สรรพากรเล็งรื้อโครงสร้างภาษีลดเหลื่อมล้ำ

สรรพากรเล็งรื้อโครงสร้างภาษีลดเหลื่อมล้ำ

  • 0 ตอบ
  • 77 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Thetaiso

  • *****
  • 2964
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




"สรรพากร"เล็งแก้โครงสร้างภาษีใหม่ ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำประโยชน์คนรวย-เอื้อคนชั้นกลาง เล็งปรับปรุงค่าลดหย่อนภาษีและการลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ขณะที่"สอท."เปิดผลสำรวจโควิดหนัก แรงงานขาด ฉุดกำลังผลิตส่งออกวูบ จี้รัฐเร่งฉีดวัคซีนแรงงาน ม.33

เมื่อวันที่ 2 ส.ค.64 นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า แนวทางการปรับโครงสร้างภาษีที่เกี่ยวข้องกับกรมสรรพากรคือการปรับปรุงค่าลดหย่อนภาษีและการลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยหลักการคือจะต้องดำเนินการเพื่อเอื้อให้คนชั้นกลางได้ผลประโยชน์มากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากค่าลดหย่อนทางภาษีเงินได้ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่คนที่ได้ประโยชน์คือ คนที่มีรายได้สูง ส่วนคนชั้นกลางที่อยู่ในฐานภาษีได้รับประโยชน์ที่น้อยกว่า ส่วนการปรับปรุงอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น จะต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเห็นว่าหากจะปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะต้องลดให้กับคนชั้นกลางลงมาที่อยู่ในฐานภาษี อย่างไรก็ตามการปรับปรุงอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากต้องแก้ไขประมวลกฎหมายของกรมฯ และมีความซับซ้อน เนื่องจากเป็นอัตราแบบขั้นบันใด ( Progressive Rate)

"ปัจจุบันค่าลดหย่อนทางภาษีที่กรมฯให้กับผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีมากเกือบ 20 รายการ คิดเป็นค่าลดหย่อนทางภาษีรวมกันทุกรายการมากกว่า 2 ล้านบาท เช่น ค่าลดหหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 6 หมื่นบาท, ค่าลดหย่อนบุตร 3 หมื่นบาท, ค่าใช้จ่ายในการซื้อเบี้ยประกันชีวิตที่มีกรมธรรม์อายุ 10 ปีขึ้นไป หักลดหย่อนตามจริงแต่ไม่เกิน 1 แสนบาท นอกจากนี้ยังมีการลดหย่อนค่าใช้จ่ายในการซื้อหน่วยลงทุน RMF 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 5 แสนบาท และเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่เกิน 15 % ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 5 แสนบาท เป็นต้น"

สำหรับบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งได้ปรับปรุงอัตราและขั้นบันใดของเงินได้ใหม่ และเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2560 ได้กำหนด 8 ขั้นบันใดของเงินได้ เริ่มตั้งแต่เงินได้ที่ไม่เกิน 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี, เงินได้ที่มากกว่า 150,000 แต่ไม่เกิน 3 แสนบาท เสียในอัตรา 5 % และขั้นบันใดสุดท้าย หรืออัตราสูงสุด คือ รายได้ที่มากกว่า 5 ล้านบาทขึ้นไป จ่ายในอัตรา 35%
แหล่งข่าว กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา รายได้ของรัฐบาลไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้รัฐบาลต้องจัดทำงบประมาณขาดดุลมาโดยตลอด ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงโครงสร้างภาษีของประเทศ โดยการลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลลงมา แต่ยังไม่สามารถปรับเพิ่มภาษีโดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจยังไม่เหมาะสม ยิ่งทำให้รายได้ของรัฐบาลลดต่ำลง

ทั้งนี้ ใน 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2564 ณ เดือนพ.ค.นี้ รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1.441 ล้านล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 1.98 แสนล้านบาท หรือ 12.1% ขณะที่ กรมสรรพากร ซึ่งเป็นกรมฯที่ทำรายได้มากที่สุดของรัฐบาล ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2564 จัดเก็บได้ 1.059 ล้านล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 1.38 แสนล้านบาท หรือต่ำกว่าเป้าหมาย 11.5 % ส่วนในปีงบประมาณ 2563 รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ 2.394 ล้านล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 3.36 แสนล้านบาท หรือ 12.3%

วันเดียวกัน นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 8 ในเดือนกรกฎาคม 2564 ภายใต้หัวข้อ "การจัดการปัญหาแรงงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19" พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่มองว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อแรงงานในภาคอุตสาหกรรมทั้งปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งปัญหาขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานเข้มข้น จนส่งผลทำให้กำลังการผลิตลดลงและกระทบต่อการส่งออกของไทย ซึ่งถือเป็นเครื่องยนต์หลักที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 นี้ จึงเสนอให้ภาครัฐเร่งฉีดวัคซีนให้แก่แรงงาน ม.33 เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดโควิด-19 ในสถานประกอบการ รวมทั้งรักษาศักยภาพในการผลิตและการส่งออกของประเทศ

ทั้งนี้ จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 166 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 75 สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพบว่า อัตราการจ้างงานในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดนั้น ส่วนใหญ่ภาคอุตสาหกรรมยังสามารถคงอัตราการจ้างงานเท่าเดิม คิดเป็นร้อยละ 53.6 มีการจ้างงานลดลง 10 - 20% คิดเป็นร้อยละ 31.3 มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 10 - 20% คิดเป็นร้อยละ 10.3 และมีการจ้างงานลดลงมากว่า 50% คิดเป็นร้อยละ 4.8

โดยในส่วนของผลกระทบจากปัญหาขาดแคลนแรงงานที่เกิดขึ้นในขณะนี้พบว่า โรงงานอุตสาหกรรมบางส่วนได้รับผลกระทบทำให้ต้องลดกำลังการผลิตลง น้อยกว่า 30% คิดเป็นร้อยละ 45.2 โรงงานที่ไม่ได้รับผลกระทบ คิดเป็นร้อยละ 26.5 โรงงานที่กำลังการผลิตลดลง 30 - 50% คิดเป็นร้อยละ 20.5 และโรงงานที่กำลังการผลิตลดลงมากกว่า 50% คิดเป็นร้อยละ 7.8 เมื่อถามถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม พบว่า 3 อันดับแรก ได้แก่ แรงงานบางส่วนต้องเข้าสู่กระบวนการรักษาโรค หรือกักตัว รวมทั้ง การปิดโรงงานชั่วคราวตามข้อกำหนด คิดเป็นร้อยละ 51.8 รองลงมา สถานประกอบการไม่สามารถหาแรงงานสัญชาติไทยได้เพียงพอต่อความต้องการ คิดเป็นร้อยละ 49.4 และมาตรการควบคุมการเดินทางเข้าออกพื้นที่ของแรงงานข้ามจังหวัด คิดเป็นร้อยละ 41.6

สำหรับมาตรการที่ภาครัฐควรนำมาดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม พบว่า 3 อันดับแรก ได้แก่ การสนับสนุนเงินอุดหนุนในการจ้างแรงงานไทย และขยายโครงการจ้างงานเด็กจบใหม่ คิดเป็นร้อยละ 50.0 รองลงมา เป็นการส่งเสริมการใช้เครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรมทดแทนการใช้แรงงาน คิดเป็นร้อยละ 48.8 และการอนุญาตให้นำเข้าแรงงานต่างด้าวภายใต้ MOU เฉพาะแรงงานที่ได้รับการฉีดวัคซีน 2 เข็มแล้ว มีการทำประกันสุขภาพ และต้องผ่านการกักตัว 14 วัน เข้ามาทำงาน คิดเป็นร้อยละ 45.8

ส่วนกรณีที่ภาครัฐจะมีการเปิดให้มีการนำเข้าแรงงานต่างด้าวตาม MOU ควรมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องใดพบว่า 3 อันดับแรกได้แก่ การเตรียมความพร้อมระบบคัดกรอง ติดตาม และประเมินสถานประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าว คิดเป็นร้อยละ 69.9 รองลงมา การจัดตั้งศูนย์ One Stop Service สำหรับนายจ้างที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว คิดเป็นร้อยละ 66.9 และการปรับลดขั้นตอน เอกสารที่ไม่จำเป็น และปรับมาดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็นร้อยละ 65.1

ทั้งนี้ FTI Poll ยังได้เจาะลึกถึงมาตรการช่วยเหลือและเยียวยาแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานประกอบการอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดโควิด-19 พบว่า 3 อันดับแรก ได้แก่ การเร่งจัดหาวัคซีนและเร่งฉีดให้กับแรงงาน ม.33 คิดเป็นร้อยละ 92.8 รองลงมา การสนับสนุนด้านการรักษาพยาบาลแรงงานที่ติดเชื้อ และสนับสนุนยา อาหาร และเวชภัณฑ์ให้แก่แรงงานที่ติดเชื้อในการรักษาตัวที่บ้าน (Home isolation) คิดเป็นร้อยละ 69.9 และการลดเงินสมทบประกันสังคม เหลือร้อยละ 1 ถึงสิ้นปี 2564 คิดเป็นร้อยละ 66.9

นอกจากนี้ ผู้บริหาร ส.อ.ท. ยังมองว่ามาตรการที่ภาคเอกชนมีความพร้อมและสามารถที่จะดำเนินการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ในสถานประกอบการได้ พบว่า 3 อันดับแรก ได้แก่ การมีระบบคัดกรองแรงงานก่อนเข้าโรงงาน และการเฝ้าระวังผู้ปฏิบัติงานที่เป็นกลุ่มเสี่ยงตามมาตรการ Bubble & Seal คิดเป็นร้อยละ 83.1 รองลงมา การจัดหาวัคซีนทางเลือกให้แก่แรงงานในสถานประกอบการ คิดเป็นร้อยละ 68.1 และการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด (D-M-H-T-T-A) คิดเป็นร้อยละ 65.7