'ซัมซุง' ผงาด คว้า 'แบรนด์ที่ดีสุดในเอเชีย' ประจำปี 2021

'ซัมซุง' ผงาด คว้า 'แบรนด์ที่ดีสุดในเอเชีย' ประจำปี 2021

  • 0 ตอบ
  • 75 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Shopd2

  • *****
  • 2300
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 



ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ หนึ่งในผู้สนับสนุน โอลิมปิก โตเกียว 2020 คว้าตำแหน่ง "แบรนด์ที่ดีที่สุดในเอเชีย ประจำปี 2021" ต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 จากผลการสำรวจของ Asia's Top 1000 Brands 2021 จากมุมมองผู้บริโภค14 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก

ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ คว้าตำแหน่ง "แบรนด์ที่ดีที่สุดในเอเชีย ประจำปี 2021" ต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 จากผลการสำรวจของ Asia's Top 1000 Brands 2021 โดย Campaign Asia-Pacific นิตยสารด้านการตลาดชื่อดัง และ NielsenIQ ผู้ให้บริการข้อมูลและการวัดผลระดับโลกที่ได้สอบถามมุมมองความคิดเห็นของผู้บริโภคจาก 14 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ซัมซุง เป็น หนึ่งในสปอนเซอร์หลักของมหกรรมกีฬา โอลิมปิก โตเกียว 2020 ครั้งนี้ โดยมอบ สมาร์ทโฟนรุ่นพิเศษ Galaxy S21 5G Tokyo Athlete Phone ให้กับนักกีฬาโอลิมปิกกว่า 17,000 คน

The Asia's Top 1000 Brands คือการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคเกี่ยวกับความพึงพอใจใน 15 กลุ่มผลิตภัณฑ์และการบริการ โดยแบรนด์ที่ได้รับการคัดเลือกถือเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างความประทับใจ ความไว้วางใจ ซึ่งส่งผลให้เป็นแบรนด์ได้รับความชื่นชอบจากผู้บริโภคมากที่สุด

โดยในปีนี้ ซัมซุง ได้ไต่อันดับสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งครองตำแหน่งผู้นำในด้านทีวี เครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับทำความสะอาด และเทคโนโลยีสมาร์ทโฮม สำหรับผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Asia's Top 1000 Brands ได้ที่ https://www.campaignasia.com/article/asias-top-1000-brands-2021/471135


วิธีการสำรวจ

Asia's Top 1000 Brands รวบรวมข้อมูลจากผลสำรวจออนไลน์โดยนิตยสาร Campaign Asia-Pacific และNielsenIQ ผู้ให้บริการข้อมูลเชิงลึกและการวัดผลระดับโลก ในระหว่างวันที่ 12-30 เมษายน 2564 ที่ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคใน 14 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม ผ่านกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คนจากแต่ละประเทศ

ยกเว้นประเทศญี่ปุ่นที่จะมีกลุ่มตัวอย่าง 800 คน อินเดีย 1,000 คน และจีน 1,200 คน นอกจากนี้ เพื่อให้ตัวเลขครอบคลุมตัวแทนประชากรในแต่ละพื้นที่ ทางผู้สำรวจจึงได้มีการกำหนดคุณลักษณะเป้าหมายในด้านอายุ เพศ และรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือนด้วยเช่นกัน

ผลการสำรวจครอบคลุม 15 กลุ่มผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับกลุ่มยานยนต์ เครื่องดื่ม คอนซูเมอร์ อิเลคโทรนิคส์ บริการขนส่ง บริการด้านการเงิน อาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านและเครื่องใช้ส่วนตัว สื่อและโทรคมนาคม ร้านอาหาร ธุรกิจค้าปลีก กีฬาและ ความบันเทิง การขนส่ง ท่องเที่ยวและสันทนาการ โดยมีอีก 80 หมวดหมู่ย่อยภายในกลุ่มผลิตภัณฑ์หลักดังกล่าวอีกด้วย