โควิดพ่นพิษ SME ภาคบริการ ปิดกิจการถวาร

โควิดพ่นพิษ SME ภาคบริการ ปิดกิจการถวาร

  • 0 ตอบ
  • 75 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

PostDD

  • *****
  • 1581
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




​นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยว่าในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้ประกอบการ SME และวิสาหกิจชุมชน กว่า 1.33 ล้านราย โดยเฉพาะ SME ในภาคบริการ ได้รับผลกระทบในหลายด้าน  จากการสำรวจของ สสว. พบว่า ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 SME 22.75% ต้องปิดกิจการชั่วคราว และ 1.91% ปิดกิจการถาวร นอกจากนี้ พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดด เช่น การเปลี่ยนมาใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล การทำงานที่บ้าน การเพิ่มความใส่ใจสุขภาพกายและสุขภาพจิต ยังเร่งให้ SME ต้องปรับตัวอย่างมาก

​ด้วยเหตนี้ สสว. จึงได้ร่วมกับ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย จัดงานสัมมนาออนไลน์ ภายใต้ชื่อ ‘ปลดล็อค SME ไทย ปรับตัวอย่างไรในยุค Next Normal’ โดยมูลนิธิคีนันฯ นำเสนอผลการศึกษา “การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกภายใต้บริบท Next Normal” เสนอแนะเทรนด์สำคัญของโลกธุรกิจและผลกระทบต่อ SME และมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ และตัวแทนจากองค์กรและบริษัทชั้นนำ อาทิ ประสบการณ์ อาทิ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) Facebook ประเทศไทย (Facebook Thailand) บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด (SCG-CBM) บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) (Ngern Tid Lor) บริษัท ไลน์แมน วงใน (LINE MAN Wongnai) บริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) (LINE Thailand) บริษัท เซ็นทรัล เจดี คอมเมิร์ซ จำกัด (JD Central) เดอะ แมคคินซี่ โกล. อินสติติว (The McKinsey Global Institute) บริษัท ออร์กานอน (ประเทศไทย) จำกัด (Organon Thailand) บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด (PwC)

โดยทั้งหมดได้ร่วมพูดคุยและถอดบทเรียนใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ Digital Transformation (พลิกองค์กรด้วยวิถีดิจิทัล) Sustainability (ความยั่งยืนและโอกาสทางธุรกิจ) Future of Work (เทรนด์งานแห่งโลกอนาคต) และ Next Normal Consumers (โลกปรับ ผู้บริโภคเปลี่ยน) โดยเน้นให้ผู้เข้าสัมมนาได้เข้าใจแนวทางรับมือผลกระทบของดิจิทัลต่อโลกหลังโควิด-19 เรียนรู้หลักความยั่งยืนเพื่อเปิดโอกาสธุรกิจสู่สากล ทำความรู้จักกับเทรนด์รูปแบบการทำงานและแรงงานในอนาคต และตามทันและเข้าใจเทรนด์ใหม่ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

โดย ในช่วงการเสวนา Digital Transformation: พลิกองค์กรด้วยวิถีดิจิทัล​จากการเสวนาในช่วงการเสวนา Digital Transformation: พลิกองค์กรด้วยวิถีดิจิทัล แสดงให้เห็นว่าโควิด-19 มีส่วนทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเป็นไปได้รวดเร็วและง่ายมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และองค์กรกล้าท้าทายการทำงานรูปแบบเดิม อีกทั้งการเข้าถึงเทคโนโลยีก็มีราคาถูกลง ทำให้องค์กรทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ควรใช้ ‘โอกาส’ ใน ‘วิกฤต’ นี้พาองค์กรสู่วิถีดิจิทัล อย่างไรก็ตาม หัวใจสำคัญในการเปลี่ยนผ่านคือ ‘คน’ ที่ต้องมีทัศนคติและพร้อมปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลง

​สำหรับการบรรยายช่วง Sustainability: ความยั่งยืนและโอกาสทางธุรกิจ ผู้เข้าร่วมสัมมนาต่างเห็นพ้องกันถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในธุรกิจทุกขนาด ในยุคที่หลัก Sustainable Development Goals และ Environmental Social and Governance กำลังเป็นที่สนใจจากทั่วโลก SME จึงต้องเตรียมพร้อมรับมือกับกฎหมายและการตรวจสอบด้านความยั่งยืนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคต ในขณะที่ การบรรยายช่วง Future of Work: เทรนด์งานแห่งโลกอนาคต ชี้ถึงโลกการทำงานที่เปลี่ยนไปทั้งด้านแรงงาน ตำแหน่งงาน และสถานที่ทำงาน โดย SME ต้องตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงและปรับตัวทั้งด้านทักษะแรงงานและการบริหารให้คล่องตัวมากขึ้น รวมทั้งจัดรูปแบบการทำงาน การสรรหาและพัฒนาพนักงานให้สอดคล้องกับแรงงานยุคใหม่

​สุดท้าย การเสวนา Next Normal Consumers: โลกปรับ ผู้บริโภคเปลี่ยน แสดงให้เห็นถึงเส้นแบ่งระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ไม่ชัดเจนเหมือนเคย โดยเมื่อก่อนผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ใช้งานแพลตฟอร์มด้วยวัตถุประสงค์ในการซื้อที่ชัดเจน แต่ปัจจุบันพวกเขาใช้เวลาสำรวจและเลือกสรรสินค้าบนแพลตฟอร์มมากขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการต้องเข้าใจจุดแข็งของตัวเอง เพื่อที่จะสามารถสื่อสารได้ตรงจุด และสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ SME มีข้อได้เปรียบที่ความคล่องตัวในการบริหาร ทำให้สามารถปรับตัวได้รวดเร็ว

​ทั้งนี้ งานสัมมนาได้รับความสนใจอย่างมากจาก SME สมาคมการค้า หน่วยงานภาครัฐ และประชาชนทั่วไป มีผู้เข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในงานสัมมนารวมกว่า 430 คน และมีผู้เข้าร่วมในแต่ละช่วงของการสัมมนาประมาณ 200 คน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิคีนันแห่งเอซีย คุณเอษา โชติชาครพันธุ์ ที่เบอร์โทรศัพท์ 099 429 6945
สามารถติดตามชมคลิปงานสัมมนาย้อนหลังได้ที่เว็บไซค์ SME Academy 365