก เพียงแต่พลาสติกใช้เวลาย่อยสลายตามธรรมชาตินานและยาก ถ้าหลุดออกไปเป็น ขยะ ก็จะสร้างมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อม

การบริหารจัดการ “พลาสติกใช้แล้ว” ในชีวิตประจำวัน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรมีจิตสำนึกร่วมกัน ไม่ใช่เพื่อใครที่ไหน แต่เพื่อคุณภาพในการใช้ชีวิตของเราทุกคน รวมไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งมีศักยภาพในหลายๆ ด้านต่างเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ และร่วมกันรณรงค์ผลักดันโครงการดีๆ มากมายเพื่อสิ่งแวดล้อม

ล่าสุด ได้เกิดความร่วมมือกันของกลุ่มพันธมิตรหัวใจสีเขียว จัดตั้งโครงการใหม่ชื่อ SIAM PIECES (สยาม พีซเซส) เพื่อจัดการ ‘ขยะพลาสติก’ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


ภาคเอกชน หน่วยงานรัฐ และสถาบันการศึกษา จับมือร่วมกันทำโครงการ SIAM PIECES 

กลุ่มพันธมิตรดังกล่าวประกอบด้วย  บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด, สถาบันพลาสติก, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, PPP Plastics, กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย,  กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร และ เขตปทุมวัน โดยจัดงานแถลงข่าวออนไลน์เปิดตัวโครงการ SIAM PIECES เป็นทางการไปเมื่อวันอังคารที่ 13 กรกฎาคม 2564

ชื่อโครงการ SIAM PIECES  ประกอบขึ้นด้วยตัวอักษรที่มีความหมาย

Siam Pi มาจากชื่อบริษัทสยามพิวรรธน์ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์โครงการนี้
E มาจากคำว่า empower
C มาจากคำว่า circular
E มาจากคำว่า economy
S มาจากคำว่า society
บริษัทสยามพิวรรธน์และกลุ่มพันธมิตรจัดตั้งโครงการ Siam Pieces เพื่อสร้างต้นแบบการจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน อันจะนำไปสู่การพัฒนาแบบแผนธุรกิจ (Business Model) ตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ผ่านการศึกษาวิจัยพฤติกรรมจากกลุ่มตัวอย่างของผู้บริโภคในพื้นที่ เขตปทุมวัน ซึ่งนอกจาก ‘บริษัทสยามพิวรรธน์’ ตั้งอยู่ในพื้นที่นี้อันเอื้อให้เกิดความสะดวกในการทำงาน เขตปทุวันยังประกอบด้วยสถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หน่วยงานราชการ พิพิธภัณฑ์ ย่านธุรกิจ ชุมชน มีกลุ่มตัวอย่างพร้อมสำหรับการสร้างแบบแผนนำร่องตามแนวคิด Circular Economy หรือการนำ ‘ทรัพยากรที่ใช้ไปแล้ว’ กลับมาแปรรูปและนำกลับไปใช้อีกในอนาคต โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิตใหม่ เพื่อการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ และ Recycle Collection Center จุดรับขยะรีไซเคิลที่สยามพารากอน

นางสาว นราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานปฏิบัติการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวในงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ ‘สยาม พีซเซส’ ว่า “การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่สยามพิวรรธน์ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ด้วยความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน เราจึงได้นำแนวคิด ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’ มาพัฒนาเป็นหลักการบริหารจัดการขยะในทุกกระบวนการของธุรกิจ ตั้งแต่การรณรงค์ภายในองค์กร ไปจนถึงการสร้างจิตสำนึกให้ลูกค้า และล่าสุดกับการร่วมเปิด Recycle Collection Center จุดรับขยะรีไซเคิลที่เปิดให้คนทั่วไปสามารถนำมาทิ้งได้ โดยสยามพิวรรธน์ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับสถาบันพลาสติก และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการใช้พื้นที่ ‘วันสยาม’ ในการทำวิจัย รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากพนักงาน และลูกค้าวันสยาม เพื่อนำองค์ความรู้มาพัฒนาเป็นต้นแบบของการบริหารจัดการขยะพลาสติกในสังคมอย่างยั่งยืน พร้อมต่อยอดไปใช้แก้ไขปัญหาการจัดการขยะพลาสติกในพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทย ทั้งยังสอดรับกับสถานการณ์โลกปัจจุบัน ที่ขณะนี้ทางสหภาพยุโรป หรืออียู ต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของโลกในการลดปริมาณขยะพลาสติก และมุ่งมั่นที่จะสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน จึงได้ออกระเบียบว่าด้วยการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวของสหภาพยุโรป (EU Single Use Plastics Directive) ที่เริ่มต้นใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมา”


ขณะที่นาย วีระ ขวัญเลิศจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก กล่าวว่า สถาบันพลาสติกได้รับมอบหมายจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ภายใต้สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)  ให้ดำเนินโครงการพัฒนาแบบแผนธุรกิจ (Business Model) ในการนำพลาสติกใช้แล้วทุกชนิดกลับสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้แนวคิด ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’ หรือ Circular Economy ในพื้นที่เขตเมืองชั้นใน อันเป็นโครงการหนึ่งที่สนองตอบวาระแห่งชาติเรื่อง BCG (Bio-Circular-Green Economy Model)ของประเทศไทย

“ทุกๆ ปีประเทศไทยมีขยะพลาสติกหลังการใช้จำนวนมากถูกนำไปกลบฝังในบ่อขยะ และจำนวนหนึ่งหลุดรอดสู่สิ่งแวดล้อม ด้วยสาเหตุจากการขาดองค์ความรู้การคัดแยกขยะของผู้บริโภคบ้าง ปัจจัยด้านการจัดการขยะที่ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดการปนเปื้อนของขยะพลาสติก จนยากหรือไม่สามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้ และปัญหาด้านกลไกการตลาด อุปสงค์และอุปทาน ที่ทำให้มูลค่าของพลาสติกบางชนิดต่ำจนกระทั่งไม่สามารถนำเข้าไปสู่ระบบรีไซเคิล การบริหารจัดการขยะเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนจึงมีความจำเป็นต้องทำเป็นองค์กรองค์รวม และบูรณาการส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยมีแบบแผนธุรกิจเพื่อให้เกิดความยั่งยืน”


แผนผังการรวมพลังจากภาคส่วนที่ร่วมกันดำเนินโครงการ Siam Pieces

ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก กล่าวด้วยว่า โครงการ SIAM PIECES เป็นการศึกษาตั้งแต่ต้นทางของการเกิดขยะพลาสติก นั่นก็คือพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลต่อการคัดแยกและการทิ้งขยะพลาสติกหลังการใช้ จะมีการหาเครื่องมือที่สร้างแรงจูงใจต่อผู้บริโภคให้เกิดการคัดแยกที่มีคุณภาพมากขึ้น  พร้อมกับการต่อยอดการศึกษาถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่เศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อนำผลการศึกษามาพัฒนาและจัดทำ แบบแผนธุรกิจ (Business Model) ในการนำขยะพลาสติกทุกชนิดกลับเข้าสู่การผลิตหรือการนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบของสำหรับการบริหารจัดการขยะพลาสติกหลังการใช้โดยใช้แนวคิด เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในพื้นที่เขตเมืองชั้นใน ที่ทำการศึกษาตั้งแต่พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลต่อการคัดแยกและทิ้งขยะพลาสติก เพื่อเข้าใจและหาเครื่องมือที่จะทำให้เกิดแรงจูงใจในการคัดแยกพลาสติกของผู้บริโภคที่มากขึ้น และต่อยอดไปจนถึงการศึกษาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อนำผลการศึกษามาพัฒนาและจัดทำ 'แบบแผนธุรกิจ' เพื่อลดการเพิ่มขยะพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อมและส่งเสริมให้มีการนำขยะพลาสติกเข้าสู่ระบบรีไซเคิลมากยิ่งขึ้น

หนึ่งผู้เข้าร่วมการแถลงข่าวครั้งนี้ ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ปัจจุบันทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม มีการคิดค้นนวัตกรรมในการจัดการวัสดุเหลือใช้ โดยเฉพาะ กลุ่มพลาสติก อย่างไรก็ตาม การจัดการปัญหาขยะพลาสติกนั้นไม่สามารถสำเร็จได้ด้วยเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องมีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านอื่นมาร่วมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใช้พลาสติกหรือผู้บริโภค และการสร้างกลไกทางเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดจัดการพลาสติกที่ครบวงจร เศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งจะทำให้พลาสติกทั้งที่มีมูลค่าสูงและส่วนที่ยังมีมูลค่าต่ำอยู่ได้กลับเข้าสู่ระบบเพื่อการจัดการอย่างเหมาะสม การดำเนินการในส่วนนี้จำเป็นต้องมีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเพื่อให้สามารถนำผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นไปอ้างอิงและขยายผลสู่พื้นที่อื่นได้...

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษาจึงจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ SIAM PIECES ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาแบบแผนธุรกิจที่ส่งเสริมให้เกิดการจัดการขยะพลาสติกอย่างครบวงจร เพื่อร่วมขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ”


ด้าน ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธาน PPP Plastics กล่าวว่า “โครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติก และขยะอย่างยั่งยืน (PPP Plastics) ได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาร่วมให้ทุนสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานโครงการพัฒนา 'แบบแผนธุรกิจ' สำหรับการบริหารจัดการขยะพลาสติกหลังการใช้โดยใช้แนวคิด เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในพื้นที่เขตเมืองชั้นใน ปัจจุบันองค์กรภาคธุรกิจได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก เพื่อร่วมหาทางออกการบริหารจัดการขยะพลาสติก เพื่อสร้างรูปแบบที่สมดุลอันมุ่งไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืนในมิติต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกได้มีการดำเนินงานในบริบทที่มีความสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจ BCG หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green: BCG Model)  ที่รัฐบาลกำหนดเป็นโมเดลเศรษฐกิจในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและเป็นวาระแห่งชาติ อีกด้วย นับได้ว่าการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจดังกล่าวเป็นการตอบสนองนโยบายของภาครัฐในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความยั่งยืนในอนาคต”


สำหรับภาคเอกชนซึ่งทำงานใกล้ชิดกับวัสดุประเภทนี้ ฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า “โครงการนี้สอดคล้องเป็นอย่างยิ่งกับหนึ่งในเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่ ‘ดาว’ ได้ประกาศไปเมื่อปีที่แล้วคือ ‘การหยุดขยะพลาสติก’ โดยเราตั้งเป้าจะผลักดันให้พลาสติกที่ใช้แล้วจำนวน 1 ล้านตันจากทั่วโลกถูกเก็บกลับมาใช้ประโยชน์ หรือ รีไซเคิล ผมรู้สึกภูมิใจที่ ‘ดาว’ ได้ร่วมมือกับพันธมิตรในการก่อตั้งโครงการ Siam Pieces อีกทั้งร่วมผลักดันให้เกิด business model ของการจัดการพลาสติกใช้แล้วที่มีประสิทธิภาพ และช่วยยกระดับผู้ประกอบการรับซื้อของเก่า ซาเล้ง รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียตลอดทั้ง value chain ให้มีรายได้พอเพียงที่จะสามารถดำเนินธุรกิจได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้การจัดการพลาสติกเป็นไปอย่างยั่งยืนในอนาคต”

นอกจากนี้ ภายใต้งานแถลงข่าวโครงการ Siam Pieces ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM และ Facebook Live เพจสถาบันพลาสติก ยังมีการจัดเสวนาหัวข้อ Siam Pieces โมเดลเส้นทางการจัดการพลาสติกใช้แล้วครบวงจร โดยมี นราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ผู้บริหารระดับสูงแห่งบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด พร้อมด้วยเหล่าคนดังสายนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและผู้เชี่ยวชาญทางท้องทะเลมาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและร่วมหาทางออกในการกู้วิกฤตขยะพลาสติก ทั้ง ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาราสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน​นิเวศทางทะเล และรองคณบดีกิจการพิเศษภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, เชอรี่ เข็มอัปสร สิริสุขะ นักขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อม , เปรม พฤกษ์ทยานนท์ เจ้าของเพจ ‘ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป, ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ก้อง-ชณัฐ วุฒิวิกัยการ พิธีกรหนุ่มสายกรีนที่หันมาเอาจริงเอาจังในการสื่อสารเรื่องสิ่งแวดล้อม