“ยักษ์ประกัน” โหมธุรกิจปลายปี รุกดิจิทัล/ออนไลน์ งัดโปรดักต์ใหม่ปั๊มเบี้ย

“ยักษ์ประกัน” โหมธุรกิจปลายปี รุกดิจิทัล/ออนไลน์ งัดโปรดักต์ใหม่ปั๊มเบี้ย

  • 0 ตอบ
  • 71 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

deam205

  • *****
  • 2773
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


ปีนี้เป็นอีกปีที่ธุรกิจประกันภัย นอกจากต้องเผชิญผลกระทบด้านกำลังซื้อจากสถานการณ์โควิด-19 แล้ว ยังต้องปรับตัวให้เท่าทันกับกระแสดิจิทัลที่มาแรงและเร็วขึ้น ซึ่งช่วงนี้เข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 แล้ว หลายค่ายจึงมีการเปิดตัวช่องทางใหม่ ๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

“เมืองไทยฯ” ลุยประกันดิจิทัล
ล่าสุด “สาระ ล่ำซำ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต (mtl) เปิดเผยว่า บริษัทได้จับมือ ZA Tech บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติจีน ที่เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างซอฟต์แบงก์และจงอัน บริษัทประกันชีวิตและวินาศภัยชั้นนำของจีน นำเอานวัตกรรมมาพัฒนาโปรดักต์ให้ประชาชนง่ายต่อการเข้าถึงและง่ายต่อการทำตลาดดิจิทัลอินชัวรันซ์ ซึ่งเป็นจังหวะที่เกิดสถานการณ์โควิด-19 พอดี



โดยปัจจุบันได้พัฒนาประกันวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งมีขั้นตอนการขายที่ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย ขนาดเบี้ยไซซ์เล็ก และมีความยืดหยุ่นในการเลือกความคุ้มครองได้ด้วยตนเอง

นอกจากนี้ เฟสถัดไปมีแผนร่วมพัฒนาโปรดักต์สุขภาพประยุกต์คุ้มครองโรคร้ายแรง รวมไปถึงพัฒนารูปแบบการออมบำนาญตอบรับสังคมสูงวัย โดยกำลังพิจารณาโมเดลต่างประเทศ


“ช่องทางขายประกันผ่านดิจิทัลในไทยยังมีสัดส่วนน้อย เบี้ยในตลาดไม่ถึง 1,000 ล้านบาทต่อปี แต่เชื่อว่าในอนาคตการขายของตัวแทนที่ผสมผสานเครื่องมือดิจิทัลและการขายบนออนไลน์ 100% จะมาแรงแน่ ๆ ฉะนั้นจำเป็นต้องสร้างพื้นฐานรองรับคลื่นลูกใหม่ที่กำลังจะมา” นายสาระกล่าว

เอสซีบีฯรุกแพลตฟอร์มออนไลน์
ขณะที่ “ปรมาศิริ มโนลม้าย” รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจประกัน ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค จำกัด (SCB PROTECT) กล่าวว่า ตามแผนธุรกิจที่บริษัทได้ประกาศจะใช้ช่องทางดิจิทัลเป็นเรือธงในการเข้าถึงและตอบโจทย์ผู้บริโภค จากปัจจุบันมี 2 ช่องทางขายผ่านออฟไลน์ คือ

1.ที่ปรึกษาด้านความคุ้มครอง (protection consultant) 2.เทเลเซลส์ ล่าสุดบริษัทได้ร่วมมือกับทีมดิจิทัลแบงกิ้งของธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดตัวประกันออนไลน์ online.scbprotect.co.th แพลตฟอร์ม Insurance e-Market place โดยนำเอไอและข้อมูลดิจิทัลมาพัฒนาหาสิ่งที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคน

โดยนำร่องขายสินค้า 3 โปรดักต์ ได้แก่ 1.ประกันอุบัติเหตุ มอบส่วนลดเพิ่ม 5% จากราคาเบี้ยที่เลือก 2.ประกันรถยนต์ มอบส่วนลดเบี้ย 10% พร้อมการันตีเจอที่อื่นถูกกว่าคืนเงิน และ 3.ประกันสะสมทรัพย์ จ่ายเบี้ย 5 ปี คุ้มครองยาว 10 ปี เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการลดหย่อนภาษี

นอกจากนี้ ช่วงปลายปี 2564 นี้ จะวางขายอีก 2 โปรดักต์ คือ ประกันเดินทางและประกันโรคร้ายแรง โดยร่วมมือพันธมิตรบริษัทประกัน 5-6 แห่ง ซึ่งช่องทางนี้ราคาเบี้ยจะถูกกว่าช่องทางออฟไลน์

“ช่วง 3 เดือนแรกคงจะเป็นการมุ่งเน้นสร้างการรับรู้ให้ลูกค้าคุ้นเคยกับดิจิทัลอินชัวรันซ์ก่อน และคาดหวังภายใน 1 ปีจะมีฐานลูกค้าเข้ามาใช้งานราว 1 ล้านคน เราอาจยังไม่ได้คาดหวังตัวเลขเบี้ยเพราะตลาดประกันออนไลน์ยังไม่ใหญ่มาก แต่เชื่อว่าจะได้จำนวนรายเข้ามามากโดยเฉพาะฐานลูกค้า SCB โดยสัดส่วนยอดขายหลักยังคงมาจากช่องทางออฟไลน์ 90%” นางสาวปรมาศิริกล่าว










BLA ชิงเค้กยูนิตลิงก์
ฟาก “โชน โสภณพนิช” กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต (BLA) กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ถือว่าท้าทายมาก จากภาวะเศรษฐกิจกระทบกำลังซื้อของลูกค้า แต่ลูกค้าของบริษัทยังมองเห็นประโยชน์การทำประกันชีวิต ส่งผลให้อัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ยังสูง และทำให้เบี้ยประกันปีต่ออายุยังโตได้ดี

ขณะที่เบี้ยประกันปีแรกยังขยายตัวได้ โดยช่วงครึ่งปีแรกมีเบี้ยปีแรกผ่านช่องทางตัวแทนขยายตัว 26% หนุนเบี้ยรับรวมทุกช่องทางอยู่ที่ 18,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% เมื่อจากช่วงเดียวกันปีก่อน

อย่างไรก็ดี บริษัทตั้งเป้าหมายว่า ปีนี้เบี้ยปีแรกทุกช่องทางจะอยู่ที่ 8,500 ล้านบาท และเบี้ยรับรวมอยู่ที่ 36,000 ล้านบาท โดยหลัก ๆ ยังคงมาจากสัดส่วนยอดขายผ่านธนาคารเป็นหลัก ตามมาด้วยตัวแทน และโบรกเกอร์ประกันภัย

ทั้งนี้ บริษัทได้เปิดตัวสินค้าประกันชีวิตควบการลงทุน (ยูนิตลิงก์) เพื่อขยายธุรกิจใหม่ เนื่องจากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดยูนิตลิงก์มีการขยายตัวสูงถึง 3 เท่า จากเบี้ยรวมในตลาด 3,000 ล้านบาท ขยับขึ้นมาสูงแตะ 10,000 ล้านบาท

โดยคาดว่าภายในสิ้นปีนี้ ยอดขายยูนิตลิงก์ของบริษัทจะทำได้ราว 300 ล้านบาท จากช่องทางตัวแทน มาจากเบี้ยชำระครั้งเดียว 270 ล้านบาท และเบี้ยชำระรายเดือน 30 ล้านบาท โดยปัจจุบันมีทีมที่ปรึกษาการเงินรองรับการขายอยู่ 1,400 ราย จากจำนวนตัวแทนทั้งหมด 12,000 คน

“เราตั้งเป้าภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า สินค้ายูนิตลิงก์จะมีสัดส่วนพอร์ต 25% ของเบี้ยรวม” นายโชนกล่าว

ทั้งหมดนี้เป็นการปรับตัวของแต่ละค่ายประกัน เพื่อที่จะนำพาธุรกิจให้สามารถเติบโต สร้างผลกำไรได้อย่างยั่งยืนนั่นเอง