“ไทยเบฟ” กำไร 9 เดือน 3.6 หมื่นล้าน เร่งปั้น “สินค้า-ตลาด” ใหม่สู้โควิด

“ไทยเบฟ” กำไร 9 เดือน 3.6 หมื่นล้าน เร่งปั้น “สินค้า-ตลาด” ใหม่สู้โควิด

  • 0 ตอบ
  • 70 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Naprapats

  • *****
  • 3225
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 



“ไทยเบฟ” เดินหน้าลุยโควิดยังไม่จบ พร้อมปรับกลยุทธ์สู้สถานการณ์ต่อเนื่อง โชว์ 9 เดือนแรกยอดขายรวม 192,120 ล้านบาท โต 1.1% กำไร 36,638 ล้านบาท โต 11.5% เผยต้องแสวงหาสินค้าใหม่ๆ พัฒนากลยุทธ์ใหม่ๆ หาตลาดใหม่ๆ รับโลกเปลี่ยน

นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลประกอบการของกลุ่มบริษัทในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2564 (1 ต.ค. 63-30 มิ.ย. 64) มียอดขายรวม 192,120 ล้านบาท เติบโต 1.1% และมีกำไรก่อนหักค่าใช้จ่าย 36,638 ล้านบาท เติบโต 11.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยรวมส่งผลให้เป็นบริษัทด้านอาหารและเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ติดอันดับ 1 ใน 10 ของเอเชียในด้านรายได้และมูลค่าการตลาด

“แม้ว่าเราจะได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีการปิดช่องทางการจัดจำหน่ายที่สำคัญ แต่จากการปรับแผนการดำเนินงานและการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง จากนี้ไปเราต้องศึกษาพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ช่องทางใหม่ๆ และตลาดใหม่ๆ ด้วย อาทิ การศึกษาตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี)” นายฐาปนกล่าว

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โดยรวมของเศรษฐกิจจากนี้ไป ขณะที่โควิด-19 ยังไม่จบ จะต้องมีการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและความต้องการให้ละเอียด เพราะมีความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของโควิด รวมทั้งการทำตลาดแบบใหม่ๆ ที่เข้าถึงผู้บริโภคและตรงความต้องการมากที่สุด เพื่อรองรับการแข่งขันจากนี้ไปที่จะรุนแรงมากขึ้น เพราะผู้ประกอบการจะต้องพยายามหาทางสร้างรายได้กลับมาให้มากที่สุดทดแทนจากที่หายไป



นายประภากร ทองเทพไพโจน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดกลุ่มธุรกิจสุรา กล่าวว่า จะมีการขยายตลาดด้วยสินค้ากลุ่มใหม่ๆ เนื่องจากกลุ่มเดิมเราเป็นผู้นำตลาดอยู่แล้ว เช่น ตลาดวอดก้า ที่ส่งคูลอฟเข้าตลาดเมื่อ 3 ปีที่แล้ว จนเป็นผู้นำตลาด ด้วยแชร์ 32% หรือการขยายตลาดต่างประเทศ เช่นเวียดนาม

ภาพรวมกลุ่มสุราของบริษัทยังมีความแข็งแกร่งเพราะความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่บริโภคที่บ้านได้เช่น รวงข้าวสุราขาว และปีนี้ได้ปรับบรรจุภัณฑ์สุราสีหงส์ทองขนาด 350 มล. และ 700 มล.ให้ทันสมัยมากขึ้น ส่วนแสงโสมเติบโต 13% ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ส่วนเบลนด์ 285 ซิกเนเจอร์ เติบโต 26% ส่วนเมอริเดียนบรั่นดี เติบโต 39%

นายเลสเตอร์ ตัน ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจเบียร์ ประเทศไทย กล่าวว่า ธุรกิจเบียร์จะขยายตลาดกลุ่มพรีเมียมมากขึ้น รวมทั้งนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการผลิตมากขึ้นด้วยเพื่อลดต้นทุน เช่น ที่ผ่านมาจำหน่ายเบียร์กาแฟ เป็นต้น ซึ่งปีนี้แม้ไม่สามารถจำหน่ายในร้านอาหาร และปิดบริการผับ บาร์ต่างๆ แต่บริษัทยังเติบโตด้านกำไร และยังประหยัดค่าใช้จ่ายจากการที่ไม่ได้ทำการตลาด ไม่ได้จัดอีเวนต์

นายโฆษิต สุขสิงห์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ประเทศไทย กล่าวว่า กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์มีรายได้จากการขาย 11,688 ล้านบาท ลดลง 6.4% เนื่องจากปริมาณการขายลดลง 8.6% โดยยังคงระมัดระวังการใช้จ่ายด้านโฆษณาและส่งเสริมการขาย ทำให้มีกำไร 1,629 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.2%

โดยกลยุทธ์หลักๆ คือ ปรับรูปแบบการขายมุ่งเน้นร้านค้าปลีก ร้านค้าชุมชนมากขึ้น, นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเพิ่มประสิทธิภาพการขาย, นำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ, เสริมแกร่งทีมงานเตรียมพร้อมรับมือโลกยุคนิวนอร์มัล



นางนงนุช บูรณะเศรษฐกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และผู้บริหารสูงสุดสายธุรกิจอาหารประเทศไทย เปิดเผยว่า กลุ่มธุรกิจอาหารตั้งเป้าหมายก้าวขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจอาหารอันดับ 1 ในแง่รายได้ภายในปี 2568 จากปัจจุบันอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากกลุ่มไมเนอร์ฟู้ด และกลุ่มเอ็มเค ซึ่งปัจจุบันกลุ่มไทยเบฟมีธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มประมาณ 23 แบรนด์ มีรายได้รวมในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2564 จำนวน 8,649 ล้านบาท

ทั้งนี้ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ทางกลุ่มได้มีการจัดพอร์ตโฟลิโอใหม่เป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่รับสิทธิ์แฟรนไชส์มา เช่น เคเอฟซี สตาร์บัคส์ เป็นต้น แต่เป็นกลุ่มที่มียอดรายได้หลัก, 2. กลุ่มที่เป็นเจ้าของแบรนด์เอง จะสร้างกำไรและขยายตัวรวมทั้งการขยายออกต่างประเทศและการขายแฟรนไชส์ด้วย และ 3. กลุ่มที่เป็นเจ้าของแบรนด์เอง แต่ว่ายังไม่แข็งแรงเพราะอยู่ในช่วงเริ่มธุรกิจ แต่มีแนวโน้มที่จะเติบโตและการขยายตัวอย่างดีในอนาคต

โดยมีเครือข่ายร้านอาหารทั้งหมดประมาณ 673 สาขา แบ่งเป็น คิวเอสอาร์ จำนวน 378 สาขา, ร้านอาหารฟูดออฟเอเชีย 40 สาขา และเครือโออิชิ 255 สาขา จากปีที่แล้ว (พ.ศ. 2563) ที่มีประมาณ 649 สาขา และปี 2562 มีประมาณ 620 สาขา

แนวทางขยายสาขาจากนี้จะไม่พึ่งพิงการเปิดร้านในศูนย์การค้ามากนัก ต้องกระจายไปหลากหลายรูปแบบและหลายช่องทาง เพราะหากมีปัญหาหรือปิดศูนย์การค้าขึ้นมาเหมือนที่ผ่านมาจากสถานการณ์โควิด ธุรกิจที่อยู่ในศูนย์การค้าจะเป็นศูนย์ทันที แต่เราจะเปิดหลายรูปแบบและนอกศูนย์การค้ามากขึ้น เช่น การขายสินค้าแบบรีเทล จุดขายดีลิเวอรีที่เราโตมาก 60% ในช่วงที่ผ่านมา การเปิดร้านฟูดทรัคซึ่งขณะนี้มี 10 จุดแล้ว โดยปีนี้เปิดจุดขายใหม่มากกว่า 24 แห่ง เป็นการเปิดนอกศูนย์การค้ามากถึง 90%