ธุรกิจ 'คาร์โก้' สัญญาณดีต่อ หนุนส่งออก-ศก.ครึ่งปีหลัง

ธุรกิจ 'คาร์โก้' สัญญาณดีต่อ หนุนส่งออก-ศก.ครึ่งปีหลัง

  • 0 ตอบ
  • 89 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

dsmol19

  • *****
  • 2466
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ประเทศไทยยังมีเส้นเลือดสำคัญที่เป็นแรงกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง จาก“ภาคส่งออก” ที่ขณะนี้ยังมีความต้องการสูงต่อเนื่อง เพราะแม้ว่าทั่วโลกยังอยู่ในสถานการณ์จำเป็นต้องเว้นระยะห่าง หรืองดการเดินทาง แต่ยังคงต้องดำรงชีวิตด้วยสินค้าอุปโภคและบริโภค

ศรัณย เบ็ญจนิรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เผยถึงเรื่องนี้ว่า แนวโน้มปริมาณขนส่งสินค้าทางอากาศในช่วงครึ่งปีหลังนี้ กพท.ยังประเมินว่ามีสัญญาณดี โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากความต้องการในสินค้าเกษตรยังมีสูง และไทยยังเป็นฐานส่งออกสำคัญของสินค้าเกษตร ผักและผลไม้

“การส่งออกทางอากาศเรียกว่าได้รับผลกระทบน้อยมาก เมื่อเกิดการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 โดยพบว่าภาพรวมการขนส่งสินค้าทางอากาศลดลงเพียง 25% หากเทียบกับการขนส่งผู้โดยสารที่ลดลงไปถึง 90%และแนวโน้มการขนส่งสินค้าจะยังคงดีแบบนี้ไปได้เรื่อยๆ ประเมินจากสายการบินที่ทำธุรกิจขนส่งสินค้ายังมีคำขอทำการบินเข้ามาอย่างต่อเนื่อง”

อย่างไรก็ดี ตารางบินในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ยังพบว่าสายการบินขนส่งสินค้า อาทิ เค-ไมล์ แอร์ (K-Mile Air) ซึ่งเป็นสายการบินขนส่งสินค้าที่ฐานหลักอยู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ยังมีคำขอเพิ่มจำนวนอากาศยานขนส่งสินค้า 3 - 4 ลำ และยังมีเส้นทางขนส่งสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการขนส่งสินค้าประเทศปลายทางระยะใกล้อย่างฮ่องกง และสิงคโปร์

นอกจากนี้ ยังพบว่าบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ยังปรับกลยุทธ์มาทำการบินขนส่งสินค้า โดยใช้สิทธิทำการบินที่เคยขอเปิดบินเส้นทางระหว่างประเทศ และรับบริการขนส่งสินค้าให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่การบินไทยได้ลูกค้าเป็นกลุ่มขนส่งสินค้าด่วนพิเศษ สินค้านำเข้า วัคซีนโควิด และสินค้าประเภทผักและผลไม้ จึงถือว่าปัจจุบันธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศยังมีแนวโน้มดี และช่วงครึ่งปีหลังยังคงสดใสต่อเนื่อง


นนท์ กลินทะ ประธานเจ้าหน้าที่สายการพาณิชย์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า ตอนนี้การบินไทยอยู่ระหว่างผลักดันรายได้ขนส่งสินค้าเพื่อเข้ามาเสริมกับรายได้ขนส่งผู้โดยสารที่ยังไม่ฟื้นตัว โดยพบว่าปัจจุบันรายได้จากการขนส่งสินค้ายังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ความต้องการยังสูง ซึ่งในเดือน ก.ค. - ก.ย.นี้ การบินไทยขยายเที่ยวบินครอบคลุมเอเชีย ยุโรป และออสเตรเลีย รวม 22 เส้นทาง เพื่อตอบรับกับดีมานด์ดังกล่าว

“ช่วงที่ผ่านมาการบินไทยให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ รายได้นี้เข้ามาเป็นรายได้ส่วนหลักขององค์กร ซึ่งระหว่างเดือน เม.ย. 2563 – มิ.ย. 2564 คาร์โก้การบินไทยได้ให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ จำนวนกว่า 3,500 เที่ยวบิน หลักๆ จะเป็นการขนส่งสินค้าภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ประเภท ผัก ผลไม้ อาหารแช่แข็ง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อะไหล่รถยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาและวัคซีน”

จากการประเมินเทรนด์การขนส่งสินค้าทางอากาศยานในช่วงครึ่งปีหลังที่จะเกิดขึ้นนั้น ต้องยอมรับว่าเริ่มเห็นสัญญาณบวกตั้งแต่ครึ่งปีแรก ว่าการขนส่งสินค้าจะเป็นพระเอกสร้างรายได้ให้กับธุรกิจโลจิสติกส์อย่างเห็นได้ชัด เพราะข้อมูลจากกองเศรษฐกิจการบิน ฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมการบิน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.)

โดยพบว่าปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศในครึ่งแรกของปี 2564 (ม.ค. - มิ.ย. 2564) มีปริมาณสินค้าทั้งหมด 567,743 ตัน เพิ่มขึ้นราว 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปริมาณดังกล่าวแบ่งออกเป็น การขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศมีจำนวน 556,138 ตัน เพิ่มขึ้นราว 14% จากช่วงดียกวันของปีก่อน และการขนส่งสินค้าทางอากาศภายในประเทศ มีจำนวน 11,605 ตัน ลดลงราว 38% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ทั้งนี้ ไม่เพียงการขนส่งสินค้าทางอากาศที่ขยายตัวต่อเนื่อง ยังพบว่าการขนส่งสินค้าทางเรือยังเติบโตสอดคล้องกัน โดยข้อมูลสถิติขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ในช่วงครึ่งปีแรก (ม.ค. - มิ.ย. 2564) มีสินค้าขาเข้า รวมประมาณ 27 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับจำนวน 24 ล้านตันในช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีสินค้าขาออก รวม 29 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 7.2% เมื่อเทียบกับจำนวน 27 ล้านตันในช่วงเดียวกันของปีก่อน เช่นเดียวกับปริมาณยอดรวมตู้ ที.อี.ยู ยังมีสูงถึง 4.9 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มขึ้นราว 10% เมื่อเทียบกับ 4.5 ล้าน ที.อี.ยู ในช่วงเดียวกันของปีก่อน