'หอการค้าไทย' ชื่นชม “จุรินทร์” แก้ส่งออกเชิงรุกในนาม กรอ.พาณิชย์

'หอการค้าไทย' ชื่นชม “จุรินทร์” แก้ส่งออกเชิงรุกในนาม กรอ.พาณิชย์

  • 0 ตอบ
  • 61 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Hanako5

  • *****
  • 1982
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 



หอการค้าไทยชื่นชม “จุรินทร์” แก้ส่งออกเชิงรุกในนาม กรอ.พาณิชย์ ดึงเอกชนเข้าร่วม ทำปัญหาติดขัดคลี่คลาย โดยเฉพาะส่งออกผลไม้ไปจีน ปัญหาขาดตู้คอนเทนเนอร์ พร้อมหนุนนโยบายตลาดนำการผลิต แต่ต้องเข้มเรื่องคุณภาพ มาตรฐาน เหตุพาณิชย์พร้อมช่วยทำตลาดให้อยู่แล้ว มั่นใจการทำน้อยได้มาก เกิดขึ้นได้จริงในยุคนี้ ด้านกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศพร้อมเดินหน้าอัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกในทุกตลาดและบูรณาการทำงานในทุกมิติ

นายชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ภาคเอกชนชื่นชมนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้ทำงานร่วมกับภาคเอกชนในนาม กรอ.พาณิชย์ ทำให้การแก้ไขปัญหาด้านการส่งออกที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา สามารถยุติลงไปได้ และส่งผลดีต่อการส่งออกของไทย โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการส่งออกผลไม้ไทยไปจีนผ่านแดนเวียดนามที่เคยมีปัญหาติดขัดช่วงโควิด-19 สามารถเจรจาและแก้ปัญหาได้จบภายใน 1-2 วัน ทำให้การส่งออกผลไม้ไปจีนทำได้ต่อเนื่อง และทำรายได้เข้าประเทศเป็นแสนล้านบาท รายได้กลับคืนมาสู่เกษตรกร และผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบ ช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวดีขึ้น

ทั้งนี้ มีอีกหนึ่งปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ยุติคือ การแก้ปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ที่มีไม่เพียงพอ และเมื่อเรือเข้ามา ค่าระวางก็สูง โดยได้เข้าไปแก้ไข ผลักดันให้เรือใหญ่เข้ามาเทียบท่าเรือแหลมฉบังได้ ทำให้สามารถนำตู้คอนเทนเนอร์เข้ามาได้ ซึ่งได้ช่วยแก้ไข ทำให้การส่งออกทำได้ดีขึ้นในระยะต่อมา

นายชูศักดิ์กล่าวอีกว่า สิ่งที่ภาคเอกชนเห็นด้วยกับกระทรวงพาณิชย์อีกเรื่องหนึ่งคือ การใช้นโยบายตลาดนำการผลิต ทำให้สินค้าเกษตรหลายๆตัว หมดปัญหาเรื่องการทำตลาดไปได้ เพราะผลิตสินค้าตรงตามที่ตลาดต้องการ ทำให้สินค้าที่ผลิตมาสามารถขายได้ และมีราคาสูงขึ้น และในด้านการทำตลาดมีผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ มีทูตพาณิชย์ที่พร้อมช่วยภาคเอกชนในการทำขายสินค้า ซึ่งที่ผ่านมา ถือว่าทำได้ดีและประสบความสำเร็จ



ADVERTISEMENT


อย่างไรก็ตาม มีสิ่งที่ต้องระวังในอนาคต ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องกฎระเบียบทางการค้า ที่กำลังจะมีออกมามากขึ้น ทั้งการกำหนดคุณภาพ มาตรฐาน การกำหนดกฎ กติกาทางการค้าใหม่ ๆ เช่น สหภาพยุโรป(อียู)ออกระเบียบเรื่องมาตรการลดโลกร้อน สิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพแรงงาน เป็นต้น ซึ่งกระทรวงพาณิชย์และภาคเอกชน ต้องทำงานร่วมกัน โดยที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ได้เล็งเห็นถึงปัญหา และทำงานร่วมกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิดแล้ว ต่อไปต้องลงลึกไปถึงระดับเกษตรกร เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจต่อไป

นอกจากนี้ นายจุรินทร์ยังให้ความสำคัญกับการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ในกรอบต่าง ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออกให้กับสินค้าไทย ซึ่งภาคเอกชนสนับสนุน และเห็นว่าน่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นว่ากรอบไหน ที่ไทยจะเข้าไปเจรจา

สำหรับการพัฒนาภาคการเกษตร ไทยปลูกพืชเกษตรเยอะมากเช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ซึ่งจากนี้ไป ต้องพยายามช่วยยกระดับเรื่องการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อไร่ โดยใช้ทรัพยากรให้น้อยลง เพราะตอนนี้ปัญหาโลกร้อน มันเป็นระเบียบที่ทำให้ไทยต้องปรับตัว ซึ่งต้องเข้าไปช่วยกัน ทั้งกระทรวงพาณิชย์และภาคเอกชน โดยในส่วนของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มีโครงการยกระดับสินค้าเกษตรมูลค่าสูง หรือเรียกว่า ทำน้อยได้มาก อะไรที่เพาะปลูกแล้วได้น้อยก็ต้องปรับไปทำอย่างอื่น เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพ มาตรฐาน พร้อมพัฒนาระบบการขนส่ง โดยเฉพาะสอดคล้องและเชื่อมโยงกับจีน ตอนนี้ระบบขนส่งจีนเป็นสุดยอดของโลกไปแล้ว รถไฟความเร็วสูงก็มาถึง สปป.ลาว ไทยต้องเตรียมตัวให้พร้อม และใช้ประโยชน์ ถ้าทำได้ดี ขนส่งสินค้าคุณภาพถึงมือผู้บริโภค ก็จะขายได้ราคาดีขึ้น

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้ประสานนโยบายกับภาครัฐและภาคเอกชนในการขับเคลื่อนการส่งออกอย่างต่อเนื่องตามนโยบายที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์) ซึ่งได้ดำเนินการผลักดันการส่งออกในทุกกลุ่มสินค้าและตลาดเป้าหมาย โดยเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาได้จัดงานแสดงสินค้าอาหารเสมือนจริง THAIFEX – Virtual Trade Show,การจัดงานแสดงสินค้าด้านไลฟ์สไตล์และแฟชั่น The Marche’ by STYLE Bangkok เพื่อเปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าแฟชั้นและไลฟ์สไตล์ รวมทั้งอุตสาหกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องได้นำเสนอสินค้าและบริการ รวมทั้งเจรจาธุรกิจกับผู้ซื้อและผู้นำเข้าต่างประเทศ เป็นต้น สำหรับปีงบประมาณ 2565 กรมยังคงเดินหน้าในการสร้างองค์ความรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศ การพัฒนาและส่งเสริมสินค้าและผู้ประกอบการ การส่งเสริมการตลาด การจัดงานแสดงสินค้าและการจับคู่เจรจาการค้าทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ พร้อมอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการในการค้าระหว่างประเทศและบูรณาการทำงานร่วมภาครัฐและเอกชนในทุกมิติเพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยผ่านการส่งออกซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศในปัจจุบันนี้