เอ็ดด้า เปิด “ดิจิทัลแซนด์บอกซ์” อัพสปีดธุรกิจพัฒนานวัตกรรม

เอ็ดด้า เปิด “ดิจิทัลแซนด์บอกซ์” อัพสปีดธุรกิจพัฒนานวัตกรรม

  • 0 ตอบ
  • 59 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kaidee20

  • *****
  • 2826
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




เอ็ดด้า เปิดสนามทดสอบนวัตกรรม Sandbox ส่งเสริมภาครัฐ และ ธุรกิจพัฒนานวัตกรรมก่อนนำไปสู่การใช้งานจริง รองรับ New Business Model

วันที่ 26 กันยายน 2564 รายงานข่าวจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า เอ็ดด้าได้จัดงาน Open ETDA Sandbox “เปิดบ้าน แชร์ไอเดีย ร่วมสร้างนวัตกรรมสู่ชีวิตดิจิทัล” และนำเสนอแนวทางการดำเนินงานพร้อมทิศทางของ ETDA Sandbox ที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนา Innovation เพื่อไปสู่การใช้งานได้จริงทั้งในภาครัฐและภาคธุรกิจ

ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์  ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า โครงการทดสอบนวัตกรรมหรือบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Digital Service Sandbox มีขึ้นมาเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประสงค์เข้าร่วมทดสอบ เช่น ผู้ให้บริการหรือผู้ที่ประสงค์จะให้บริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ เอกชน start up หรือ Service provider ที่สนใจเพื่อส่งเสริมให้เกิดการนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยี มาส่งเสริมและสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในด้านต่างๆเข้าร่วมทดสอบนวัตกรรมหรือบริการของตนก่อนการให้บริการจริงภายในสภาพแวดล้อมและการให้บริการที่จำกัด เพื่อให้สามารถรองรับ Business Model ใหม่ ๆ ได้อย่างมั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ และประชาชนใช้ประโยชน์และเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นวัตกรรมหรือบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าร่วมทดสอบใน Digital Service Sandbox ประกอบด้วย 1. บริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใด

2. มีการนำ Innovation หรือ Technology มาใช้ ซึ่งอาจเป็นเทคโนโลยีที่ไม่เคยมีการนำมาใช้ให้บริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใด หรือแตกต่างจากบริการที่มีอยู่แล้ว ตลอดจนการร่วมกันเป็น Co-creation ในลักษณะของ Partner ช่วยกันคิดหรือเสนอแนะไอเดีย เพื่อส่งเสริมนวัตกรรม ร่วมต่อยอดการใช้งานกับหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายการดำเนินงาน รวมถึง สิ่งที่จะเป็นประโยชน์กับเจ้าของนวัตกรรม และผู้ประกอบการที่จะไปใช้บริการ




“เราจะมีบทบาทเสมือนเป็นพี่เลี้ยงในการทำหน้าที่ คอยให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่เจ้าของนวัตกรรม ในการร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือบริการดิจิทัลให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐาน กฎหมายที่มีอยู่เดิมหรือกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ร่าง พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล พ.ศ. ….  ที่อยู่ระหว่างพิจารณาของสำนักคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นต้น”

ดร.ชัยชนะ  กล่าวด้วยว่า การผลักดันในการนำมาใช้กับชีวิตประจำวัน และธุรกิจ หลายหน่วยงานต้องร่วมมือกัน โดยเฉพาะเรื่องการทำธุรกรรมทางดิจิทัล ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นตัวช่วยสำคัญสร้างให้เกิดความเชื่อมันด้านความปลอดภัย และ ETDA จะดูรายละเอียดในการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้

ซึ่งในอนาคตคาดหวังว่าจะช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ได้นำระบบ AI มาใช้ เพิ่มความราบรื่นในการใช้งานได้มากขึ้น และปัจจุบันยังได้นำมาใช้กับงานด้านสาธารณสุข เช่นใบรับรองการฉีดวัคซีนโควิด-19 ผลตรวจโรคโควิด-19 ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมจะร่วมขับเคลื่อนเต็มที่

“Sandbox ของ ETDA เกิดขึ้นจากความต้องการของการใช้งานและความพร้อมของเทคโนโลยี ว่าจะทำอย่างไรให้สามารถตอบโจทย์การใช้งานที่เหมาะสม และมี Solution ที่สอดคล้องกับการใช้งานที่ถูกต้องตามกฏระเบียข้อบังคับ ทำให้ผู้ใช้งานคลายความกังวล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยอมรับ” ดร.ชัยชนะ กล่าว


ด้านนางสาวทิพยสุดา ถาวรามร คณะกรรมการกำกับ ETDA และที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารการทดสอบนวัตกรรมหรือบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า การดำเนินงานของผู้ใช้บริการมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะเรื่อง Digital ID เป็นเรื่องที่สำคัญในบริการหลายอย่างที่ต่อยอดได้ เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 ที่พบว่า ยังไม่มีการนำระบบใด ๆ มาใช้ได้เต็มรูปแบบหรือรองรับ เช่น Vaccine Passport



ทั้งนี้ จึงอยากให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการทดสอบ เมื่อออกไปแล้วสามารถนำไปใช้งานได้จริง โดยคาดหวังว่า จะมีบริการที่เข้า Sandbox ได้นำไปใช้ในวงกว้างขึ้นไม่ใช่การใช้ประโยชน์เพียงการลดกระดาษ แต่จากที่ผ่านมาพบอุปสรรคทางด้านกฎหมาย เช่นการย้ายทะเบียนบ้าน จึงต้องอาศัยการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ

ขณะที่นางสาววิจิตรเลขา มารมย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้นำเทคโนโลยีใช้กับการทำธุรกรรม เช่นคิวอาร์โค้ด อีเพลย์เม้นท์ การสร้างมาตรฐานดูแลด้านความเสี่ยง ป้องกันกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงทำธุรกรรม เมื่อได้รับการประสานธนาคารแห่งประเทศไทยจะเร่งเข้าไปดูแลและช่วยเหลือ ซึ่งได้เปิดสายด่วน 1213 รองรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน  นอกจากนี้จะต้องพัฒนานวัตกรรมตอบโจทย์ประชาชนแต่ไม่ต้องเป็นภาระผู้ประกอบการ

ปัจจุบัน ETDA ยังเปิดศูนย์ร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212CC ในการช่วยเหลือประชาชน โดยมีความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและ (อย.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ศูนย์ต่อต้านข้อมูลข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รับเรื่องราวร้องทุกข์และประสานส่งต่อปัญหาต่างๆไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง