พลิกคู่มือญี่ปุ่น รักษาโควิดที่บ้านอย่างไรให้ปลอดภัย

พลิกคู่มือญี่ปุ่น รักษาโควิดที่บ้านอย่างไรให้ปลอดภัย

  • 0 ตอบ
  • 68 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Chigaru

  • *****
  • 2319
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ทางการกรุงโตเกียวออกคู่มือการรักษาตัวที่บ้านสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อในครอบครัว หลังจากรัฐบาลมีนโยบายให้ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่รักษาตัวที่บ้าน

นายกฯ โยชิฮิเดะ ซูงะ ได้ประกาศนโยบายเมื่อต้นเดือนนี้ ให้ผู้ติดเชื้อโควิดรักษาตัวที่บ้านเป็นหลัก เพื่อสงวนเตียงในโรงพยาบาลให้สำหรับผู้ที่อาการหนักเท่านั้น ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่รักษาตัวที่บ้านในขณะนี้มีมากกว่า 45,000 คน เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจากสัปดาห์ก่อนหน้า

การรักษาตัวที่บ้านก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อกันในครอบครัว สำนักงานสาธาณสุขกรุงโตเกียวจึงได้ออกคู่มือการรักษาตัวที่บ้านสำหรับผู้ติดเชื้อและผู้ที่อยู่ร่วมในบ้านเดียวกัน



คู่มือนี้ระบุหลักปฏิบัติ 8 ประการเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ได้แก่

1.  แยกห้องของผู้ป่วยและคนอื่น หากแยกห้องไม่ได้ให้หาม่านกั้นพื้นที่ของผู้ป่วย ผู้ป่วยควรอยู่ในพื้นที่ของตัวเองตลอดเวลา
กินอาหารในห้องของตัวเอง แยกสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัว ไม่ควรออกนอกห้องถ้าไม่จำเป็น
2.  ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยควรเป็นคนๆ เดียว เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
3.  ทั้งผู้ดูแลและผู้ป่วยต้องใส่หน้ากากทั้งคู่ หากทำได้ควรสวมถุงมือและชุดป้องกันแบบใช้ครั้งเดียว ถ้าไม่มีอาจประยุต์ใช้ถุงขยะขนาดใหญ่ใช้สวมเป็นชุดป้องกัน



4.  ต้องล้างมือสม่ำเสมอ ใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ
5.  ระบายอากาศทุกชั่วโมง โดยเปิดหน้า 5-10 นาที และอาจใช้พัดลมระบายอากาศหรือเครื่องปรับอากาศช่วยได้
6.  ฆ่าเชื้อพื้นที่สัมผัส เช่น ลูกบิดประตู สวิตซ์ไฟ อ่างล้างหน้า รีโมทคอนโทรล สุขา เป็นประจำ โดยใช้ยาห๋าเชื้อ หรือน้ำยาซักผ้าขาวผสมน้ำอัตราส่วน 0.05%
7.  เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว และเครื่องนอนของผู้ป่วยให้แช่ในน้ำร้อน 80 องศา 10 นาที เพื่อฆ่าเชื้อ ก่อนซักตามปกติ
8.  แยกขยะของผู้ป่วยโดยใส่ในถุงพลาสติก 2 ชั้นปิดแน่น และฆ่าเชื้อก่อนนำไปทิ้ง



สำนักงานสาธาณสุขกรุงโตเกียวระบุว่า คู่มือนี้เป็นแนวทางสำหรับผู้ติดเชื้อที่ต้องรักษาตัวที่บ้าน เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้โรงพยาบาลไม่เพียงพอที่จะรองรับผู้ป่วยทุกคน คำแนะนำตามคู่มือใช้ได้กับทั้งผู้ติดเชื้อ และผู้ที่อยู่ในะรห่าวงกักตัวรอดูอาการ เพื่อป้องกันไม่ให้สมาชิกในครอบครัวติดเชื้อไปด้วย.