วช.- กอ.รมน. นำผลงาน “เครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหย” 

วช.- กอ.รมน. นำผลงาน “เครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหย” 

  • 0 ตอบ
  • 74 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Chanapot

  • *****
  • 3237
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ผศ.จีระศักดิ์ เพียรเจริญ และ รศ.ดร.จารุวัฒน์ เจริญจิต จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เผยนำนวัตกรรมเครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหยด้วยน้ำและไอน้ำ ลงพื้นที่ ณ ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต.บ้านลำ อ.วิหารแดง จ.สระบุรี ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในความร่วมมือกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างผลิตภัณฑ์ OTOP เพิ่มมูลค่าสมุนไพรในชุมชน

ในยุคปัจจุบัน พืชสมุนไพรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สำคัญต่อการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อรักษา บรรเทาอาการต่าง ๆ ให้ทุเลาลง หรือกระทั่งเพื่อความสวยความงาม และบำบัดจิตใจ โดยเฉพาะประเทศไทย ที่มีจุดแข็งด้านการปลูกและสืบทอดตำรับยาสมุนไพรเป็นภูมิปัญญามาช้านาน กระทั่งได้ขึ้นบัญชียาสมุนไพร เกิดผลิตภัณฑ์และการศึกษาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้กับมนุษย์และสัตว์ อีกทั้งช่วยสร้างรายได้และการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้อีกด้วย

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

เช่นเดียวกับ ผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรที่มีราคาสูง ผลงานของ ผศ.จีระศักดิ์ เพียรเจริญ รศ.และ ดร.จารุวัฒน์ เจริญจิต อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดยคิดค้นนวัตกรรมเครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยใช้น้ำและไอน้ำ ที่มีข้อดี คือ สามารถใช้กับวัตถุดิบได้หลากหลายประเภทกว่าวิธีอื่น และยังมีประสิทธิภาพสูง ใช้เทคนิคที่ไม่มีความซับซ้อน โดยเกษตรกรหรือชุมชนสามารถใช้งานได้เอง เตรียมนำองค์ความรู้ที่ได้ไปต่อยอดให้กับศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต.บ้านลำ อ.วิหารแดง จ.สระบุรี สกัดพืชสมุนไพรที่มีอยู่แล้วในชุมชน อาทิ ใบมะกรูด ผลมะกรูด และตะไคร้หอม ช่วยให้ชุมชนมีความต้องการที่จะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง สร้างความตระหนักด้านสมุนไพรไทยให้เป็นที่นิยม



ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. มีบทบาทในการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม ริเริ่มและขับเคลื่อนและประสานการดำเนินงานโครงการวิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ ภายใต้ความร่วมมือกับ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. ในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ศาสตร์เพื่อความมั่นคง และเครือข่ายภาคจังหวัด ในการร่วมกันขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงทราบความต้องการของชุมชนเป็นอย่างดี ได้จัดการความรู้เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงชุมชน สังคม ภายใต้โครงการการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อชุมชนสังคม แก่นักวิจัย เพื่อนำงานวิจัยและนวัตกรรมลงสู่ชุมชน สร้างรากฐานที่สำคัญของประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป



ผศ.จีระศักดิ์ เพียรเจริญ เล่าถึงกลไกของเครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหยว่า ภายในถังต้มหรือหม้อกลั่น จะมีตะแกรงสำหรับใส่วัตถุดิบสมุนไพรปริมาณครั้งละ 5 กิโลกรัม ไว้เหนือระดับน้ำ จากนั้นจึงปิดฝาและล็อคให้สนิท ทำการเติมน้ำสะอาดปริมาณ 20-25 ลิตร เข้าไปในถัง โดยการใส่ให้เหนือระดับฮีตเตอร์เพียงเล็กน้อย เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน ให้ความร้อน ด้วยกำลังไฟ 3,500 วัตต์ เมื่อน้ำเดือดจนกลายเป็นไอน้ำที่อิ่มตัวหรือไอเปียก ใช้เวลา 40 นาที ไอน้ำจะลอยไปสัมผัสกับวัตถุดิบซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำร้อน ไอน้ำจะไปละลายสารเคมี และน้ำมันที่อยู่ที่วัตถุดิบ จนลอยไปปะปนกับไอน้ำ และเข้าไปยังถังคอนเดน ไอน้ำภายในท่อจะสัมผัสกับน้ำหล่อเย็น ที่มีการควบคุมอุณหภูมิน้ำให้อยู่ที่ ประมาณ 15-25 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิปกติ ทำให้ไอน้ำเปลี่ยนสภาพกลายเป็นของเหลว ซึ่งมีน้ำและน้ำมันปะปนมาด้วย การกลั่นใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง จนได้เป็นน้ำกลั่น หรือ น้ำที่มีการแยกเป็น 2 ส่วน คือ น้ำมันจากสมุนไพรที่ลอยอยู่ด้านบน และน้ำจากการกลั่นที่อยู่ด้านใต้ ได้ปริมาณน้ำมัน 30-50 cc โดยสามารถนำน้ำทั้ง 2 ส่วน มาแยกออกจากกันด้วยวิธีการค่อย ๆ เทออกมานั่นเอง ทั้งนี้ปริมาณน้ำมันจากการสกัดจากพืชแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดสมุนไพร และอุณหภูมิน้ำที่มีการควบคุมไว้ การกลั่นโดยวิธีนี้พืชที่กลั่นจะไม่สัมผัสกับความร้อนโดยตรง ทำให้น้ำมันหอมระเหยมีคุณภาพสูง



อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมดังกล่าวได้นำไปติดตั้งให้กับชุมชนจังหวัดสระบุรีเรียบร้อยแล้ว โดยขณะนี้ ทีมนักวิจัย และนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อยู่ในช่วงการพัฒนาด้านมาตรฐานน้ำมันหอมระเหย และเรียนรู้การสร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากแพทย์แผนไทย เพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น สเปรย์ฉีดกันยุง สเปรย์ปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์ลดกลิ่นอับ หรือแม้แต่ สเปรย์ที่สามารถหยดลงไปในอาหารได้ เพื่อเตรียมนำไปถ่ายทอดให้กับชุมชน หวังจะพัฒนาเป็นสินค้าOTOP สร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชนต่อไป