บิ๊กดีลหมื่นล้าน “ บีทีเอส –เจมาร์ท “ ไขว้สูตรถือหุ้นดันลูกหนุน 2ทุนใหญ่

บิ๊กดีลหมื่นล้าน “ บีทีเอส –เจมาร์ท “ ไขว้สูตรถือหุ้นดันลูกหนุน 2ทุนใหญ่

  • 0 ตอบ
  • 67 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jessicas

  • *****
  • 2373
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ยุคหลังโควิดทั้งโลกเผชิญการเปลี่ยนแปลงบีบบังคับให้เร็วขึ้น ทั้งการใช้ชีวิตและทางธุรกิจ ทำให้ปี 2564 เห็นการ “มูฟออน” ของ “คอร์ปอเรท”จำนวนมากก้าวเข้าสู่ธุรกิจอนาคตที่กลายเป็นโลกยุคใหม่มากขึ้น
ดีลล่าสุดระหว่างกลุ่ม บริษัท บีทีเอส โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เข้าลงทุนใน กลุ่ม บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART เป็นอีกดีลมองไปถึงการปรับธุรกิจดั้งเดิมของทั้ง 2 กลุ่ม หลังผนึกโครงสร้างการถือหุ้น

การเข้าลงทุนดังกล่าวจึงเป็นสูตรไขว้ถือหุ้นแทนที่บริษัทแม่ BTS จะเข้าถือลงทุนใน JMART โดยตรงเพื่อได้มีอำนาจควบคุมจากโฮลดิ้งลงไปยังบริษัทลูกมูลค่ารวม 17,540 ล้านบาท เนื่องจากวัตถุประสงค์ชัดเจนว่าทางกลุ่ม BTS ต้องการผลักดัน บริษัท ยู ซิตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ U พลิกบทบาทจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ไปสู่ ธุรกิจ ดิจิทัล เต็มตัว

ฝั่งของ JMART เป็นเสมือนโฮลดิ้งเช่นกัน มีการเติบโตต่อเนื่องผ่านบริษัทลูก ทั้งธุรกิจตามทวงหนี้ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT จนดันมาร์เก็ตแคป เฉียด 50,000 ล้านบาท แซงหน้าบริษัทแม่ที่มีมาร์เก็ตแคป 38,000 ล้านบาท

ตามมาด้วยบริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SINGER ที่เทคโอเวอร์มาในปี 2558 ด้วยเม็ดเงินลงทุน 945 ล้านบาท พร้อมเข้ามารื้อระบบบริหารภายในจากตัวเลขหนี้เสียและขาดทุนกลับมามีกำไรในปี 2561 และกลายเป็นหุ้นเทิร์นอะราวด์ด้านผลประกอบการมาอย่างต่อเนื่อง การเติบโตของหุ้นทั้ง 2 บริษัทเพิ่มมูลค่า JMART ขึ้นตามไปด้วย

ด้วยการแข่งขันที่เข้มข้นจากธุรกิจตามหนี้ – ปล่อยสินเชื่อ ท่ามกลางคู่แข่งรายใหญ่และสถาบันการเงินเข้ามาลุยธุรกิจดังกล่าวด้วย ทำให้ต้องอาศัยฐานทุนที่ใหญ่ขึ้น จนมาสู่การระดมทุนในกลุ่ม รวมไปถึงการออกสตาร์ทเหรียญดิจิทัล “เจฟินคอยน์” แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเพื่อทำให้เป็นเหรียญที่มีสภาพคล่องสูงเป็นโจทย์ที่ต้องคิดสูตรหากทางออก

ด้านกลุ่ม BTS ถือว่าเป็นเจ้าสัวเงินถุงเงินถังมีมีธุรกิจหลักคือ สาธารณูปโภค ที่มีกระสรายรับมั่นคงแต่เผชิญปัญหาสัมปทานมาตลอด และมีจุดเด่นคือ บริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือVGI ที่มีบิ๊กดาต้า จากบัตรเรทบิท และการซื้อสื่อ ทำให้เห็นพฤติกรรมการการอุปโภคบริโภคมหาศาล แต่ยังไม่สามารถทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทางธุรกิจได้

ดังนั้นจึงพยายามหากโซลูชั่นทางธุรกิจเพื่อลงทุนสร้างซินเนอร์ยี่ในกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นการเข้าลงทุนใน บริษัท คอม เซเว่น จำกัด (มหาชน) หรือ COM7 ,บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ RS แต่ถือได้ระยะหนึ่งมีการขายออกไป

ส่วนที่ยังถืออยู่ บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NOBLE , บริษัท ฮิวแมนิก้า จำกัด (มหาชน) หรือ HUMAN ,บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX

เบื้องต้นย่อมคาดการณ์ได้ว่าการนำสินค้าของกลุ่ม JMART มาขายบนช่องทางที่ BTS มีอยู่ย่อมเกิดขึ้น แต่ถัดไปจากนี้คือการนำ บิ๊กดาต้า ฐานลูกค้าที่มีระดับล้านคนมาแปรเป็นมูลค่าเซ่อนในอนาคตของกลุ่มต่อไป

จุดอ่อนกลุ่ม BTS ยังมีธุรกิจอสังหาฯ ภายใต้ U ที่การเติบโตในธุรกิจนี้ไม่ชัดเจน แม้จะขึ้นชื่อว่ามี “แลนด์แบงก์” หรือที่ดินทำเลทอง ตามแนวรถไฟฟ้าสะสมไว้เป็นจำนวนมาก แต่ต้องใช้กลยุทธ์ร่วมลงทุนกับ ดีลเวลลอปเปอร์ รายอื่นๆ ในกลุ่มคอนโดมีเนียมเป็นส่วนใหญ่ เช่น NOBLE หรือ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI

จนเห็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่และมีผลต่อราคาหุ้น U จากการขายสินทรัพย์ใหญ่โรงแรมในต่างประเทศแทบทั้งหมด ช่วงแรกได้เม็ดเงินเข้ามาหมื่นล้านบาท จนมาสู่การเข้าลงทุนจับคู่กับ SINGER ด้วยการเข้าถือหุ้นโดยตรง 24.90 % เพื่อให้กลายเป็นธุรกิจดิจิทัลเต็มตัว ทำให้เป็นการปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ของ U ก็ว่าได้เพราะจากนี้การจะออกสินทรัพย์ดิจิทัลที่กำลังเป็นกระแสผ่านทรัพย์สินไว้เป็นแบล็กอัพไม่ใช่เรื่องยาก

อย่างไรก็ตามกระบวนการดังกล่าวการเข้ารวมลงทุนของทั้ง 2 กลุ่มจะเสร็จสิ้นไตรมาส 4 ปี 2564 ทำให้ “บิ๊กมูฟ” ที่จะเห็น สินค้า ลูกเล่น แพลตฟอร์ม และคาดการณ์เติบโตจะเริ่มมีความชัดเจนในปี 2565 รวมไปถึงความคาดหวังต่อราคาหุ้นไปด้วย