'สทป.' ดึงโนฮาวพัฒนา 'จรวดดัดแปรสภาพอากาศ' หนุนภารกิจสลายลูกเห็บ

'สทป.' ดึงโนฮาวพัฒนา 'จรวดดัดแปรสภาพอากาศ' หนุนภารกิจสลายลูกเห็บ

  • 0 ตอบ
  • 94 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kaidee20

  • *****
  • 2826
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) นำองค์ความรู้ และขีดความสามารถในการวิจัย พัฒนา และผลิตจรวดสำหรับใช้ในทางทหารมาต่อยอดในการวิจัยและพัฒนาเป็นจรวดดัดแปรสภาพอากาศ

ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) กับกรมฝนหลวงและการบินเกษตร (ฝล.) โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กำหนดความต้องการทางเทคนิคให้สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศเป็นผู้ดำเนินการออกแบบและผลิตจรวด สำหรับบรรจุสารซิลเวอร์ไอโอไดด์ใช้ในภารกิจยับยั้งพายุลูกเห็บหรือทดลองทำฝนจากเมฆเย็นในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นเทคโนโลยีทางเลือกในการสนับสนุนภารกิจการทำฝนเมฆเย็นหรือสลายลูกเห็บ ในกรณีที่สภาพอากาศแปรปรวนเครื่องบินไม่สามารถขึ้นบินได้

โดยจรวดที่วิจัยและพัฒนาจะถูกยิงจากพื้นสู่อากาศเข้าสู่ก้อนเมฆที่ระดับความสูงประมาณ 18,000-24,000 ฟุต เพื่อปล่อยสารซิลเวอร์ไอโอไดด์ลงในเมฆเย็น และมีระบบร่มนิรภัยสำหรับลดความเร็วของชิ้นส่วนจรวดให้ตกลงสู่พื้น เพื่อความปลอดภัยในบริเวณพื้นที่ปฏิบัติการ โดยในเบื้องต้นกำหนดพื้นที่ทดลองปฏิบัติการเป็นพื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติแม่ปิง


ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำและเป็นพื้นที่ที่มีความปลอดภัยจากชุมชน เหมาะสำหรับทำให้เมฆเย็นตกลงมาเป็นฝน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยแล้ง และยังช่วยทำให้กลุ่มเมฆที่กำลังจะก่อตัวขึ้นเป็นลูกเห็บขนาดใหญ่มีขนาดเล็กลงจนกลายเป็นฝน เป็นการบรรเทาภัยพิบัติที่เกิดจากลูกเห็บให้กับพี่น้องประชาชน บ้านเรือน และผลผลิตทางการเกษตรไม่ให้ได้รับความเสียหาย