โครงสร้างศก.-วิกฤติว่างงาน จากการระบาดของโควิด-19

โครงสร้างศก.-วิกฤติว่างงาน จากการระบาดของโควิด-19

  • 0 ตอบ
  • 71 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

deam205

  • *****
  • 2773
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ความคาดหวังของการฟื้นตัวเศรษฐกิจต้องชะลอตัวออกไป แล้วอะไรเป็นตัวบ่งชี้ว่าการชะลอตัว ก่อนการกลับมาของการเกิดระบาดของโควิด-19 นักเศรษฐศาสตร์กล่าวถึง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจแบบ K-shaped Economy ต่อมาก็กล่าวถึง Post-Pandemic Economic Boom หรือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจแบบเฟี่องฟู ซึ่งหากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะเป็นไปตามที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ จะทำให้เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นอีกหนึ่งแห่งที่น่าสนใจของนักลงทุนทั้งในชาติและต่างชาติ 

อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบัน จากการสถานการณ์ต่างๆ ทั้งด้านการเริ่มของการแพร่ระบาดของระลอกใหม่ของไวรัสที่กลายพันธุ์ทั่วโลก และร่วมถึงด้านการบริหารจัดการรับมือการแพร่ระบาดของรัฐบาล ซึ่งสามารถทำให้เราตั้งคำถามได้ว่า เศรษฐกิจของประเทศเรานั้น จะเป็นอย่างไรหลังสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย จะเป็นกรณีของ Economic DOOM before Economic BOOM หรือ เศรษฐกิจของประเทศอาจจะทรุดร่วงก่อนที่เศรษฐกิจจะรุ่งเรือง หากภาครัฐไม่มีแผนรองรับวิกฤติต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ เช่น วิกฤติปัญหาการว่างงาน ปัญหาการว่างงานสะท้อนให้เห็นทั้งปัญหาของโครงสร้างแรงงานและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม 

ก่อนที่จะกล่าวถึงปัญหาวิกฤติที่มีแน้วโนมที่จะขึ้นในหลายด้านหลังสถานการณ์คลี่คลาย ประเด็นที่สำคัญคือภาพลักษณ์ความเชื่อมั่นของรัฐบาลที่ไม่ใช่เพียงการรับมือสถานการณ์โควิด-19 แต่เรื่องวิกฤติการสื่อสารชี้แจ้งข้อมูลข่าวสารต่างๆจากภาครัฐ ซึ่งสิ่งเหล่าจะทำให้สถานการณ์ยิ่งดูลบกว่าสิ่งที่เป็น ดูเหมือนว่าสนามนี้ภาครัฐเข้าขั้นวิกฤติจึงทำให้เกิดผลกระทบต่อไปอีกหลายด้าน 

สนามต่อมาคือนโยบายแนวทางการรับสถานการณ์โควิด-19 หากพิจารณานโยบายเบื้องต้นนโยบายหรือมาตรการต่างๆก็คล้ายกับมาตรการของประเทศอื่นๆแต่วิกฤติที่มีแนวโม้มที่จะเกิดขึ้นคือนโยบายที่จะรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจคือ วิกฤติปัญหาการว่างงาน ปัญหาการว่างงานนั้นจะส่งผลกระทบต่อการรับมือการแก้ปัญหาหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การเกิดการว่างงานนั้นมาจากหลายอุตสหกรรม อุตสหกรรมแรกคืออุตสหกรรมการท่องเที่ยว ประเด็นคืออุตสหกรรมกรรมท่องเที่ยวจะใช้ระยะเวลานานเท่าไรกว่าจะกลับมาอยู่ในระดับเดิมที่สามารถรองรับแรงงานได้ เพราะการไม่สามารถกลับรองรับแรงงานเดิมกลับสู่อุตสหกรรมได้ก็จะส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายในประเทศ และยังส่งผลกระทบต่อภาคอุตสหกรรมอื่นและภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ และยังรวมถึงการว่างงานจาก

อุตสหกรรมอื่น ถ้าหากสถานการณ์ดีขึ้นหลายภาคอุตสหกรรมก็สามารถกลับมารองรับแรงงานได้ แต่อีกประเด็นที่ต้องทอดบทเรียนการเรียนรู้การคือโครงสร้างแรงงานของประเทศ ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างแรงงานของประเทศที่ยังไม่สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนโครงสารทางเศรษฐกิจและความสามารถในการเคลื่อนย้ายแรงงานทั้งในภาคผลิตเดียวกัน(Intra-sectoral mobility) และ ระหว่างภาคผลิตเดียวกัน (Inter-sectoral mobility) ปัญหาความสามารถการเคลื่อนย้ายแรงงานถือได้ว่ามีความสำคัญต่อการขับเคลือนเศรษฐกิจโดยเฉพาะการเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ แต่ที่สำคัญมากกว่าคือแรงงานที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายเพื่อสอดคล้องกับการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี

นอกเหนือจากการสื่อสารให้ชัดเจนต่อนโยบายต่างๆมาตรการต่างๆเพื่อสร้างการรับรู้และเข้าใจที่ภาครัฐต้องเร่งดำเนินการ แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือนโยบายที่ชัดเจนและเร่งด่วที่จะรองรับการว่างงานที่เกิดขึ้นจากผลกระทบทางเศรษฐกิจของโควิด-19 และการสร้างศักยภาพการเคลื่อนย้ายแรงงาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อการบริหารจัดการประเทศให้กลับคืนมา ภาครัฐจะมีนโยบายร่วมมืออย่างไรกับภาคเอกชนเพื่อสร้างโอกาสแก่แรงงานทั้งในและนอกระบบเพื่อสอดคล้องและรองรับต่อการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ

เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อการบริหารจัดการประเทศให้กลับคืนมา