WHAUP ดีมานด์น้ำ-ไฟพุ่ง คาดรายได้ปี’64 โต 25% เตรียมหมื่นล้านขยายธุรกิจ

WHAUP ดีมานด์น้ำ-ไฟพุ่ง คาดรายได้ปี’64 โต 25% เตรียมหมื่นล้านขยายธุรกิจ

  • 0 ตอบ
  • 74 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

dsmol19

  • *****
  • 2466
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


“ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์” รับสัญญาณเศรษฐกิจเริ่มฟื้นดีมานด์น้ำ-ไฟพุ่ง ดันปริมาณทั้งยอดขายและการใช้ปี’64 พุ่งตาม คาดรายได้โต 25% แง้มแผนปี’65 เหลือเงินลงทุนอีกกว่า 10,000 ล้านบาท ปักธงเดินหน้าขยายธุรกิจสาธารณูปโภคในและภายนอกนิคม

วันที่ 6 ตุลาคม 2564 ดร.นิพนธ์ บุญเดชานันทน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ (WHAUP) เปิดเผยถึงภาพรวมธุรกิจในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2564 นี้ว่า บริษัทยังคงเดินหน้าขยายธุรกิจสาธารณูปโภคภายในและภายนอกนิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ทั้งในประเทศไทยและเวียดนาม รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมโซลูชั่นพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง

ดร.นิพนธ์ บุญเดชานันทน์ 
ดร.นิพนธ์ บุญเดชานันทน์
ซึ่งจะส่งผลให้มีการเติบโตของรายได้และส่วนแบ่งกำไรปกติทั้งปีเพิ่มขึ้น 25% เมื่อเทียบกับปีก่อน พร้อมทั้งรักษาอัตรากำไรก่อนหักค่าเสื่อมราคาดอกเบี้ยและภาษี (EBITDA Margin) ให้อยู่ที่ระดับไม่น้อยกว่า 50%

โดยธุรกิจหลักที่ผลักดันให้ WHAUP สามารถขับเคลื่อนการเติบโตสอดรับเป้าหมายที่วางไว้ ประกอบด้วยธุรกิจด้านสาธารณูปโภค ปริมาณการจำหน่ายและบริหารจัดการน้ำทั้งในประเทศและต่างประเทศยังมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของธุรกิจในประเทศนั้นมีความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งจากกลุ่มลูกค้าเดิมที่มีการขยายกำลังการผลิต และลูกค้ารายใหม่ที่เริ่มทยอยเปิดดำเนินการ

เช่น โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ GSRC ของ บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) ขนาด 2,650 เมกะวัตต์ ที่ได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ในส่วนของหน่วยผลิตที่ 1 ในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา และจะทยอย COD ในส่วนของหน่วยผลิตที่ 2  3 และ 4 ที่เหลือภายในปี 2565 ซึ่งคาดว่าจะมียอดจำหน่ายน้ำเฉพาะจากโครงการดังกล่าวในปี 2565 ไม่น้อยกว่า 16.2 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี


ขณะเดียวกัน บริษัทยังคงเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมูลค่าเพิ่ม เช่น โครงการ Wastewater Reclamation และการผลิตน้ำที่ปราศจากแร่ธาตุ (Demineralized Water) โดยใช้เทคโนโลยีเมมเบรนรีเวิร์สออสโมซิส ควบคู่ไปกับการพัฒนา Smart Utilities Service Platform และ Innovative Solution เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรม

ส่งผลให้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 บริษัทมีปริมาณการจำหน่ายน้ำและการบำบัดน้ำเสียในประเทศ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์น้ำมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้น 16% และเมื่อพิจารณาเฉพาะผลิตภัณฑ์น้ำมูลค่าเพิ่มจะเพิ่มขึ้นถึง 170% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและดำเนินการก่อสร้างอีกหลายโครงการ อาทิ โรงบำบัดน้ำแห่งใหม่ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36 ซึ่งมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 2.7 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โครงการผลิตน้ำที่ปราศจากแร่ธาตุสำหรับจำหน่ายแก่ลูกค้านอกนิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอด้วยกำลังการผลิต 1 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และโครงการแหล่งน้ำดิบทางเลือกซึ่งมีกำลังการผลิต 6 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

ในส่วนของธุรกิจน้ำที่ประเทศเวียดนามก็มีการเติบโตเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการดวง ริเวอร์ เซอร์เฟส วอเตอร์แพลนท์ (Duong River Surface Water Plant : SDWTP) ซึ่งบริษัทถือหุ้น 34% ที่มียอดจำหน่ายน้ำเพิ่มขึ้นถึง 26% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกของปีก่อนหน้า  เนื่องจากความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในบริเวณจังหวัดฮานอย และจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดบั๊กนิญ (Bac Ninh) และจังหวัดฮึงเอียน (Hung Yen)

ในขณะที่ บริษัท เก๋อ หล่อ วอเตอร์ ซัพพลาย (Cua Lo Water Supply) บริษัทผลิตและจำหน่ายน้ำประปาที่บริษัทถือหุ้น 47% ปัจจุบันได้มีการขยายกำลังผลิตเพิ่มเป็น 8.4 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยกำลังผลิตที่เพิ่มเพื่อรองรับการเติบโตของประชากรที่สูงขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำประปาปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น

ธุรกิจด้านพลังงาน บริษัทยังคงมีการขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการพัฒนาโซลูชั่นพลังงานหมุนเวียน ผ่านการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาให้บริการกลุ่มลูกค้าทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรม โดยในปี 2564 ตั้งเป้ากำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้นทั้งสิ้น 670 เมกะวัตต์ โดยการเติบโตหลักมาจากโครงการ Solar Rooftop ซึ่งในปีนี้มีการ COD แล้ว อาทิ โครงการคอนติเนนทอล ไทร์ส ซึ่งตั้งในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 4 และโครงการของฮอนด้า จังหวัดปราจีนบุรี

ส่งผลให้ ณ สิ้นไตรมาส 2 บริษัทมีโครงการ Solar Rooftop  ที่เปิดดำเนินการแล้วรวมทั้งสิ้น 46 เมกะวัตต์ และมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการ Solar Rooftop รวมทั้งสิ้น 63 เมกะวัตต์ จากเป้าปี 2564 ที่วางไว้ 90 เมกะวัตต์ และคาดว่าจะขยายธุรกิจ Solar Rooftop ได้ครบ 300 เมกะวัตต์ในปี 2566 ตามแผนที่วางไว้
นอกจากนี้ บริษัทได้ร่วมมือกับ บมจ.ปตท. และ บริษัท เซอร์ทิส เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มพลังงานอัจฉริยะเพื่อซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในกลุ่มลูกค้าภายในนิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ ได้แก่ ระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบ P2P Energy Trading โดยใช้เทคโนโลยี Blockchain โดยโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทดลองด้านนวัตกรรมพลังงาน โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (ERC Sandbox)

พร้อมกันนี้ บริษัทยังทดสอบการนำระบบกักเก็บพลังาน Battery Energy Storage System (BESS) มาใช้ควบคู่กับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเริ่มติดตั้งที่โรงกรองน้ำของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิรน์ซีบอร์ด (ระยอง) และมีแผนที่จะขยายไปยังสถานประกอบการอื่น ๆ ของบริษัทและเสนอเป็นบริการให้แก่ลูกค้าภายในนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของดับบลิวเอชเอต่อไป โดยเชื่อว่านวัตกรรมเหล่านี้จะสร้างโอกาสในการขยายกำลังการผลิตในส่วนของ Renewable Energy และ Business Model ใหม่ให้กับบริษัทภายหลังจากที่ภาครัฐปรับกฎเกณฑ์รองรับแล้ว พร้อมกันนี้ยังมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมได้ใช้ไฟฟ้าในราคาที่ต่ำลงอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงเดินหน้าแสวงหาโอกาสในการลงทุนเข้าซื้อกิจการ (M&A opportunity) ต่าง ๆ เพื่อเสริมศักยภาพการเติบโต ซึ่งจากแผนการขยายธุรกิจดังกล่าวข้างต้น ภายใต้เงินลงทุน 1,900 ล้านบาท เป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นการเติบโตทางธุรกิจทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรมโซลูชั่นทั้งด้านพลังงานทดแทนและสาธารณูปโภค เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านธุรกิจสาธารณูปโภคและธุรกิจพลังงานของภูมิภาค

“เราเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จากปริมาณการใช้น้ำ ใช้ไฟที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาส 3 แนวโน้มไตรมาส 4 ก็จะเป็นแบบนี้ ส่วนเงินลงทุนตามแผนที่วางไว้ 5 ปี คือ 12,000 ล้านบาท ปีนี้เราแบ่งมา 1,900 ล้าน ก็ยังเหลืออีก 10,000 กว่าล้านบาท เราเตรียมไว้ทั้งขยายกิจการ สาธารณูปโภค ซื้อกิจการในโครงการต่าง ๆ เหมือนที่ทำในเวียดนาม”