ก.ล.ต. ร่อนหนังสือกำชับ'บอร์ด'บจ.เข้มออก'วอร์แรนท์-เปิดข้อมูลครบถ้วน '

ก.ล.ต. ร่อนหนังสือกำชับ'บอร์ด'บจ.เข้มออก'วอร์แรนท์-เปิดข้อมูลครบถ้วน '

  • 0 ตอบ
  • 76 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Thetaiso

  • *****
  • 2964
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




“ก.ล.ต.”ส่งหนังสือ กำชับ"บอร์ด"บจ.ใช้ความระมัดระวังรอบคอบพิจารณา"ออก-เสนอขายวอร์แรนท์"  พร้อมเปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วน พบปีนี้บจ.แห่ออกเพิ่มขึ้นเท่าตัว จากทั้งปีก่อน “ไทยพาณิชย์“ชี้เป็นประโยชน์กับนักลงทุน เพื่อรู้ถึงความเสี่ยง

“หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ”ได้รวบรวมข้อมูล บจ.ที่มีการออกใบสำคัญแสดงสิทธิ(วอร์แรนท์)ให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตั้งแต่ปีต้นปีถึง18 ส.ค.2564 ที่มีการขึ้นเครื่องหมาย(XRและXW)แล้วจำนวน 47 บริษัท เพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว จากทั้งปี2563 ที่ได้มีการออกแรนท์  27 บริษัท

       สำหรับบริษัทที่เพิ่มทุนเพื่อรองรับการใช้สิทธิจากการออกวอร์แรนท์มากสุด 5 อันดับแรกปีนี้ คือ 1. บมจ. สกาย ทาวเวอร์ (STOWER) เดิมชื่อ บมจ. เอื้อวิทยา (UWC)  จำนวน 13,162.52 ล้านหุ้น 2.บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์(BTS )มูลค่า 4,608.85 ล้านหุ้น 3.บมจ.บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป(BROOK)จำนวน 3,413.94 ล้านหุ้น 4. บมจ.บ้านปู (BANPU) จำนวน 3,383.05 ล้านบาท 5.บมจ.ณุศาศิริ(NUSA )จำนวน 1,910.27 ล้านหุ้น


             นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)เปิดเผยว่า ก.ล.ต.ได้ส่งหนังสือเวียนไปยังบริษัทจดทะเบียน(บจ.)ทุกแห่ง เรื่องการออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิ(วอร์แรนท์)ที่จะซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียน(บจ.) เนื่องจากที่ผ่านมาบจ.หลายแห่งได้ออกและเสนอขายวอร์แรนท์ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการระดมทุนและรองรับแผนการใช้ในอนาคต 

  รวมถึงเป็นการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน โดยบางกรณีเป็นการเสนอขายวอร์แรนท์ควบคู่กับการออกหลักทรัพย์ประเภทอื่นเพื่อกระตุ้นหรือเพิ่มความน่าสนใจในการจองซื้อหลักทรัพย์ของผู้ถือหุ้นเดิมหรือกลุ่มผู้ลงทุนรายใหม่หรือเป็นการเสนอขายให้แก่กรรมการและพนักงานเพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของบริษัทโดยรวมนั้น จากการออกและเสนอขาย warrant อาจส่งผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้นบริษัทจดทะเบียน(dilution effect) 


       ดังนั้นคณะกรรมการบริษัทจึงควรใช้ความระมัดระวังรอบคอบ (fiduciary duty)ในการพิจารณาออกและเสนอขายวอร์แรนท์ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบริษัทและผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของวอร์แรนท์ และเงื่อนไขการใช้สิทธิให้ชัดเจน เช่น ราคาเสนอขาย อายุและจำนวนวอร์แรนท์ ที่เสนอขาย ราคาใช้สิทธิและอัตราการใช้สิทธิ เหตุและเงื่อนไขการปรับสิทธิที่เป็นธรรม โดยเฉพาะข้อมูลผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) ส่วนแบ่งกำไรหรือสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้น (control dilution) เป็นต้น

อย่างไรก็ตามบจ.ควรจะต้องระบุวัตถุประสงค์และแผนการใช้เงินในอนาคตให้ชัดเจนและสอดคล้องกับอายุวอร์แรนท์และช่วงเวลาการใช้สิทธิซื้อหุ้น รวมทั้งมูลค่าของวอร์แรนท์ (ส่วนต่างระหว่างราคาตลาดของหุ้นสามัญและราคาใช้สิทธิแปลงสภาพต่อหุ้น) เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุนด้วย นอกจากนี้การออกและเสนอขายวอร์แรนท์ จะต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน

      นางสาวอาชินี ปัทมะสุคนธ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานก.ล.ต.กล่าวว่า  การออกหนังสือเวียนดังกล่าว เพื่อต้องการให้บจ.ใช้ความระมัดระวังการออกและเสนอขายวอร์แรนท์ และเปิดเผยข้อมูลให้ครบถ้วน ถึงวัตถุประสงค์ความต้องการใช้เงินและแผนการใช้เงินที่ชัดเจน ราคาเสนอขาย dilutionหากมีการออก มูลค่าวอร์แรนท์ที่แท้จริงมีมูลค่าเท่าไร เพื่อให้นักลงทุนทราบข้อมูล เพื่อใช้พิจารณาการลงทุน

 “การออกเสนอขายวอร์แรนท์นั้นเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการระดมทุนของบจ.แค่อยากให้บจ.ใช้ความระมัดระวังในการพิจารณาออก การเปิดเผยข้อมูล เงื่อนไขต่างๆ ผลกระทบราคาหุ้นถ้าออกมาแล้ว แผนการใช้เงินเมื่อไหร่ สอดคล้องอายุกับการออกวอร์แรนท์ฯลฯให้นักลงทุนทราบอย่างชัดเจน ซึ่งอยากให้บจ.เปิดเผยข้อมูลให้ครบตามที่ก.ล.ต.แจ้งในหนังสือเวียน”


นายธีรวุฒิ กานต์นิภากุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายลงทุน บริษัทไซแมท เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SIMAT กล่าวว่า กรณีที่ ก.ล.ต. ส่งหนังสือเวียนถึงบจ. เนื่องจากปีนี้อาจจะเป็นปีที่บจ.มีการเพิ่มทุนออกวอร์แรนท์กันจำนวนมาก  ซึ่งถือเป็นอีกช่องทางของบจ.ในการระดมทุนเพื่อใช้ในการขยายธุรกิจ

    สำหรับประเด็นดังกล่าวบริษัทไม่มีความกังวล เนื่องจากบริษัทมีการจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) มาให้คำปรึกษาดำเนินการในเรื่องการออกวอร์แรนท์อย่างชัดเจน รวมทั้ง FA จะเป็นคนคอยประสานงานกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ในกรณีที่หากตลาดหลักทรัพย์ฯ มีข้อสงสัยในประเด็นใดๆ FA จะเป็นคนชี้แจ้งข้อสงสัยดังกล่าวทั้งหมด

ส่วนประเด็นผลกระทบต่อราคาdilution effect นั้น ความเห็นส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องปกติ ซึ่งราคาหุ้นจะปรับตัวลง ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่ที่อัตราการใช้สิทธิ  ซึ่งบริษัทมีหน้าที่ต้องชี้แจ้งแผนการใช้เงินระดมทุนดังกล่าวให้ละเอียด และนักลงทุนจะเป็นผู้พิจารณาในการลงทุนเอง ซึ่งในส่วนของบริษัทก็มีแผนการใช้เงินระดมทุนครั้งนี้ชัดเจนจึงไม่กังวลในประเด็นดังกล่าว

 อย่างไรก็ตามวานนี้หุ้นของบริษัทก็มีการขึ้นเครื่องหมาย  XW ซึ่งราคาหุ้นก็ปรับตัวลงมาถือว่าเป็นเรื่องปกติ

นางสาววีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าการที่ก.ล.ต.ส่งหนังสือเวียนเรื่องการออกและเสนอขายวอร์แรนท์นั้น มองว่าเป็นผลดีแก่ผู้ถือหุ้นรายย่อย โดยเฉพาะนักลงทุนสายเก็งกำไร เพื่อแจ้งนักลงทุนให้ทราบถึงความเสี่ยงผลกระทบต่อราคาหุ้น (Dilution Effect)

นายวิจิตร อารยะพิศิษฐ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เมย์แบงก์ กิม​เอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า    คาดว่าประกาศของ ก.ล.ต.จะไม่ส่งผลต่อการออกวอร์แรนท์ในระยะถัดไป เนื่องจากบจ.มีการแจ้งรายละเอียด Dilution Effect ผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่แล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นการแจ้งผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับกำไรต่อหุ้น (EPS) 

ขณะที่ผลกระทบต่อราคาบนกระดานมองว่าเป็นไปได้ยากที่จะประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ชัดเจน เนื่องจากไม่สามารถคาดการณ์ราคาซื้อขายหุ้นของบริษัทในวันสุดท้ายก่อนที่วอร์แรนท์จะเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นได้

อย่างไรก็ดี ในกรณีปกติการออกวอร์แรนท์จะส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น 3 ช็อตด้วยกัน ได้แก่ ช็อตแรก วันที่ประกาศข่าว หากบริษัทแจกวอร์แรนท์อย่างเดียว โดยไม่เพิ่มทุนเพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนไปพร้อมกัน ราคาหุ้นจะปรับขึ้นตอบรับในเชิงลบไม่มาก อย่างกรณีของ บมจ.ไซแมท เทคโนโลยี (SIMAT)แต่หากออกวอร์แรนท์พร้อมกับเพิ่มทุนเสนอขายหุ้นสามัญด้วย อย่างกรณีของ BANPU ราคาหุ้นจะปรับลงตอบรับเชิงลบมากกว่า  ส่วนช็อตสอง วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XR หรือเครื่องหมาย XW ซึ่งจะกดดันราคาหุ้นทั้ง 2 กรณี

ขณะที่ช็อตสุดท้ายวันที่ลูกหุ้นจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯซึ่งปกตินักลงทุนมักซื้อไล่ราคาหุ้นบริษัทแม่ซึ่งเป็นหุ้นอ้างอิง เพื่อให้ราคาวอร์แรนท์สามารถซื้อขายในระดับที่สูง ส่งผลให้ภายหลังเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นราคาหุ้นแม่จึงปรับลดลง