กบร.เร่ง กพท. แก้ระเบียบ ใบอนุญาต”โดรน”การเกษตร

กบร.เร่ง กพท. แก้ระเบียบ ใบอนุญาต”โดรน”การเกษตร

  • 0 ตอบ
  • 78 อ่าน

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Ailie662

  • *****
  • 2858
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) เปิดเผยภายหลังประชุม กบร. ครั้งที่ 9/2564 วันที่ 16 ก.ย. ว่า กบร. ได้มอบหมายให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หรือ CAAT เร่งรัดแก้ไขกฎระเบียบการอนุญาตโดรนขนาดใหญ่ (น้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัมขึ้นไป) ที่มีวัตถุประสงค์การใช้งานเพื่อการเกษตร ซึ่งก่อนหน้านี้มีผู้ยื่นขออนุญาตเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยภายในเดือนก.ย. CAAT จะต้องทยอยขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ผู้ยื่นขออนุญาตที่มีความพร้อมสามารถใช้โดรนเพื่อการเกษตรได้อย่างถูกกฎหมายภายในเดือนต.ค. 2564

ส่วนโดรนที่มีน้ำหนักไม่เกิน 25 กิโลกรัม CAAT รายงานว่า ปัจจุบันไม่มีคำขออนุญาต คงค้าง โดยสามารถทยอยขึ้นทะเบียน ได้ตามขั้นตอนและกรอบเวลาที่กำหนดตามปกติ

@สั่งเตรียมความพร้อม รับการเปิดประเทศเฟส 2 และ3 อีก 26 จังหวัด

พร้อมกันนี้ได้มอบนโยบายให้ CAAT ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการรองรับนโยบายการเปิดประเทศใน 120 วันของรัฐบาล ซึ่งในเดือนต.ค.นี้ถือเป็นการเปิดครั้งใหญ่ที่สุดทั้ง เฟส 2 และเฟส 3 รวม 26 จังหวัด รองรับการท่องเที่ยวทั้งของคนไทยและต่างชาติกระจายไปยังทุกภูมิภาคของประเทศ ประกอบกับเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season) อีกด้วย โดยให้นำบทเรียนจากโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ มาปรับปรุงแก้ไขและเร่งดำเนินการนโยบายการบินวิถีใหม่ (New Normal) ที่จะมีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ในกิจการการบินให้เร็วขึ้นด้วย

โดยให้ CAAT เป็นศูนย์กลางดำเนินการประสานกับกระทรวงคมนาคม เพื่อให้บุคลากรทางการบินซึ่งปฏิบัติงานสัมผัสใกล้ชิดโดยตรงกับผู้โดยสาร ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 เพื่อให้มีความพร้อมสำหรับการปฏิบัติการบิน โดยเฉพาะในช่วงการเปิดประเทศในเดือนต.ค.นี้

สำหรับการช่วยเหลือสายการบินสัญชาติไทยเรื่องเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำนั้น รมว.คมนาคม กล่าวว่า ให้ CAAT เร่งรัด จัดทำข้อมูลวิเคราะห์เชิงลึกถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาคและการสูญเสียความสามารถด้านกิจการการบินของประเทศ โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติซึ่งคาดว่าจะอยู่ในช่วงปี 2568 เป็นต้นไป เพื่อเสนอข้อมูลต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความช่วยเหลือสายการบินให้ได้รับเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) โดยเร็ว

นอกจากนี้ ที่ประชุม กบร. ยังเน้นย้ำให้ CAAT เร่งรัดดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องที่ได้รับจากการตรวจประเมินตามโครงการยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยตามการประเมินความปลอดภัยการบินระหว่างประเทศ (IASA: International Aviation Safety Assessment) ขององค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (FAA) โดยมีเป้าหมายเดิมคือเพื่อยกระดับประเทศไทยกลับคืนสู่ Category 1 ภายในปี 2564 ซึ่งจะส่งผลดีให้สายการบินของไทยบินตรงไปยังสหรัฐฯ ได้และทำการบินร่วมได้ตามปกติ (Code Sharing) รวมถึงยังจะส่งผลต่อการขอเพิ่มจำนวนเที่ยวบินจากไทย ไปยังประเทศอื่นที่ยึดถือผลประเมินของ FAA ด้วย เช่น เกาหลีใต้ เป็นต้น

รมว.คมนาคมกล่าวว่า กบร.ยังเห็นชอบแผนดำเนินการพัฒนางานด้านการบริหารข่าวสารการบิน (Aeronautical Information Management: AIM) ของประเทศไทย ให้ไปสู่ระบบมาตรฐานสากล โดยพัฒนาระบบบริการข่าวสารการบินไปสู่การบริหารข่าวสารการบินแบบดิจิทัล เพื่อต่อยอดการพัฒนาสำหรับการเชื่อมต่อกับ SWIM หรือ System Wide Information Management ซึ่งเป็นโครงข่ายอินเทอร์เน็ตการบินของโลกที่มีการบริหารจัดการข่าวสารการบินทั้งระบบ ที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับการเติบโตของการขนส่งทางอากาศที่เพิ่มมากขึ้นได้ในอนาคต และเชื่อมโยงระบบการบริหารข่าวสารการบินตามมาตรฐานสากลซึ่งสอดคล้องกับแผนการเดินอากาศสากลของ ICAO และของภูมิภาค

โดยจะเปิดให้มีนิติบุคคลทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการข่าวสารการบิน (AIS Provider) แทน CAAT โดยตั้งแต่เดือนต.ค. 2564 ถึงเดือนมี.ค.2565 จะสามารถตรวจสอบออกใบรับรองได้และ คาดว่า เดือนมิ.ย. 2565 ทาง CAAT จะสามารถส่งมอบ/ถ่ายโอนงานให้นิติบุคคลดำเนินงานได้ และบริหารจัดการข่าวสารการบินทั้งระบบ (SWIM) ได้ในปี 2567