กรมอนามัย สนับสนุนภาคเอกชนร่วมเปิด CI แนวตั้งชุมชนเมือง รูปแบบ Social Enterprise

กรมอนามัย สนับสนุนภาคเอกชนร่วมเปิด CI แนวตั้งชุมชนเมือง รูปแบบ Social Enterprise

  • 0 ตอบ
  • 74 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

hs8jai

  • *****
  • 2219
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




วันที่ (24 ส.ค.) นายแพทย์สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยม “ศูนย์พักคอยรุ่งตะวัน (Community Isolation)” ณ บริษัท รุ่งตะวัน เนอร์สซิ่งแคร์ จำกัด กรุงเทพมหานคร ว่า กรมอนามัยได้สนับสนุนภาคเอกชนในการจัดตั้ง “ศูนย์พักคอยรุ่งตะวัน” เป็น Community Isolation แนวตั้งในชุมชนเมือง ซึ่งมีการประสานความร่วมมือระหว่าง บริษัท รุ่งตะวัน เนอร์สซิ่งแคร์ จำกัด บริษัท Symphony communication PCL บริษัท Zim Integrated Shipping Service Limited และคลินิกเวชกรรมณัชชนกคลินิก เกิดเป็นโมเดล Community Isolation รูปแบบ Social Enterprise ที่ดำเนินการเพื่อสังคม ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยังไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย แยกออกจากครอบครัวเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคมีระบบการจัดการในเรื่องการสื่อสารที่ทันสมัยเพื่อประสิทธิภาพของการดูแลรักษา และเน้นความปลอดภัยและ คลายความกังวลต่อชุมชนรอบข้าง โดยจัดให้มีระบบการดูแลด้วยการใช้ นวัตกรรม ลดการสัมผัส มีห้องความดันลบ (Negative pressure) กรองอากาศโดยใช้ HEPA Filter ที่มีประสิทธิภาพ วางระบบการฝอกไตกรณีดูป่วยไตวายโดยผ่านระบบผู้เชี่ยวชาญ มีการสร้างความรอบรู้ให้กับผู้ป่วย ญาติ และชุมชน ตลอดจนมีการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ได้มาตรฐาน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

“ทั้งนี้ แนวทางปฏิบัติการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่สำคัญประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1) ด้านการจัดการขยะติดเชื้อ ผู้ปฏิบัติงานเก็บรวบรวมขยะติดเชื้อต้องสวมชุดป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมจัดให้มีภาชนะบรรจุ (ถุงแดง) และภาชนะรองรับมูลฝอยติดเชื้อ (ถังแดง) อย่างเพียงพอ มีการเก็บรวบรวมและเคลื่อนย้ายขยะติดเชื้อตามเส้นทางและเวลาที่กำหนด จัดให้มีที่พักรวมขยะติดเชื้อที่แยกเฉพาะและสามารถป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ รวมถึงประสานให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมาเก็บขนไปกำจัดอย่างถูกต้อง 2) ด้านการกำจัดน้ำเสีย ควรมีการจัดการน้ำเสียอย่างเหมาะสมก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก มีระบบการฆ่าเชื้อโรคที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลาที่ปล่อยน้ำเสีย และ 3) ด้านการจัดการส้วมและสิ่งปฏิกูล ให้ทำความสะอาดห้องน้ำ ห้องส้วม ด้วยน้ำยาทำความสะอาดทั่วไป ทิ้งไว้อย่างน้อย10 นาที เน้นเช็ดถูบริเวณจุดเสี่ยง เช่น ที่รองนั่ง โถส้วม ฝาปิดโถส้วม ที่กดชักโครก ราวจับลูกบิด กลอนประตู ด้วยผ้าชุบน้ำยาฟอกขาวที่เตรียมไว้หรือแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 0.5 เปอร์เซ็นต์ และต้องสวมถุงมือยาง รองเท้ายาง ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดจมูก เพื่อป้องกันเชื้อโรคหรือสารเคมีที่ใช้ในการทำความสะอาด” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว