ให้อำนาจ “คณิศ” ร่างสิทธิประโยชน์เจรจานักลงทุนเข้า EEC เฉพาะราย

ให้อำนาจ “คณิศ” ร่างสิทธิประโยชน์เจรจานักลงทุนเข้า EEC เฉพาะราย

  • 0 ตอบ
  • 56 อ่าน

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

fairya

  • *****
  • 2954
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


บอร์ด EEC เตรียมปรับแผนดึงการลงทุนรอบใหม่ ให้อำนาจ “คณิศ” ร่างสิทธิประโยชน์เจรจานักลงทุนเจาะจงเฉพาะราย ใน 6 เขตส่งเสริมกิจการพิเศษเร็วๆ นี้ หวังดึงการลงทุนเข้าประเทศ จาก 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) 500,000 ล้านบาท/ปี

วันที่ 4 ตุลาคม 2564 นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ. หรือ เลขาฯ EEC) กล่าวภายหลังการประชุม คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 3/2564 โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า EEC อยู่ระหว่างร่างสิทธิประโยชน์ใหม่ เพื่อใช้เป็นหนึ่งในแผนชักจูงนักลงทุนโดยเฉพาะใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาใหม่ (New S-Curve) เช่น ยานยนต์สมัยใหม่ (EV) ดิจิทัล (5G) การแพทย์สมัยใหม่ หุ่นยนต์ เกษตรมัยไหม้ (BCG) โดยจะใช้หลักการเจรจากับนักลงทุนเฉพาะราย หรือเจาะจงเจรจาเป็นรายบริษัทเพื่อกำหนดสิทธิประโยชน์ตามที่นักลงทุนต้องการ


ซึ่งสิทธิประโยชน์ใหม่นี้จะใช้เจรจากับนักลงทุน ประเภทกิจการ ที่อยู่ในพื้นที่เขตส่งเสริมกิจการพิเศษ 6 แห่งเท่านั้น ประกอบด้วย เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) เขตส่งเสริมรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (EECh) เขตส่งเสริมการแพทย์จีโนมิกส์ (EECg) เขตส่งเสริมนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (EECi) เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) เขตส่งเสริมศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร (EECmd)

เช่น ในพื้นที่เมืองการบินภาคตะวันออก จะเกิดกิจการอื่นๆ ตามมา ซึ่งบริษัทเหล่านี้ล้วนเข้ามาลงทุนในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งเป็นเขตส่งเสริมฯ ที่ EEC ดูแลอยู่ จากนั้นจะกำหนดสิทธิประโยชน์ให้แต่ละรายโดยไม่จำเพาะจำกัดประเภทกิจการเหมือนที่ บีโอไอกำหนด แต่ในเรื่องของสิทธิประโยชน์ว่าจะให้อะไรนั้นคงไม่ต่างจากบีโอไอมากแต่ให้ตามที่นักลงทุนขอ

“อย่างก่อนนี้เราเคยให้กับทางอาลีบาบา ซึ่งเราไม่ได้ให้เหลือกว่าใครแต่เขาขอแค่ว่า ในประเภทกิจการที่จะมาลงทุนในไทย ซึ่งจะมีบริษัทย่อย 4 บริษัทตามมาด้วยอย่าง บริษัทก่อสร้าง โลจิสติกส์ ไอที และมาเก็ตติ้ง อาลีบาบาเขาไม่ใช่บริษัทเดียวถ้าใช้สิทธิประโยชน์บีโอไอเขาก็จะได้แค่ว่าเป็นประเภทกิจการเดียว แต่ถ้าเราเอาสิทธิประโยชน์ EEC ไปใช้เจรจา อีก 4 บริษัทย่อยเขาก็จะได้ด้วย หลักการให้สิทธิประโยชน์ใหม่รอบนี้จึงจะเป็นลักษณะนี้ ให้ตามที่เขาขอ เพราะเราต้องสู้กับคู่ประเทศที่เวียดนาม สิงคโปร์ เขาก็ดึงการลงทุนด้วยแบบนี้”

นอกจากนี้ที่ประชุมยังพิจารณารับทราบก้าวหน้าการดำเนินงานใน EEC เพิ่มเติม โดย ขณะนี้ โครงการพัฒนา
ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F ได้ผ่านความเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน ผลการเจรจา และร่างสัญญาร่วมลงทุนที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว และจะนำเสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติ พร้อมลงนามสัญญาต่อไป

ทั้งนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบปรับแผนลงทุนใน EEC เป็น 2.2 ล้านล้านบาท ใน 5 ปี (ปี 2565-2569) มาจากโครงสร้างพื้นฐาน 200,000 ล้านบาท การดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมาย ปีละ 400,000 ล้านบาท จากการยกระดับชุมชนและประชาชน พัฒนาตลาดสด/ e-commerce ดังนั้นในแผน EEC 5 ปีข้างหน้า จะทำให้มูลค่าการลงทุนใน EEV เพิ่มขึ้น 500,000 ล้านบาท/ปี (จากเดิม 300,000 ล้านบาท/ปี) ช่วยดัน GDP โตได้ 4.5 – 5% ต่อปี

ขณะเดียวกันยังเห็นชอบให้เดินหน้าแผนพัฒนาเกษตร เร่งรัดโครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (EFC) ช่วยเกษตรกรเงินเก็บเพิ่ม ผลไม้ไทยสร้างรายได้ โดยโครงการ EFC จะสร้างรายได้ 20-30% มูลค่าประมาณ 10,000-15,000 ล้าน/ปี ที่ประชุมเห็นชอบแผนการพัฒนาตลาดลานโพธิ์นาเกลือ พลิกโฉมพัทยา สู่แหล่งท่องเที่ยวโลก สร้างเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นกว่า 1.5 ล้านคน/ปี และเกิดรายได้ให้คนในพื้นที่กว่า 1,000 ล้านบาท/ปี และที่ประชุมยังเห็นชอบให้ร่งศึกษารูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐ

และเอกชน (PPP) เพื่อยกระดับโรงพยาบาลปลวกแดง 2 เป็น Sandbox ต่อยอดระบบบริการสาธารณสุข ซึ่งจะรองรับผู้ประกันตนประมาณไม่ต่ำกว่า 200,000 คน ในอำเภอปลวกแดง