ธนาคารพัฒนาเอเชียห่วง‘ฉีดวัคซีนช้า-ยอดติดโควิดพุ่ง’

ธนาคารพัฒนาเอเชียห่วง‘ฉีดวัคซีนช้า-ยอดติดโควิดพุ่ง’

  • 0 ตอบ
  • 69 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jessicas

  • *****
  • 2373
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 



ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ลดตัวเลขคาดการณ์อัตราเติบโตของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียประจำปีนี้ โดยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่โควิดยังคงระบาดอย่างหนักในหลายประเทศนั้น ถูกหั่นตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวลงเหลือ 3.1% ขณะที่ของไทยเหลือ 0.8% ทั้งนี้รายงานฉบับล่าสุดนี้ยังเตือนว่า อัตราการฉีดวัคซีนต่ำ ยอดติดเชื้อใหม่พุ่ง และผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์อาจสร้าง “แผลเป็นเรื้อรัง” ให้กับเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้

ปัญหาการขาดแคลนวัคซีน ซึ่งเป็นตัวขัดขวางความพยายามในการฉีดวัคซีนของประเทศจำนวนมากภายในเอเชีย ทำท่าว่าอาจยิ่งเลวร้ายลงไปอีก เนื่องจากขณะนี้มีหลักฐานชัดเจนมากขึ้นว่า ประสิทธิภาพในการต่อสู้กับโควิด-19 ของวัคซีนกำลังลดลง จนจำเป็นต้องมีการฉีดเข็มกระตุ้น รายงานทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจเอเชียฉบับอัปเดตล่าสุดซึ่งเผยแพร่ออกมาในวันพุธ (22 ก.ย.) ระบุ

ในรายงานฉบับนี้ เอดีบีปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราเติบโตของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียโดยรวมว่าจะอยู่ที่ 7.1% ในปีนี้ ขยับลงจาก 7.3% ที่คาดไว้ในรายงานเมื่อเดือนเมษายน ส่วนปีหน้าจะอยู่ที่ 5.4% เทียบกับตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 5.3% แถมสำทับว่า การฟื้นตัวยังคงเปราะบาง

โจเซฟ ซเวกลิตช์ รักษาการหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์เอดีบี ชี้ว่า การสนับสนุนธุรกิจและภาคครัวเรือนยังคงมีความสำคัญในการผลักดันการฟื้นตัว

รายงานฉบับนี้แจกแจงว่า อัตราการฉีดวัคซีนของประเทศต่างๆ ในเอเชียมีความเหลื่อมล้ำกันอย่างมาก แต่โดยรวมแล้วมีประชากรไม่ถึง 1 ใน 3 ที่ฉีดครบโดสแล้ว เปรียบเทียบกับกว่า 50% ในอเมริกา และเกือบ 60% ในสหภาพยุโรป

เอดีบีเตือนว่า ความล่าช้าในการฉีดวัคซีนประกอบกับการเกิดไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ๆ คือปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดและอาจส่งผลกระทบระยะยาวต่อเศรษฐกิจเอเชีย

“การสูญเสียรายได้เนื่องจากโควิด-19 อาจกลายเป็นแผลเป็นเรื้อรังและส่งผลต่อเศรษฐกิจในหลายมิติ” รายงานเอดีบีบอก พร้อมกับเตือนว่า การแก้ปัญหาความยากจนในประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย กำลังถอยหลังไปอย่างน้อย 2 ปี และการปิดโรงเรียนนานๆ อาจนำไปสู่การสูญเสียด้านการเรียนรู้และรายได้มากกว่าที่คิด

เกี่ยวกับแนวโน้มของการเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจ รายงานระบุว่า แม้เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ได้รับการคาดหมายว่าจะยังคงขยายตัวต่อไปทั้งในปีนี้และปีหน้า แต่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกปีนี้ปรากฏว่าประสบกับความผิดเพี้ยน อันเนื่องมาจากการระบาดรุนแรงของสายพันธุ์เดลตาในหลายประเทศ โดยประเทศที่มีความคืบหน้าในการควบคุมโรคระบาดเป็นส่วนใหญ่ จะมีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่งมากกว่า

ตัวอย่างเช่นเอเชียตะวันออกที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูงสุดในภูมิภาค และรัฐบาลสามารถควบคุมการระบาดได้อย่างรวดเร็วนั้น รายงานเอดีบีฉบับนี้คาดหมายว่า จะมีการเติบโต 7.6% ในปีนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.2%จากตัวเลขคาดการณ์เดิมเมื่อเดือนเมษายน

โดยเฉพาะจีน ที่ใช้นโยบาย “ความอดทนเป็นศูนย์” ต่อโควิดนั้น รายงานฉบับนี้คาดหมายว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวถึง 8.1% ในปีนี้ และ 5.5% ในปี 2022

ตรงข้ามกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รวมถึงอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ที่โควิดระบาดอย่างหนัก ซึ่งถูกคาดหมายว่า จะมีอัตราขยายตัวเพียง 3.1% ในปีนี้ เทียบกับตัวเลขคาดการณ์เมื่อเมษายนซึ่งอยู่ที่ 4.4%

สำหรับประเทศไทย รายงานล่าสุดของเอดีบี ลดคาดการณ์จีดีพีของไทยในปีนี้ลงมาที่ 0.8% จากที่เคยให้ไว้ 3% ส่วนปีหน้า ก็ลงมาที่ 3.9% จาก 4.5% โดยเหตุผลสำคัญคือโควิด-19 ที่แพร่ระบาดระลอกใหม่ในไทยเวลานี้ จะส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวไม่ได้เต็มที่ ถึงแม้การเติบโตของการส่งออกและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยจะส่งลดผลกระทบทางลบจากโควิด-19 ต่อการเติบโต้ก็ตาม

“การระบาดระลอกใหม่ รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความล่าช้าของแผนวัคซีนของประเทศยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทย” รายงานของเอดีบี ระบุ

เอดีบีสำทับว่า ความเสี่ยงทางการเงินในเอเชียดูเหมือนอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น แม้มีความกังวลกันว่า แนวโน้มการผิดนัดชำระหนี้ของเอเวอร์แกรนด์ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ใหญ่สุดในแดนมังกร อาจลุกลามไปยังตลาดการเงินโลกก็ตาม

อับดุล อาบิแอด ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของเอดีบี ชี้ว่า สถานการณ์ของเอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ปที่มีปัญหาในการหาเงินมาชำระหนี้มูลค่านับหมื่นล้านดอลลาร์นั้น จำเป็นต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ดี เขาสำทับว่า ธนาคารจีนมีทุนสำรองมหาศาล อีกทั้งมีแนวโน้มว่า ปักกิ่งจะเข้าแทรกแซงเพื่อป้องกันหากเอเวอร์แกรนด์ผิดนัดชำระหนี้

(ที่มา: เอเอฟพี, รอยเตอร์, MGR Online)