ม.มหิดล เผยผลวิจัยโครงการแบบจำลองการระบาดและการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า

ม.มหิดล เผยผลวิจัยโครงการแบบจำลองการระบาดและการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า

  • 0 ตอบ
  • 91 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Ailie662

  • *****
  • 2858
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ไม่มีใครลืมสุนัขตัวแรกที่ตัวเองเคยเลี้ยงว่ามีความผูกพันต่อกันเพียงใด แต่เมื่อเวลาผ่านไป ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามที่ทำให้สุนัขถูกทอดทิ้งจนกลายเป็นสุนัขจรจัดที่ตกเป็นภาระแก่สังคม จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่สำคัญว่าทำไมจึงต้องมี "วันสุนัขโลก" ที่ตรงกับวันที่ 26 สิงหาคม ของทุกปี

ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGS) แห่งสหประชาชาติ ข้อที่ 11 ที่ว่าด้วยเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities) หนึ่งในปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคของการพัฒนาเมืองและชุมชนให้ยั่งยืน คือ การจัดระเบียบทางสังคม ซึ่งจากการสำรวจเบื้องต้นในสุนัขประเทศไทย จำนวนประมาณกว่า 2 ล้านตัว เป็นสุนัขที่ไม่มีเจ้าของ หรือ "สุนัขจรจัด" ถึงกว่า 1 แสนตัว ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า (เรบีส์) ซึ่งส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อความปลอดภัย และสุขภาวะของผู้คนในสังคมเมือง และชุมชน และที่น่าเป็นห่วงคือ ในประเทศไทยยังไม่เคยมีระบบลงทะเบียนข้อมูลการเกิด ตาย และย้ายถิ่นของสุนัข เพื่อการติดตามดูแลควบคุมประชากรสุนัขแต่อย่างใด

รองศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์อนุวัตน์ วิรัชสุดากุล อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกและการสาธารณสุข และประจำศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะหัวหน้าโครงการแบบจำลองการระบาดและการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขประเทศไทย ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่ได้วิจัยร่วมกับ กรมปศุสัตว์ กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ ระหว่างปีพ.ศ.2562 - 2564 ได้กล่าวถึงผลจากการศึกษาวิจัยว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการระบาดใหม่ของโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย ได้แก่ ความหนาแน่นของประชากรมนุษย์ ประวัติการเกิดโรคในพื้นที่ และระยะห่างจากจุดเกิดโรคเดิม โดยการอุบัติซ้ำอาจเกิดจากการที่ไวรัสยังคงอยู่ในสุนัขที่ได้รับเชื้อ แต่ยังไม่แสดงอาการ ซึ่งในการรับเชื้อต่อครั้งมีระยะฟักตัวประมาณ 3 - 8 สัปดาห์ โดยผู้ที่ถูกกัดและรับเชื้อจะเสียชีวิตทุกราย วิธีการป้องกันที่ยั่งยืนที่สุด คือ การไม่ทอดทิ้งสุนัขเลี้ยง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุนัขจรจัด นอกจากนี้ควรให้สุนัขเลี้ยงทุกตัวได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเรบีส์เป็นประจำทุกปี ตลอดจนควบคุมประชากรสุนัขด้วยการทำหมัน อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยอีกส่วนหนึ่งยังชี้ให้เห็นว่า ความรู้ของเจ้าของสุนัขมีผลอย่างมากต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคเรบีส์ ดังนั้น การให้ความรู้อย่างต่อเนื่องถึงอันตรายและการป้องกันโรคเรบีส์ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากเช่นกัน

มีข้อสังเกตุหนึ่งที่น่าติดตามจากผลวิจัยของโครงการฯ ที่ได้ให้เยาวชนกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย ที่เข้าร่วมโครงการฯ บันทึกข้อมูลการเลี้ยงสุนัขที่บ้านของตนผ่านแอปพลิเคชัน พบว่าได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องค่อนข้างน้อย ทั้งๆ ที่มีการให้รางวัลตอบแทนในการลงบันทึกข้อมูลด้วย ซึ่งอาจชี้ได้ว่าเด็กไทยรุ่นใหม่ยังไม่ตระหนักใส่ใจภัยจากเรบีส์ และตื่นตัวในการเรียนรู้เพื่อป้องกันโรคดังกล่าวเท่าที่ควร

ซึ่งการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องภัยจากเรบีส์เป็นเรื่องที่สำคัญต่อการพัฒนาเมืองและชุมชนให้ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการปลูกฝัง และสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงสุนัขด้วยความรับผิดชอบแก่คนในสังคม ซึ่งบ่อยครั้งมักพบว่าผู้ที่รับเชื้อเรบีส์ไม่ได้เพียงจากเหตุโดนสุนัขจรจัดกัด แต่กลับรับเชื้อจากสุนัขที่ตัวเองเลี้ยง โดยสุนัขของตัวเองรับเชื้อจากสุนัขจรจัดมาก่อนแล้ว

"วิธีการป้องกันสุนัขกัดควรปฏิบัติตามหลัก "5 ย" คือ "อย่าแหย่" "อย่าเหยียบ" "อย่าแยก" "อย่าหยิบ" และ "อย่ายุ่ง" และถ้าหากถูกสุนัขกัดควร "ล้างแผล ใส่ยา จับหมา หาหมอ" โดยทีมวิจัยหวังว่าผลจากโครงการแบบจำลองการระบาดและการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขประเทศไทย ที่ได้ร่วมวิจัยกับ กรมปศุสัตว์ กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ นี้จะส่งผลให้ประเทศไทยมีการติดตามพลวัตประชากรของสุนัข เกิด ตาย ย้ายถิ่น ที่เป็นระบบ สู่การจัดทำนโยบายการควบคุมจำนวนประชากรสุนัขจรจัด และลดอุบัติการณ์แพร่ระบาดของโรคเรบีส์ที่ส่งผลยั่งยืนต่อไปได้ในอนาคต" รองศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์อนุวัตน์ วิรัชสุดากุล กล่าวทิ้งท้าย