ส.อ.ท.ย้ำทุกโรงงานอุตสาหกรรมเข้มมาตรการ Bubble and seal สกัดโควิด

ส.อ.ท.ย้ำทุกโรงงานอุตสาหกรรมเข้มมาตรการ Bubble and seal สกัดโควิด

  • 0 ตอบ
  • 67 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Hanako5

  • *****
  • 1982
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า วันที่ 29 กรกฎาคมนี้ คณะทำงาน ส.อ.ท. เตรียมหารือร่วมกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งทาง ส.อ.ท. จะสอบถามความคืบหน้าการจัดสรรวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาดให้กับภาคอุตสาหกรรมล่าสุดเป็นอย่างไร รวมทั้งจะแจ้งมาตรการที่ ส.อ.ท. กำลังดำเนินการในการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่มีความเข้มข้นมากขึ้น เนื่องจากขณะนี้ตัวเลขการติดเชื้อในโรงงานขนาดใหญ่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ต้องเร่งกันช่วยกันป้องกัน ไม่เช่นนั้นจะกระทบเป็นวงกว้าง ทั้งกระทบการแพร่ระบาดในชุมชน หากต้องปิดโรงงาน จะกระทบต่อกระบวนการผลิตสินค้า ซึ่งจะกระทบทั้งสินค้าในภาคการส่งออก และสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ในประเทศ เป็นเรื่องใหญ่มาก หรือถ้ารัฐสั่งปิดเอง ต้องจ่ายเงินเยียวยาอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ส.อ.ท. ได้เร่งผลักดันให้ทุกโรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมดำเนินการตามมาตรการสาธารณสุข ประเมินตนเอง และโรงงาน ผ่านไทย สต็อป เซอร์วิส พลัส และไทย เซฟ ไทย รวมทั้งล่าสุดได้ยกระดับให้เข้มข้นขึ้น ให้โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทุกแห่งดำเนินการมาตรการ บับเบิล แอนด์ ซีล (bubble and seal) ซึ่งเป็นการควบคุมคนในโรงงาน ให้มีกิจกรรมปะปนกันเอง และกับคนนอกโรงงานให้น้อยที่สุด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดการติดเชื้อ โดยแรงงานที่อาศัยนอกโรงงานต้องควบคุมการเดินทางระหว่างที่ทำงานกับที่พักอาศัย ไม่แวะทำธุระระหว่างเดินทาง และเมื่อกลับถึงที่พัก ต้องอยู่ภายในที่พักอาศัยเท่านั้น ขณะที่แรงงานที่พักอาศัยในโรงงาน ต้องมีการควบคุมไม่ให้แรงงานออกนอกพื้นที่แรงงาน

นอกจากนี้ ได้แจ้งให้โรงงานขนาดใหญ่เตรียมพร้อมแผนรับมือหากมีการติดเชื้อในโรงงานจำนวนมาก โดยให้จัดโรงพยาบาลสนาม และพื้นที่พักคอยสำหรับผู้ติดเชื้อ จัดเตรียมสถานที่พักในโรงงานหรือในชุมชน เป็นที่พักสำหรับผู้สัมผัสผู้ป่วย แต่ยังตรวจไม่พบเชื้อหรือยังไม่มีอาการ จัดเตรียมระบบเดินทางรับ-ส่ง คนงาน จากที่พักถึงโรงงานหรือสถานประกอบการ ป้องกันการแวะระหว่างทาง จัดหาร้านจำหน่ายอาหาร เครื่องอุปโภค บริโภค ราคาย่อมเยา ในบริเวณโรงงานหรือที่พัก ลดการสัมผัสระหว่างคนงานและคนในชุมชน และให้จัดหาสถานพยาบาลที่พร้อมให้บริการตรวจหาเชื้อ ด้วยพีซีอาร์ (PCR) และแอนทิเจน เทสต์ คิต (Antigen Test Kit)

ส่วนการบริหารจัดการคนทำงานร่วมกันในพื้นที่โรงงาน ให้จัดพนักงานแยกเป็นกลุ่มย่อย หรือแยกเป็นบับเบิล แต่ละกลุ่มสามารถทำงานร่วมกันโดยป้องกันตนเอง แต่ไม่ให้มีการทำงานหรือกิจกรรมข้ามกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มมีสัญลักษณ์แสดงชัดเจน ไม่ให้มีกิจกรรมข้ามกลุ่มจำนวนคนแต่ละกลุ่มยิ่งน้อยยิ่งดี เช่น โรงงานมีพนักงาน 500 ราย กลุ่มหนึ่งไม่เกิน 20 ราย ถ้าเป็น 1-5 คน จะดีที่สุด หากบับเบิลใดมีผู้ติดเชื้อ กลุ่มผู้มีสัมผัสเสี่ยงสูงก็จะถูกจำกัดในบับเบิลนั้น ขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรัง คนที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม หญิงตั้งครรภ์ ให้จัดทำงานที่ไม่สัมผัสคนจำนวนมาก หากให้อยู่ในบับเบิลเฉพาะกลุ่มนี้ได้ จะทำให้เกิดความปลอดภัยสำหรับกลุ่มนี้มากขึ้น

รวมทั้งให้มีการสุ่มคนงานตรวจหาเชื้อในสถานประกอลการขนาดใหญ่ ให้สุ่ม 75 ราย ต่อคนงานทุกๆ 500 ราย สถานประกอบการขนาด 100-500 ราย สุ่ม 75 ราย โดยกระจายการสุ่มให้ครอบคลุมกลุ่มต่างๆ ที่แยกไว้ หากพบผู้ติดเชื้อ ให้แยกไปอยู่ในโรงพยาบาลสนาม ศูนย์พักคอย หรือรักษาตนเองที่บ้าน ส่วนคนงานที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับผู้ติดเชื้อ ถือว่าเป็นผู้สัมผัส ให้หยุดงานและกักตัว 14 วันทุกราย