ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ก.ย. 64 ปรับตัวดีขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ก.ย. 64 ปรับตัวดีขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน

  • 0 ตอบ
  • 58 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Hanako5

  • *****
  • 1982
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 



ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย. 64 ปรับตัวดีขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 เดือนจากการคลายล็อกดาวน์ ส่งผลให้มีการจับจ่ายและท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น แต่เจอกดดันจากน้ำท่วมและน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยยังลดต่อเนื่อง เหตุกังวลโควิด-19 น้ำท่วม น้ำมันแพง

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือน ก.ย. 2564 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ เป็นการปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน นับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2564 โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ที่ 41.4 เพิ่มจาก 39.69 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ที่ 25.5 เพิ่มจาก 24.3 ดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตอยู่ที่ 48.9 เพิ่มจาก 46.7 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 35.5 ปรับตัวจาก 33.8 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวมอยู่ที่ 37.8 เพิ่มจาก 36.3 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 50.8 เพิ่มจาก 48.6

ปัจจัยที่ทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคดีขึ้น มาจาก ศบค.ได้ผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 29 จังหวัดที่ครอบคลุมขนาดเศรษฐกิจประมาณ 80% ของจีดีพีไทย ส่งผลให้ประชาชนและภาคธุรกิจมีการจับจ่ายใช้สอยและท่องเที่ยวมากขึ้น และน่าจะดีกว่านี้หากไม่มีสถานการณ์น้ำท่วมและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นเกิน 30 บาทต่อลิตร ที่ส่งผลทางจิตวิทยาในเชิงลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นไม่มากนัก โดยเฉพาะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสถานการณ์ปัจจุบัน

ทั้งนี้ ดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ ที่ระดับ 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคต เพราะมีความกังวลในวิกฤตโควิด-19 ในประเทศและทั่วโลก ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยและการจ้างงานมีโอกาสฟื้นตัวได้ช้า ซึ่งจะทำให้รายได้ในอนาคตของผู้บริโภคมีความไม่แน่นอนสูง รวมทั้งยังมีความไม่แน่นอนทางการเมือง ที่เป็นตัวกดดันความเชื่อมั่น

อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศคลี่คลาย ทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน จำนวนผู้เสียชีวิต และมีการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น โดยที่ไม่มีการแพร่ระบาดอีก และรัฐบาลมีการผ่อนคลายล็อกดาวน์เพิ่มขึ้น มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในอนาคตได้ และอาจส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ขยายตัว 1-1.5% ได้

สำหรับผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยเดือน ก.ย. 2564 อยู่ที่ระดับ 19.4 ลดจาก 19.8 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 33 เดือน และปรับตัวลดลงในทุกภาคต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 เพราะมีความวิตกกังวลต่อสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งปัจจุบันและอนาคต ผลกระทบจากน้ำท่วมที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร ความกังวลต่อเศรษฐกิจชะลอตัว ปัญหาค่าครองชีพสูง และราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น โดยผู้ประกอบการขอให้รัฐบาลผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น เร่งจัดหาวัคซีนมาฉีดให้เพียงพอ เปิดประเทศแบบมีมาตรการที่รัดกุม และเตรียมแผนรับมือน้ำและกักเก็บน้ำให้สมดุล