ศูนย์วิจัยกสิกรฯ ชี้ ‘สินเชื่อ-เงินฝาก’ ไตรมาส 2/64 ชะลอตัว เหตุโควิดกดดันหนัก

ศูนย์วิจัยกสิกรฯ ชี้ ‘สินเชื่อ-เงินฝาก’ ไตรมาส 2/64 ชะลอตัว เหตุโควิดกดดันหนัก

  • 0 ตอบ
  • 72 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Hanako5

  • *****
  • 1982
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 





รายงานข่าวจากบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมเงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับสุทธิของธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ 19 แห่ง (ธ.พ.ไทย) ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2564 ขยับขึ้นจากเดือนก่อนหน้าประมาณ 7.84 หมื่นล้านบาท ซึ่งทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า อัตราการเติบโตของสินเชื่อระบบธ.พ.ไทยน่าจะปิดสิ้นไตรมาส 2/2564 ที่ระดับประมาณ 4.4% YoY เทียบกับ 4.6% YoY ในไตรมาสที่ 1/2564

โดยแม้จะเริ่มชะลอตัวลง แต่ก็ยังไม่มากนัก เพราะได้รับแรงประคองทิศทางกลับมาบางส่วนจากการขยายตัวต่อเนื่องของสินเชื่อใน 2 ส่วนหลัก ได้แก่ (1) สินเชื่อกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อเสริมสภาพคล่องและใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 และ (2) สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าที่ยังคงมีกำลังซื้อ กลุ่มที่อยู่อาศัยแนวราบราคาประมาณ 1-3 ล้านบาท และ 3-5 ล้านบาท ตามลำดับ 

อย่างไรก็ตาม หากขาดแรงส่งของสองกลุ่มสินเชื่อดังกล่าวที่มาจากลูกค้าที่ยังมีขีดความสามารถในการกู้เงินและสามารถบริหารจัดการผลกระทบจากโควิดได้นั้น คาดว่าจะเห็นตัวเลขอัตราการขยายตัวของสินเชื่อที่ชะลอตัวอย่างชัดเจนขึ้น นำโดยสินเชื่อเอสเอ็มอี และสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นๆ อาทิ สินเชื่อเช่าซื้อ และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค

เงินฝากเติบโตในอัตราชะลอลงเช่นกัน โดยส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเทียบกับฐานที่สูงในช่วงเดียวกันปีก่อน  

สำหรับภาพรวมเงินรับฝากของระบบธ.พ.ไทย ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2564 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 1.09 แสนล้านบาท นับเป็นการปรับลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยเป็นการปรับตัวลงในเกือบทุกธนาคาร ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลของการนำเงินฝากไปลงทุนในตัวเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ประกอบกับมีการทยอยเบิกใช้สภาพคล่องเพื่อรองรับสถานการณ์โควิด 19 ทั้งในส่วนของภาคธุรกิจและผู้ฝากเงินรายย่อย ซึ่งทำให้ภาพรวมเงินฝาก ณ สิ้นไตรมาส 2/2564 ชะลอการขยายตัวลงมาที่ 4.0% YoY เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอัตราการขยายตัวที่ 5.0% YoY ในไตรมาสที่ 1/2564


นอกจากนี้หากพิจารณาเงินฝากในกลุ่มผู้ฝากเงินรายย่อย จะพบว่า เงินฝากกลุ่มรายย่อยยังเติบโตในอัตราใกล้เคียงกับภาพรวมเงินฝากทั้งระบบ

อย่างไรก็ดี ภาพเงินฝากรายย่อยอาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) เงินฝากรายย่อยในกลุ่มที่วงเงินต่อบัญชีสูงกว่า 1 ล้านบาท (สัดส่วน 65% ของเงินฝากรายย่อยโดยรวม) ซึ่งประคองการเติบโตได้สูงกว่าเงินฝากรายย่อยในภาพรวม และ 2) เงินฝากรายย่อยในกลุ่มที่วงเงินต่อบัญชีไม่เกิน 1 ล้านบาท (สัดส่วน 35% ของเงินฝากรายย่อยโดยรวม) ที่มีอัตราการเติบโตที่ชะลอลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มวงเงินต่อบัญชีไม่เกิน 50,000 บาท และกลุ่มวงเงินต่อบัญชีเกินกว่า 50,000 บาทแต่ไม่เกิน 100,000 บาท  ซึ่งอาจสะท้อนภาพการนำเงินฝากบางส่วนมาใช้เพื่อประคองสถานการณ์ในช่วงโควิด-19


ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจจะทำให้ความต้องการสินเชื่อจากกลุ่มลูกค้าที่ยังพอมีรายได้หรือศักยภาพนั้น เป็นไปอย่างระมัดระวัง ทำให้การเติบโตของสินเชื่อปิดสิ้นปี 2564 ในอัตราการเติบโตใกล้เคียงระดับกลางปีที่ประมาณ 4.5% ซึ่งชะลอลงจากที่ขยายตัว 5.8% ในปี 2563

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ยอดคงค้างสินเชื่อของระบบธ.พ.ไทยในครึ่งหลังของปี 2564 มีโอกาสขยายตัวได้ต่อเนื่อง เพียงแต่แรงหนุนสำคัญยังมาจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ทั้งในส่วนของการปล่อยสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือด้านสภาพคล่องกับกลุ่มลูกค้าธุรกิจ และการเร่งอนุมัติสินเชื่อผ่านโครงการสินเชื่อฟื้นฟู

ขณะที่การช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านมาตรการพักชำระหนี้และปรับโครงสร้างหนี้ น่าจะส่งผลทำให้การชำระคืนหนี้ช้าลง และลดแรงกดดันต่อยอดคงค้างสินเชื่อในภาพรวม อย่างไรก็ดี การปล่อยสินเชื่อใหม่ในส่วนอื่นๆ น่าจะเริ่มชะลอลง เนื่องจากสถานการณ์โควิดในประเทศยังมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งทำให้ทั้งฝั่งลูกค้าชะลอความต้องการสินเชื่อเพื่อลงทุนออกไป ขณะที่ฝั่งสถาบันการเงินยังคงต้องประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตจากการปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวัง