วว. ช่วยเกษตรกรแก้ปัญหาผลผลิต “ลำไยล้นตลาด”

วว. ช่วยเกษตรกรแก้ปัญหาผลผลิต “ลำไยล้นตลาด”

  • 0 ตอบ
  • 68 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Shopd2

  • *****
  • 2300
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ให้บริการโรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ช่วยเหลือเกษตรกรแก้ปัญหาผลผลิตลำไยล้นตลาด ณ ต.เหล่ายาว อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน ยืดอายุลำไยเพื่อการส่งออก สร้างโอกาสให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการในการเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ช่วยเหลือเกษตรกรแก้ปัญหาผลผลิตลำไยล้นตลาด ผ่านการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานภูมิภาค ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยียืดอายุลำไยเพื่อการส่งออก ณ



ตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ซึ่งมีศักยภาพในการรมควันแก๊สซัลเฟอร์ฯ ลำไยในปริมาณ 72 ตันต่อวัน ช่วยยืดอายุการเก็บผลลำไยหลังการเก็บเกี่ยวได้นานขึ้น 30-45 วัน มีประสิทธิภาพควบคุมปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างในเนื้อลำไย ช่วยลดการใช้กำมะถัน ลดปริมาณการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยคิดค่าบริการในราคาที่เหมาะสมคือกิโลกรัมละ 50 สตางค์ เพื่อสร้างโอกาสให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการในการเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ช่วยลดความเสี่ยงให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการในระยะแรกของการทำตลาด และยังไม่มีความพร้อมในการลงทุนด้านสถานที่ผลิตหรือโครงสร้างพื้นฐานด้วยตนเอง

ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว.
ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว.

"วว. ได้ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบราคาลำไยตกต่ำ ให้สามารถยืดอายุลำไยและวางจำหน่ายในท้องถิ่น รวมทั้งกระจายสินค้าสู่ตลาดในประเทศได้ ลดปัญหาการเน่าเสีย อีกทั้งมีระบบห้องเย็นจัดเก็บเพื่อใช้จัดเก็บลำไยหลังการรมแก๊สซัลเฟอร์ฯให้ทยอยออกสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์ต้นแบบเรียนรู้เทคโนโลยี พัฒนาบุคคลากรของพื้นที่ เพื่อให้สามารถเข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ถูกต้องและได้มาตรฐาน จากสถานการณ์ลำไยล้นตลาดในพื้นที่เพาะปลูกทางภาคเหนือนั้น ขณะนี้มีเกษตรกร ผู้ประกอบการ ทยอยเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ผ่านการประสานงานจากพันธมิตรเครือข่ายภาครัฐในพื้นที่ วว. พร้อมให้บริการและช่วยแก้ปัญหาเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจประเทศ” ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว.กล่าว



ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยียืดอายุลำไยเพื่อการส่งออก เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐบาลมอบนโยบายให้ วว. ดำเนินการบริหารจัดการ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถการส่งออกลำไยที่ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ มีบริการครบวงจรในการรมและการควบคุมปริมาณซัลเฟอร์ฯ ในผลลำไยให้ได้ตามมาตรฐานของประเทศปลายทาง มีห้องปฏิบัติการวิจัยวิเคราะห์ทดสอบ เพื่อยกระดับมาตรฐานและขีดความสามารถส่งออกลำไย ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ก่อให้เกิดปัญหาการส่งออก



ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยียืดอายุลำไยเพื่อการส่งออก มีระบบทำงานสำคัญ 3 ระบบ ซึ่ง วว. วิจัยและพัฒนาสำเร็จ ดังนี้

1.ระบบการรมด้วยแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่สามารถควบคุมปริมาณซัลเฟอร์ ที่ตกค้างในเนื้อลำไยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.ระบบป้องกันการรั่วไหลของแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์จากกระบวนการและในพื้นที่ทำงานในโรงงาน

3.ระบบการควบคุมแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ปล่อยออกนอกโรงงาน เป็นระบบมีการหมุนเวียนน้ำกลับไปใช้ซ้ำ ไม่มีการระบายน้ำทิ้ง และได้ผลพลอยได้เป็นยิปซั่ม สามารถใช้เป็นวัสดุปรับปรุงสภาพดินได้



วว. พร้อมเป็นหุ้นส่วนความสำเร็จของเกษตรกร ผู้ประกอบการขอรับบริการและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยียืดอายุลำไยเพื่อการส่งออก

โทร. 097- 024 8385 (ดร.สรวิศฯ) หรือ 02 - 577 9000
E-mail : tistr@tistr.or.th