กิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์ ทุน BTS หนุนธุรกิจสินเชื่อ SINGER

กิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์ ทุน BTS หนุนธุรกิจสินเชื่อ SINGER

  • 0 ตอบ
  • 60 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

PostDD

  • *****
  • 1581
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ลากยาวนี้ ผู้ประกอบธุรกิจไม่ว่าเซ็กเตอร์ไหนก็ย่อมต้องพยายามหาสภาพคล่องมาประคองธุรกิจให้เดินต่อไปได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่มีผู้เล่นหน้าใหม่ ๆ กระโดดเข้ามาทำธุรกิจให้กู้กันมากขึ้น

อย่างสินเชื่อทะเบียนรถก็มีผู้เล่นเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อย่างบริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SINGER ก็เข้าสู่ธุรกิจนี้มาได้ระยะหนึ่งแล้ว และพยายามรุกมากขึ้น

ล่าสุดได้เงินทุนจาก “บีทีเอส กรุ๊ป” เข้ามาเสริมแกร่ง ซึ่งทาง “ประชาชาติธุรกิจ” ได้พูดคุยกับ “กิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ SINGER ถึงการขยับขยายธุรกิจในระยะต่อไป



โดย “กิตติพงศ์” เล่าว่า ที่ผ่านมา นอกจาก SINGER จะทำธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อพวกจักรเย็บผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ แล้ว ยังมีธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นหลักประกันภายใต้ชื่อ “รถทำเงิน” อีกด้วย

ซึ่งเดิมทีบริษัทก็มีแผนขยายพอร์ตสินเชื่อประเภทนี้อยู่แล้ว แต่การที่ได้เงินลงทุนจาก “บมจ.ยูซิตี้” ของกลุ่มบีทีเอสเข้ามาเสริม ก็จะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการทำธุรกิจได้มากขึ้น และจะสามารถลดภาระต้นทุนทางการเงินลงไปได้อย่างมาก

“เราจะมีความสามารถในการเติมได้เร็วขึ้น และต้นทุนทางการเงินที่ถูกลง ก็จะทำให้ผลตอบแทนดีขึ้น แข่งขันได้ดีขึ้น”


ทั้งนี้ ที่ผ่านมา SINGER จะเน้นเติบโตตามเงินทุนที่มี เพราะปัจจุบันยังใช้ฐานเงินทุนจากการออกหุ้นกู้เป็นหลัก แต่เมื่อกิจกรรมการเพิ่มทุน (จากยูซิตี้) เรียบร้อย ได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นทั้งหมด

ซึ่งกระบวนการคาดว่าจะเสร็จสิ้นในปลายปีนี้ จากนั้นต้นปีหน้า SINGER ก็น่าจะขยายธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถได้เร็วขึ้น

ทั้งนี้ ธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถของ SINGER จะแตกต่างกับผู้ให้บริการสินเชื่อประเภทนี้รายอื่น ๆ เพราะจะเน้นที่รถประกอบกิจการ หรือรถฟลีต อย่างพวกรถบรรทุกขนส่งสินค้าต่าง ๆ สัดส่วนกว่า 60%

หากรวมรถบรรทุกที่เจ้าของทำสัญญาเงินกู้ในรูปบุคคลธรรมดาแล้วก็จะตกกว่า 70% ที่เหลือไม่ถึง 30% จึงเป็นรถบ้าน รถยนต์นั่ง โดยบริการสินเชื่อจะมีทั้งแบบโอนเล่มทะเบียนรถ

และไม่โอนเล่มทะเบียนรถ ซึ่งบริษัทจะคิดอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วง 15-16% ต่อปี ขึ้นกับประเภทของลูกค้า เครดิตลูกค้า ประเภทของรถ และอายุของรถ

“ปีนี้เราตั้งเป้าขยายสินเชื่อใหม่ที่ 3,600 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันก็ยังเดินหน้าได้ตามแผนอยู่ และเป้าหมายสิ้นปี ถ้ารวมสินเชื่อเช่าซื้ออื่น ๆ ของ SINGER ด้วยก็จะอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท”



โดยตลาดรถบรรทุกที่บริษัทเน้นปล่อยสินเชื่อนั้นยังมีโอกาสอีกมาก ทั่วประเทศจะมีอยู่ประมาณ 1 ล้านคัน จากฐานข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งทาง SINGER รับจำนำทะเบียน ทั้งตัวรถและให้วงเงินเพิ่มสำหรับส่วนที่เป็นพ่วงด้านหลังด้วย

“ปีหน้าเรามองตัวเลขขยายสินเชื่อใหม่ไว้ที่ 6,000 ล้านบาท แต่เราจะยังคงเน้นกลุ่มรถเพื่อการประกอบกิจการเป็นหลัก เพราะในสภาวะที่ภาพเศรษฐกิจยังไม่ค่อยดี ยังมีโควิด-19 ระบาด

ผมว่าธุรกิจด้านการเกษตรยังไปได้ดี และกลุ่มโลจิสติกส์ ขนส่งสินค้าทั่วประเทศก็ยังเดินหน้าได้ ซึ่งกลุ่มนี้มีอัตราขยายตัวที่ดีต่อเนื่องมาหลายปี ที่สำคัญ มูลค่าของรถจะไม่ค่อยลดลงมาก เมื่อเทียบกับพวกรถยนต์นั่งทั่วไป”

“ผมวางเป้าหมายไว้ว่า ภายใน 5 ปี เราจะเป็นหมายเลขหนึ่งของสินเชื่อทะเบียนรถที่เป็นกลุ่มรถบรรทุกขนส่ง ซึ่งเรามั่นใจว่าจากเงินทุนที่เราได้เข้ามารอบนี้ จะทำให้ภายใน 2 ปีข้างหน้า

เราจะมีสภาวะต้นทุนที่ได้เปรียบมากขึ้น และปีหน้าเราจะนำบริษัทลูกที่ปล่อยสินเชื่อตัวนี้เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯอีก จะทำให้อนาคตข้างหน้า พวกข้อเสียเปรียบเรื่องต้นทุนต่าง ๆ ของเราจะลดลงไปมาก” กรรมการผู้จัดการใหญ่ SINGER กล่าวอย่างมั่นใจ