'ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์' สำหรับเด็ก ผู้ป่วยกลืนยาก ตำรับแรกในไทย

'ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์' สำหรับเด็ก ผู้ป่วยกลืนยาก ตำรับแรกในไทย

  • 0 ตอบ
  • 77 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Shopd2

  • *****
  • 2300
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ปัจจุบัน พบว่า ประเทศไทยมีเด็กติดเชื้อโควิด-19 คิดเป็น 12% การกระจายรวดเร็วของสายพันธุ์เดลต้า ทำให้เด็กที่มีการติดเชื้อลงปอดจาก 50% เพิ่มขึ้นเป็น 80-90% โดยเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5-7 ปี ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถกลืนยาเม็ดได้ แต่เดิมจึงใช้วิธีบดยาเม็ดฟาวิพิราเวียร์เพื่อให้ง่ายต่อการทาน รวมไปถึงกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยอาการหนัก ใส่ท่อ และมีปัญหาการกลืน

ล่าสุด งานเภสัชกรรม รพ.จุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ คณะเภสัชกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ บริษัท เมดิกา อินโนวา จำกัด ได้ร่วมกันพัฒนา พัฒนาตำรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ สำหรับผลิตใน รพ. จุฬาภรณ์ ต้านเชื้อไวรัสสำหรับเด็ก และผู้ป่วยที่มีความลำบากในการกลืนยาเม็ด ตำรับแรกในประเทศไทย พร้อมเปิดลงทะเบียนขอรับยาผ่านเว็บไซต์ https://favipiravir.cra.ac.th ตั้งแต่วันที่ 6 ส.ค. 64 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

นนี้ (5 ก.ค.64) “ศ.นพ.นิธิ มหานนท์” เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวในงานชี้แจงข้อมูลการพัฒนาตำรับ ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ สำหรับผลิตใน รพ. จุฬาภรณ์ ต้านเชื้อไวรัสสำหรับเด็ก และผู้ป่วยที่มีความลำบากในการกลืนยาเม็ด ตำรับแรกในประเทศไทย โดยระบุว่า การระบาดของโรคโควิด-19 ค่อนข้างมากขึ้นอย่างชัดเจน ผู้ติดเชื้อเป็นเด็กค่อนข้างสูง ในขณะที่วัคซีนป้องกันการติดเชื้อในเด็กยังไม่ได้รับการรับรองเป็นที่ชัดเจนและกว้างขวาง


ขณะนี้จึงทำให้เด็กได้รับเชื้อค่อนข้างเยอะ เมื่อมีการได้รับเชื้อ เด็กจะไปแพร่เชื้อให้ผู้ใหญ่ในบ้าน และสิ่งหนึ่งที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เป็นห่วง คือ ถึงแม้ว่าวัคซีน เริ่มได้ในปริมาณที่เพิ่มขึ้น กระจายการฉีดไปแม้ค่อนข้างช้าแต่ก็ระดับที่ดีพอสมควรเมื่อเทียบกับหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการติดเชื้อไปแบบนี้อีกสักระยะ ดังนั้น สิ่งที่ป้องกันคนติดเชื้อไม่ให้มีอาการหนักจนต้องเข้า รพ. หรือ ใส่เครื่องช่วยหายใจ เสียชีวิต สิ่งหนึ่งที่ทำได้ คือ การใช้ยา

“ยาที่มีแนวโน้มจะใช้ได้ มีไม่กี่ตัวในโลกนี้ ยาฟาวิพิราเวียร์ มีการรับรองและพิสูจน์ในการรักษาไวรัสไข้หวัดใหญ่ ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งใช้มานาน รวมถึงตอนที่มีการระบาดของอิโบล่า ขณะที่ โควิด-19 ก็มีรายงานเบื้องต้นว่าหากได้ยาเร็วภายใน 4 วันหลังเริ่มมีอาการจะสามารถลดอาการหนัก ที่เข้า รพ. และลดการเสียชีวิตได้" 


ร่วมมือพัฒนายาน้ำ เพื่อเด็ก ผู้ป่วยกลืนยาก
"เป็นที่มาที่ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทรงเป็นห่วงและติดตามสถานการณ์มาตลอด และทรงเป็นห่วงประชาชน โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ เมื่อป่วยจะใช้ยาก็ลำบาก จึงมีการพูดคุยหารือกันระหว่าง ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท เมดิกา อินโนวา จำกัด เพื่อผลิตยาในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ซึ่งยาตัวนี้ทางเภสัชฯ สามารถทำเป็นยาน้ำได้ และเหมาะกับเด็กที่ไม่สามารถกลืนยาเม็ด แต่การจะทำยาตัวนี้ให้ได้ผล เราได้คำนึงถึงประสิทธิภาพ ความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยการทำไปทั้งหมดก็เพื่อช่วยเด็ก หรือผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถกลืนได้ ก็จะได้รับยาอย่างรวดเร็ว"


สำหรับความเป็นไปได้ที่ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์จะร่วมแจกในจุดตรวจต่างๆ ศ.นพ.นิธิ กล่าวว่า หากขอมาก็ไปได้ทันที แต่ข้อจำกัด คือ ต้องมีแพทย์สั่ง มีแพทย์ติดตาม เพราะยามีผลข้างเคียง และยามีอายุ 30 วัน ตากแดดร้อนๆ ไม่ไหว และต้องต้องดูอุณหภูมิตอนแจกด้วย ขั้นตอนต่อไป หากใครจะนำตำรับยาไปผลิตใน รพ. อื่น และเราไปควบคุมมาตรฐานด้วยก็ยินดี เพราะมีความเข้าใจตรงกันว่า ยาต้องได้เร็ว และกว้างขวาง  

ป่วยโควิด ใช้ฟาวิพิราเวียร์ 70 มก./กก./วัน
พญ.ศรัยอร ธงอินเนตร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กล่าวว่า ทั้งนี้ การใช้ยาต้านไวรัส เป็นหัวใจสำคัญในการลดการแพร่กระจายและลดความรุนแรงของโลก ที่ผ่านมา ยาฟาวิพิราเวียร์ มีการเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2014 ในญี่ปุ่น เพื่อรักษาไข้หวัดใหญ่ และ WHO  ประกาศในรายชื่อยารักษาโรคอีโบล่า รวมถึงในปี 2020 จนถึงปัจจุบัน มีการใช้ในญี่ปุ่น รัสเซีย ซาอุดิอาราเบีย อินเดีย และไทย


โดยในการรักษาโควิด-19 ต้องใช้ขนาดยาในวันแรกปริมาณมากถึง 70 มก./กก./วัน และ วันต่อมา 35 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานวันละ 2 ครั้ง ประมาณ 5-10 วัน ดังนั้น หากเด็กน้ำหนัก 10 กิโลกรัม ในวันแรก จะต้องทาน 1 เม็ด กับอีก 3 ส่วน 4 เม็ด การใช้ยาน้ำ จึงสามารถป้อนเด็กให้ง่ายขึ้น โดยวันแรก ป้อน 27 CC ต่อครั้ง วันละ 2 ครั้ง วันต่อมา 12 CC วันละ 2 ครั้ง


เด็กไทยป่วยโควิด 12% 
“พญ.ครองขวัญ เนียมสอน กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินหายใจในเด็ก โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากการระบาดที่ผ่านมา มีผู้ป่วยเด็กติดเชื้อทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเดือน ก.ค. ยอดเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า เมื่อเทียบกับ 2-3 เดือนก่อน พบว่า สายพันธุ์กลายพันธุ์ทำให้เด็กมีอัตราปอดติดเชื้อเพิ่มขึ้นจาก 50% เป็น 80-90% แต่เด็กมีอาการค่อนข้างเบา สามารถคงระดับออกซิเจนในเลือดที่ระดับ 95-96 % เป็นส่วนใหญ่


ตอนนี้ประเทศไทยสถิติเด็กป่วยด้วยโควิด-19 ราว 12% กว่าๆ ขณะที่ ใน รพ.จุฬาภรณ์ เป็นผู้ป่วยเด็กเฉลี่ยคร่าว 8-9% จากคนไข้ทั้งหมด มีตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 15 ปี จำนวนนี้ อัตราส่วนต้องใช้ยาน้ำจริง อาจจะมี 1 ใน 3 และ ยาน้ำเหล่านี้อาจจะต้องใช้ในคนไข้วิกฤติ คนไข้ไอซียู ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ กินยาทางปากไม่ได้ และคนไข้ที่มีปัญหาการกลืนร่วมด้วย

เทียบข้อดีข้อเสีย ยาบดละลายน้ำ และ ยาน้ำ
“ยาทุกตัวมีข้อดีและข้อเสีย หากเป็น “ยาเม็ดบดละลายน้ำแบบเดิม” อาจจะเป็นวิธีที่พ่อแม่เคยใช้มาก่อนในยาตัวอื่นๆ ข้อดี คือ ทำให้สามารถบดเจือจางในน้ำในปริมาณที่เราต้องการ บดละลายน้ำในปริมาณน้อยได้ แต่มีตะกอนยาตกค้าง อาจได้รับปริมาณยาไม่คงที่ และหากบดไม่ละเอียดทำให้มีรสชาติขมติดลิ้นหลังกลืนยา ทำให้เด็กอาจปฏิเสธในการกินยาครั้งต่อไป”

ขณะที่ “ยาน้ำ” ข้อดีคือพร้อมใช้ ปริมาณยาคงที่ เด็กได้รับการดูดซึมยาได้อย่างดี อย่างไรก็ตาม ปริมาณยาที่ได้รับจะมากกว่ายาน้ำทั่วไป เช่น เด็ก 10 กิโลกรัม ปกติป้อนยา 1 ช้อน ประมาณ 5 ซีซี แต่สำหรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ในวันแรก เด็กจะต้องได้รับยาค่อนข้างเยอะ 27 ซีซี และวันต่อมา ลดลงมาเหลือวันละ 12 ซีซี


ทั้งนี้ หลังจากมีการพัฒนาสูตรยา มีการทดลองใช้จริงในผู้ป่วยเด็กใน รพ.จุฬาภรณ์ และติดตามอย่างใกล้ชิด เปรียบเทียบกับยาเม็ดบดละลายน้ำ โดยใช้ยาในเด็กอายุ 8 เดือน – 5 ปี จำนวน 12 ราย ติดตามการรักษาพบว่าการตอบสนองการรักษาเป็นไปได้ดี และไม่พบผลข้างเคียงร้ายแรง



ลงทะเบียนรับยาฟรีได้ ผ่านเว็บไซต์
หากแพทย์ประสงค์ใช้ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ ตำรับ รพ.จุฬาภรณ์ ในกรณีที่ ในผู้ติดเชื้อโควิด 19 สำหรับกลุ่มผู้ป่วยเด็ก ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่ให้อาหารทางสายที่มีผลการตรวจ RT- PCR ยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ที่อยู่ในระบบการดูแลของโรงพยาบาล หรือเข้าสู่ระบบการดูแลที่บ้าน Home Isolation ที่มีแพทย์ติดตามหรือในผู้ที่แพทย์เห็นสมควรจากประวัติสัมผัสและผลตรวจ Rapid Antigen Test เป็นบวก


โรงพยาบาลหรือแพทย์ สามารถส่งข้อมูลของผู้ป่วยเพื่อขอรับยาได้ทางเว็บไซต์ favipiravir.cra.ac.th หรือโทร 06-4586-2470 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันที่ 6 ส.ค. 64 เป็นต้นไป โดยจะได้รับยาภายหลังจากการลงทะเบียน 1 วัน จัดยาไม่เกินเวลา 20.00 น.โดยระยะแรกสามารถผลิตได้สำหรับ 100 รายต่อสัปดาห์ เฉลี่ย 20 รายต่อวัน