นางสาวสุพิชฌาย์ ตั้งจิตนำธำรง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากการเปรียบเทียบการขยายตัวของรายได้เฉลี่ยในปี 2560-2561 พบว่า การทำนวัตกรรมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการขยายตัวของรายได้ โดยเฉพาะในภาคบริการ ซึ่งพบว่าธุรกิจที่ทำนวัตกรรมด้าน Marketing Organization และโดยเฉพาะ Process มีรายได้เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ในภาคการขนส่งที่ได้ปรับกระบวนการขนส่งสินค้าให้สอดคล้องกับธุรกิจขายสินค้าออนไลน์
ถูกกฎหมายเชื่อถือได้ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
มีข้อสังเกตว่ากลุ่มที่ไม่ทำนวัตกรรมมีการขยายตัวของรายได้ที่มากกว่าการทำนวัตกรรมในบางประเภท แต่เป็นไปได้ว่า อาจเป็นผลจากการทำนวัตกรรมไปแล้วในช่วงก่อนหน้า ซึ่งผลดีจากการทำนวัตกรรมด้าน Product หรือการทำนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรมต่อรายได้ของธุรกิจมักไม่เห็นผลในระยะสั้นมากนัก จำเป็นต้องอาศัยเวลาและความต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก RDI Survey มีข้อมูลกิจกรรมนวัตกรรมที่มีความต่อเนื่องเพียง 3 ปี จึงเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ชิงสถิติเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรมนวัตกรรมในระยะยาวได้
ดังนั้นหากในระยะต่อไป มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ผลของนวัตกรรมต่อธุรกิจไทยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำนโยบายเพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศที่ตรงจุดมากขึ้น
BOT Thailand Innovation Paper BOT Thailand Innovation Paper
โดยสรุปการพัฒนานวัตกรรมจะทวีความสำคัญมากขึ้นในระยะข้างหน้าท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจโลกและการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ภาคธุรกิจจึงควรให้ความสำคัญกับการทำนวัตกรรมมากขึ้น โดยอาจเลือกใช้นวัตกรรมประเภทที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อช่วยรักษาระดับรายได้และเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ขณะเดียวกันภาครัฐก็ควรเร่งสนับสนุนการทำนวัตกรรมของภาคธุรกิจควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะนวัตกรรมด้านการยกระดับการผลิต สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อช่วยยกระดับศักยภาพของประเทศในระยะยาว
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มกิจกรรมนวัตกรรม
1. เพิ่มการสนับสนุนด้านแรงจูงใจในการทำนวัตกรรม เช่น สนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนในรูปแบบ Co-Payment
2. ลดกระบวนการขอรับการลดหย่อนภาษีให้มีความยุ่งยากน้อยลง หากมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำนวัตกรรมในทุกประเภท เช่น อาจมีการหักลดหย่อนภาษีอัตโนมัติ
3. เพิ่มการประชาสัมพันธ์มาตรการสนับสนุนต่างๆ อาทิ สิทธิประโยชน์ที่สนับสนุนให้ภาคธุรกิจเร่งทำนวัตกรรมในปัจจุบัน หรืออาจประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงตัวอย่างของบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการทำนวัตกรรมด้านต่างๆ
4. จัดเก็บข้อมูลนวัตกรรมของภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ผลของการทำนวัตกรรมประเภทต่างๆ ของภาคธุรกิจ และสามารถนำมาสนับสนุนการออกนโยบายได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะหากมีการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลด้านอุตสาหกรรมหรือบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง