กองทุนหุ้น Mid/Small Cap โชว์ผลตอบแทนหรูท่ามกลางวิกฤตโควิด

กองทุนหุ้น Mid/Small Cap โชว์ผลตอบแทนหรูท่ามกลางวิกฤตโควิด

  • 0 ตอบ
  • 63 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kaidee20

  • *****
  • 2826
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 



ปีนี้กองทุนที่มีการเติบโตค่อนข้างดีมาตั้งแต่ต้นปีก็คือ กองทุนหุ้น Mid/Small Cap หรือกองทุนหุ้นขนาดกลาง/ขนาดเล็ก

โดย “ชญานี จึงมานนท์” นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) บอกว่า หากดูผลตอบแทนกองทุนหุ้นขนาดใหญ่ที่ถูกจัดอันดับไว้ จะเป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ ที่อยู่ใน SET50 เป็นหลัก อย่างพวกกลุ่มพลังงาน กลุ่มธนาคาร และกลุ่มค้าปลีก ซึ่งจะผันผวนตามสภาพเศรษฐกิจ ขณะที่หุ้นขนาดกลาง-เล็กจะมีความหลากหลายและปรับตัวได้ดีกว่า

ผลตอบแทนโดดเด่นกว่า 40%
“เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว จะเห็นว่าหุ้นขนาดใหญ่ไม่ได้ perform ดีเท่ากับหุ้น Mid/Small Cap โดยหากดูจากผลตอบแทนจะเห็นว่าหุ้นกองทุนหุ้น Mid/Small Cap ให้ผลตอบแทนสะสมต้นปีถึงปัจจุบัน (YTD) ที่ค่อนข้างสูงถึงระดับ 40% (ดูตาราง)” นางสาวชญานีกล่าว


ดาวน์โควิดหนุนหุ้นกลาง-เล็ก
“ชวินดา หาญรัตนกูล” กรรมการผู้จัดการ บลจ.กรุงไทย กล่าวว่า หากพิจารณาจากดัชนี SET ที่โตได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับภาพรวม SET และ SET จะเห็นได้ว่าหุ้นขนาดใหญ่ในปีนี้ไม่ได้ perform เท่าที่ควร แต่กลับเป็นหุ้นขนาดกลาง-เล็ก ซึ่งหุ้นกลุ่มนี้มักจะอยู่ใน SET เป็นส่วนใหญ่ ขณะที่หุ้นขนาดใหญ่จะอยู่ใน SET เป็นหลัก ทั้งนี้ หากมองย้อนกลับไปตั้งแต่ปีที่แล้วจะเห็นว่าหุ้น Mid/Small Cap เติบโตได้ดีมาอย่างต่อเนื่อง

“สถานการณ์โควิด-19 หรือการที่รัฐบาลใช้มาตรการล็อกดาวน์นั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อหุ้น Mid/Small Cap มากนัก เนื่องจากกลุ่มนี้มีความยืดหยุ่นสูง มีการปรับตัวได้เร็วกว่าหุ้นขนาดใหญ่” นางชวินดากล่าว


ขณะที่ “ประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์” ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ทาลิส กล่าวว่า การที่หุ้น Mid/Small Cap เติบโตได้ดีกว่าหุ้นขนาดใหญ่ เนื่องมาจากบริษัทขนาดกลาง-เล็กที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างที่จะมี performance ที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ถึงแม้ว่าจะมีวิกฤตทางเศรษฐกิจ แต่พบว่าบริษัทเหล่านี้ไม่ได้วิกฤตตามไปด้วย เนื่องจากไม่ได้อิงไปตามสภาพเศรษฐกิจ ขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่มักจะอิงไปตามสภาพเศรษฐกิจเป็นหลัก ทำให้เมื่อเศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวธุรกิจกลุ่มนี้จึงยังไม่ฟื้นเช่นกัน

“หุ้นกลุ่ม Mid/Small Cap จะยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงที่ผ่านมามีนักลงทุนหน้าใหม่เปิดบัญชีเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากทั้งในไทยและต่างประเทศ ซึ่งนักลงทุนกลุ่มใหม่ ๆ มักมองหาธุรกิจที่เติบโตได้อย่างรวดเร็วถึงแม้จะมีความเสี่ยง จึงทำให้หุ้นกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง-เล็กในกลุ่มที่มีอัตราเติบโตสูงเป็นหุ้นที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน จึงเชื่อว่าในอีก 2-3 ปีข้างหน้าหุ้นกลุ่ม Mid/Small Cap จะยังคงเติบโตได้ดี” นายประภาสกล่าว

ฟันด์โฟลว์ไหลเข้า-ย้ายจากหุ้นใหญ่
ฟาก “ชาญชัย พันทาธนากิจ” ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส กล่าวว่า หลังจากตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นจาก 1,550 จุด มาอยู่แถวบริเวณ 1,660 จุด ตอบรับความคาดหวังที่ไทยเตรียมจะเปิดประเทศและความคืบหน้าการกระจายวัคซีน จึงเห็นภาพเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ (fund flow) เริ่มไหลกลับเข้ามารอบหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เริ่มเห็นโดยเฉพาะในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา คือ ตลาดหุ้นไทยอยู่ในภาวะติดตามพัฒนาการจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดหลังคลายล็อกดาวน์ว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างไร และการเปิดเมืองจะทำได้ต่อเนื่องหรือไม่ โดยภาพฟันด์โฟลว์ที่เริ่มเห็นเป็นภาพการซื้อสลับขาย อาจจะไม่ได้มีเม็ดเงินใหม่เข้ามาหนุน ทำให้ภาพตลาดหุ้นไทยที่หมุนไปหุ้นขนาดใหญ่เริ่มจะเคลื่อนย้ายมาสู่หุ้นขนาดกลาง-เล็กเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้หุ้น Mid/Small Cap ในช่วงที่ผ่านมาแกว่งตัวได้ค่อนข้าง outperform (ดีกว่า SET index)




ลงทุนหุ้นปัจจัยบวกเฉพาะตัว
“แต่ตอนนี้เม็ดเงินต่างชาติเริ่มชะลอ ทำให้เม็ดเงินในตลาดหุ้นไทยเป็นเงินจากนักลงทุนในประเทศเป็นสำคัญ และเห็นภาพ sector rotation ไปสู่หุ้น Mid/Small Cap โดยการเล่น/ลงทุนต้องหาหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว แนะนำ บมจ.วนชัย กรุ๊ป (VNG) ที่ภาพผลประกอบการเป็นภาพเทิร์นอะราวนด์ในปีนี้ ในระยะสั้นที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า โดยแนะนำซื้อ/เป้าหมายราคาที่ 9.9 บาทต่อหุ้น” นายชาญชัยกล่าว

ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (15 ก.ย. 2564) ผลตอบแทน SET index อยู่ที่ 12.7% ขณะที่ผลตอบแทน sSET อยู่ที่ 50.4% และผลตอบแทน mai อยู่ที่ 66.3% โดยประเมินภาพตลาดหุ้นไทยหลังการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ช่วงวันที่ 21-22 ก.ย. 2564 ถ้าส่งสัญญาณการทำ QE tapering ตามที่ตลาดคาด น่าจะประกาศในเดือน พ.ย.หรือ ธ.ค. 2564 โดยมีระยะเวลาทำ QE อยู่ในช่วง 8-12 เดือน

“ถ้าเป็นไปตามนี้ผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยจะมีไม่มาก แต่ถ้าทำเร็วกว่าที่คาดอาจจะเป็นบรรยากาศเชิงลบได้ โดยจะเห็นภาพเทขายกำไรในระยะสั้นเกิดขึ้น” นายชาญชัยกล่าว

นับได้ว่าในช่วงวิกฤตโควิดหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็กที่ไม่อิงกับภาวะเศรษฐกิจนัก ยังคงไปได้ดี สะท้อนผ่านผลตอบแทนที่ออกมาโดดเด่น