ค้าปลีกส่งสัญญาณดี “ห้าง” ฟื้นตัว
ความเชื่อมั่นพุ่งทำนิวไฮในรอบ 12 เดือน หลังรัฐประกาศคลายล็อกดาวน์ พร้อมเดินหน้าเปิดประเทศ 1 พย. ไฟเขียวนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำบรรยากาศช้อปปิ้งคึกคัก
ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (Retailer Sentiment Index: SI) เดือนกันยายน 2564 โดย สมาคมผู้ค้าปลีกไทยร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย ทำการสำรวจจากผู้ประกอบการค้าปลีก ทั้งในกลุ่มห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์ท ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ภัตตาคาร ร้านอาหาร พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีกในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 47.8 เป็น 63.8 ในเดือนกันยายน เพิ่มขึ้น 25% ในขณะที่ความเชื่อมั่นสภาวะปัจจุบันเพิ่มขึ้นกว่า 200%
ขณะที่ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อผู้ประกอบการภาคค้าปลีกและบริการ หนีไม่พ้นการล็อกดาวน์ โดยเฉพาะในพื้นที่สีแดงเข้มที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ การประกาศคลายล็อกดาวน์ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ส่งผลในเชิงบวกอย่างมาก แม้ภาพรวมโดยเฉพาะกำลังซื้อจะยังไม่กลับมา แต่ทางด้านจิตวิทยาช่วยให้ภาคธุรกิจฟื้นตัวและเกิดความเชื่อมั่นอย่างชัดเจน
ค้าปลีก ฟื้นตัว ‘ห้าง’ ทำ New High รอบ 1 ปี
ค้าปลีก ฟื้นตัว ‘ห้าง’ ทำ New High รอบ 1 ปี
เห็นได้จาก ร้านค้าปลีกประเภทห้างสรรพสินค้า ที่พบว่าตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 จนถึงเดือนสิงหาคม 2564 ดัชนีความเชื่อมั่นสูงกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ยที่ระดับ 50 มีแค่ 2 เดือนคือ กุมภาพันธ์และมีนาคม ซึ่งเป็น 2 เดือนก่อนที่จะเกิดการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในเดือนเมษายน ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในเดือนกันยายน ทำ New High ในรอบ 12 เดือนของห้างสรรพสินค้า
โดยปัจจัยที่ส่งผลให้เกิด New High มาจากภาครัฐที่ประกาศคลายล็อกดาวน์ และอนุญาตให้ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ร้านค้า และร้านอาหาร กลับมาเปิดให้บริการได้ รวมถึงผลจากการประกาศเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย. ที่ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาประเทศได้ ทำให้บรรยากาศการจับจ่ายช้อปปิ้งกลับมาอีกครั้ง
อย่างไรก็ดีปัจจัยลบที่ยังรุมเร้า และทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกเป็นกังวล คือ ความไม่มั่นใจต่อความไม่ชัดเจนถึงนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วยมาตรการ Covid Free Setting และ Universal Prevention รวมถึงกำลังซื้อผู้บริโภคที่ยังยากต่อการประเมิน
ซึ่งเห็นได้จากร้านค้าปลีกบางประเภทที่การจับจ่ายยังทรงตัว ไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากการคลายล็อกดาวน์ ขณะที่มาตรการเคอร์ฟิว ยังจำกัดเวลาการเปิด-ปิดของภาคค้าปลีก อีกหนึ่งปัจจัยลบคือ มาตรการกระตุ้นการจับจ่ายของภาครัฐที่ยังไม่มีความชัดเจนทั้งในเชิงนโยบายและการปฏิบัติ
ค้าปลีก ฟื้นตัว ‘ห้าง’ ทำ New High รอบ 1 ปี
ค้าปลีก ฟื้นตัว ‘ห้าง’ ทำ New High รอบ 1 ปี
นายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองประธาน สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นค้าปลีกที่ส่งสัญญาณดี และเห็นถึงการเติบโตเพิ่มขึ้น 2 เท่าในเดือนกันยายน เป็นผลมาจากการผ่อนคลายล็อกดาวน์ให้ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ รวมถึงภัตตาคาร ร้านอาหารกลับมาเปิดให้บริการได้ ส่งผลให้เกิดความถี่ในการจับจ่าย (Frequency of Shopping) เพิ่มมากขึ้น
โดยเฉพาะในกลุ่มร้านค้าปลีกประเภทสินค้าอุปโภค ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ภัตตาคารและร้านอาหาร ที่ถูกล็อกดาวน์ในเดือนสิงหาคม พบว่าหลังคลายล็อกดาวน์มียอดขายในสาขาเดิมเติบโตขึ้นกว่า 3 เท่า ซึ่งสอดคล้องกับความถี่ในการมาจับจ่าย ที่เพิ่มขึ้น 3 เท่าเช่นกัน
ค้าปลีก ฟื้นตัว ‘ห้าง’ ทำ New High รอบ 1 ปี
ค้าปลีก ฟื้นตัว ‘ห้าง’ ทำ New High รอบ 1 ปี
แต่สวนทางกลับยอดใช้จ่ายต่อบิลที่เพิ่มขึ้นเพียง 1.6 เท่า แสดงให้เห็นว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคยังอ่อนแอ ด้วยรายได้ที่หดหายและหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น และยังมีความกังวลในการจับจ่ายอย่างเห็นได้ชัดเจน
ขณะที่ค้าปลีกประเภทซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์ท และร้านสะดวกซื้อ ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีการล็อกดาวน์แบบปิดให้บริการชั่วคราว และจำกัดเวลาในการเปิด-ปิด ยังคงเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ ยอดขายสาขาเดิมที่เปิดให้บริการมีการเติบโตขึ้นเล็กน้อย ยอดใช้จ่ายต่อบิลก็ทรงตัว และความถี่ในการมาใช้บริการก็เติบโตขึ้นเล็กน้อยเช่นกัน
ผลการสำรวจยังพบว่า ร้านสะดวกซื้อ เป็นร้านค้าปลีกเซกเม้นท์เดียวที่ความเชื่อมั่นยังต่ำกว่าเกณฑ์คือที่ระดับ 50 นับตั้งแต่เดือนเมษายน ซึ่งเริ่มมีการระบาดของโควิดระลอกใหม่เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันแม้จะมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ก็ยังต่ำกว่าเกณฑ์ สาเหตุหลักมาจากมาตรการเคอร์ฟิว ที่กำหนดให้ต้องปิดบริการในช่วง 20.00-04.00 น.
ทำให้ชั่วโมงการขายหายไปและคิดเป็นสัดส่วนยอดขายในกะดึกราว 35% ของยอดขายต่อวัน รวมทั้งมาตรการ WFH และการเรียนออนไลน์ ทำให้ลูกค้าหลายกลุ่มลดการใช้บริการ อย่างไรก็ดี การปรับลดมาตรการเคอร์ฟิว จะช่วยทำให้บรรยากาศเริ่มกลับมาสู่ภาวะปกติในอีก 3 เดือนข้างหน้า
ค้าปลีก ฟื้นตัว ‘ห้าง’ ทำ New High รอบ 1 ปี
ค้าปลีก ฟื้นตัว ‘ห้าง’ ทำ New High รอบ 1 ปี
ทั้งนี้ผู้ประกอบการค้าปลีกประเมินถึงผลกระทบต่อยอดขาย กำลังซื้อและแนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ พบว่า 68% คาดว่าการบริโภคในไตรมาส 3 จะหดตัว 30% เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่ 57% 8kf;jk ยอดขายน่าจะลดลงมากกว่า 50% โดยความกังวล 5 อันดับแรกคือ 1. มาตรการเคอร์ฟิวมีผลต่อยอดขาย 2. กำลังซื้อผู้บริโภคหดหาย ไม่ฟื้นตัวเร็ว 3. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 4. ยังมีคนที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนอีกมาก และ 5. ค่าใช้จ่ายจากมาตรการ Covid Free Setting บานปลาย
ขณะที่การผลักดันให้รุกสร้างรายได้ผ่านช่องทางออนไลน์ ในช่วงที่มีมาตรการเคอร์ฟิวและล็อกดาวน์ พบว่า 62% มียอดขายยออนไลน์น้อยกว่า 10% ของยอดขายโดยรวม โดยภัตตาคาร/ร้านอาหาร ส่วนใหญ่มียอดขายผ่านออนไลน์มากกว่า 20% ส่วนซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์ท ร้านสะดวกซื้อ ส่วนใหญ่มียอดขายผ่านออนไลน์น้อยกว่า 5%
โดยเฉลี่ยธุรกิจขนาดใหญ่ จะมีสัดส่วนยอดขายผ่านออนไลน์มากกว่า 10% ขณะที่ธุรกิจขนาดเล็ก จะมีสัดส่วนยอดขายผ่านออนไลน์น้อยกว่า 5% อย่างไรก็ดีหลังการคลายล็อกดาวน์ พบว่า ยอดขายออนไลน์ในเดือนกันยายนเทียบกับเดือนสิงหาคม ลดลงเล็กน้อยไม่เกิน 10% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า เมื่อคนไปห้างหรือไปร้านค้าปลีกได้ การซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ก็ลดลงด้วย
นายฉัตรชัย กล่าวอีกว่า ภาครัฐต้องเร่งผลักดันใน 4 เรื่องคือ 1. ฟื้นมาตรการกระตุ้นการจับจ่ายผ่านโครงการ “ช้อปดีมีคืน” เพื่อสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ กระตุ้นบรรยากาศการจับจ่ายในช่วงไฮซีซั่นให้กลับมาคึกคัก 2. มาตรการด้านภาษีเพื่อช่วยผู้ประกอบการในด้านค่าใช้จ่ายทางสาธารณสุข นอกเหนือจากการลดหย่อนภาษี 1.5 เท่าของค่าใช้จ่ายชุดตรวจ ATK เป็นต้น
ค้าปลีก ฟื้นตัว ‘ห้าง’ ทำ New High รอบ 1 ปี
ค้าปลีก ฟื้นตัว ‘ห้าง’ ทำ New High รอบ 1 ปี
3. ภาครัฐต้องสร้างความชัดเจนในการนำมาตรการ Covid Free Setting และ Universal Prevention โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการสามารถปฏิบัติได้ง่ายและมีขั้นตอนที่ชัดเจน 4. แผนการบริหารจัดการวัคซีนให้รวดเร็วและเข้าถึงประชาชนมากกว่า 70% ของประชากรทั้งหมดของประเทศ
“วัคซีน เป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้างความเชื่อมั่นและทำให้การเปิดประเทศเกิดขึ้นได้อย่างปลอดภัยและเร็วที่สุด ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาส 4 ซึ่งเป็นโค้งสุดท้ายของปีนี้ การนำมาตรการช้อปดีมีคืน กลับมาใช้อย่างเร่งด่วน เพราะจะเป็นการอัดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน”
หน้า 14-15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,720 วันที่ 7 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2564