หัวเว่ย จับมือภาครัฐ-เอกชน หนุน สตาร์ทอัป ชิงรางวัลมูลค่ากว่า 4 ล้านบาท

หัวเว่ย จับมือภาครัฐ-เอกชน หนุน สตาร์ทอัป ชิงรางวัลมูลค่ากว่า 4 ล้านบาท

  • 0 ตอบ
  • 66 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

deam205

  • *****
  • 2773
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




หัวเว่ย ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดงานประกาศผลการตัดสินผู้ชนะเลิศโครงการแข่งขันสำหรับสตาร์ทอัปเทคโนโลยี “Spark Ignite 2021 - Thailand Start-up Competition” หนุนธุรกิจสตาร์ทอัปไทยให้เติบโตในระดับภูมิภาค ชิงรางวัล HUAWEI CLOUD Credit มูลค่ากว่า 4 ล้านบาทและการสนับสนุนด้านการให้คำปรึกษา เพื่อเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัปไทยได้เข้าร่วมโครงการ Huawei Spark Accelerator ที่ได้รับทุนจาก HUAWEI CLOUD

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึงโครงการ “Spark Ignite 2021 - Thailand Start-up Competition” ว่า รัฐบาลไทยเตรียมเปิดตัวโครงการมากมายเพื่อผลักดันเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งธุรกิจสตาร์ทอัปถือเป็นขุมพลังสำคัญสำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ต้องขอขอบคุณหัวเว่ยที่ยึดมั่นในพันธกิจเรื่อง “เติบโตในประเทศไทยและสนับสนุนประเทศไทย” มาอย่างยาวนาน ในฐานะที่หัวเว่ยเป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก เชื่อว่าทรัพยากรและความรู้ด้านเทคโนโลยีระดับโลกของหัวเว่ยจะช่วยยกระดับสตาร์ทอัป รวมถึงเร่งการเติบโตของสตาร์ทอัปให้กลายเป็นธุรกิจระดับยูนิคอร์นได้ ความร่วมมือในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบความร่วมมือที่ดีระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และพาร์ทเนอร์ในภาคอุตสาหกรรมในการขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงสตาร์ทอัปไทยให้เข้าถึงเทคโนโลยีสู่การทำธุรกิจระดับโลกต่อไป ซึ่งโครงการนี้ทำให้มั่นใจว่าประเทศไทยจะสามารถกลายเป็นศูนย์กลางดิจิทัลแห่งอาเซียน รองรับศักยภาพในการเป็นไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างเต็มที่

ด้านนายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กระทรวงดีอีเอสกล่าวว่า ดีป้าให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและนำพาประเทศไทยสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลอย่างรอบด้าน ทั้งการพัฒนากำลังคนดิจิทัล การส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคธุรกิจ SMEs ร้านค้า โรงงาน รวมถึงชุมชน เกษตรกร และประชาชนอย่างยั่งยืน ตลอดจนการส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการดิจิทัลสตาร์ทอัปด้านเทคโนโลยีของไทยให้เติบโตอย่างเข้มแข็ง เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนประเทศ ผ่านการพัฒนาสินค้าและบริการดิจิทัลที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจและประชาชนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

สำหรับความร่วมมือในโครงการ Spark Ignite 2021 - Thailand Start-up Competition จากหัวเว่ย ประเทศไทย ถือเป็นองค์ประกอบที่ช่วยผลักดันดิจิทัลสตาร์ทอัปของไทยให้เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทั้งนี้ขอแสดงความยินดีกับทีมสตาร์ทอัปไทยที่ชนะการแข่งขันครั้งนี้ โดยดีป้าเชื่อมั่นว่าผู้ที่เข้าร่วมแข่งขันจะได้รับประสบการณ์ไปปรับใช้เพื่อเป็นประโยชน์ และเพิ่มโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจ ซึ่งต้องขอขอบคุณหัวเว่ยที่ได้ให้ความสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถของดิจิทัลสตาร์ทอัปไทย ให้สามารถก้าวสู่ตลาดโลกได้

ขณะที่นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์โควิด-19 เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคมาตรฐานใหม่ (New Normal) รวมถึงผลักดันประเทศไทยให้เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามามีบทบาทในการช่วยฟื้นฟูและสร้างโอกาสใหม่ทั้งในภาคธุรกิจและภาคสังคม อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน ทั้งนี้ หัวเว่ยเชื่อว่าสตาร์ทอัปเป็นขุมพลังสำคัญที่กำลังเติบโตซึ่งจะทำให้เกิดโอกาสใหม่ๆ และยังช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรม เรามั่นใจเป็นอย่างยิ่งในศักยภาพของสตาร์ทอัปที่จะสร้างโอกาสงานใหม่ๆ รวมทั้งอัดฉีดพลังงานใหม่ให้แก่ประเทศ เพื่อรองรับการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจในยุคหลังโควิด-19

“หัวเว่ยต้องขอขอบคุณภาครัฐและพาร์ทเนอร์ภาคเอกชนต่างๆ ได้แก่ ดีป้า,สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ,กสิกรบิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ,ทัสพาร์ค ดับบลิวเอชเอ (TusPark WHA) และบริษัท แสนรู้ จำกัด ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีตั้งแต่วันแรกในการรับสมัครสตาร์ทอัปจากทั่วประเทศ การสนับสนุนของรางวัล จนถึงร่วมให้เกียรติเป็นคณะกรรมการตัดสินในรอบชิงชนะเลิศนี้ ซึ่งทุกท่านต่างมีส่วนทำให้เกิดเวทีที่ส่งเสริมการแสดงศักยภาพของสตาร์ทอัปไทยในครั้งนี้”

โครงการนี้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของความร่วมมือที่ดีระหว่างหัวเว่ยและพาร์ทเนอร์ ซึ่งจะเปิดประตูสู่การแบ่งปันองค์ความรู้และกรณีศึกษาต่าง ๆ ก่อให้เกิดไอเดียใหม่ และร่วมกันสนับสนุนในด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ ด้วยเทคโนโลยีชั้นนำและทรัพยากรจากอีโคซิสเต็มของหัวเว่ย สตาร์ทอัปในประเทศไทยจะได้รับโอกาสทางธุรกิจมากขึ้นและยังเสริมศักยภาพของตัวเองไปสู่การแข่งขันระดับนานาชาติได้ โครงการนี้ยังช่วยผลักดันให้เกิดการเติบโตด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและนโยบายไทยแลนด์ 4.0 รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี ICT ในประเทศไทยผ่านบรรดาพาร์ทเนอร์เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัล เราหวังว่าโครงการนี้จะเป็นการประกวดสตาร์ทอัปที่ยิ่งใหญ่และมีอิทธิพลมากที่สุดในประเทศไทย และจะมีบทบาทสำคัญต่อการผลักดันเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อช่วยให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางดิจิทัลแห่งอาเซียน

สำหรับโครงการ “Spark Ignite 2021 - Thailand Start-up Competition” เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนพ.ค. 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เข้าแข่งขันรวมกว่า 132 ทีมจากหลากหลายภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย ไม่ว่า จะเป็นภาคอุตสาหกรรมการเงินและการประกันภัย สาธารณสุข การศึกษา โทรคมนาคม อีคอมเมิร์ซ อินเทอร์เน็ต สื่อและเกม ที่ประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีประเภท 5G โซลูชัน Enterprise Intelligent (EI) ระบบการเรียนรู้ และการวิเคราะห์ของอุปกรณ์ อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง (IoT) การประมวลผลคอมพิวเตอร์แบบ Edge (Edge computing) และบริการ แอปพลิเคชันที่พร้อมใช้งาน(Software as a Service / SaaS) นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมแข่งขันโครงการ Spark Ignite 2021 - Thailand Start-up Competition จะได้เข้าร่วมโปรแกรม Huawei Spark Accelerator ซึ่งเป็นโครงการให้คำปรึกษาและสนับสนุนสตาร์ทอัประดับโลกในการช่วยค้นหาพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจเพื่อการก้าวเข้าสู่ตลาดโลก

ทั้งนี้ ทีมชนะเลิศอันดับ 1 จะได้รับ HUAWEI CLOUD Credit คิดเป็นมูลค่ากว่า 125,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า4,000,000 บาท รวมถึงสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการ Huawei Spark โครงการ Huawei Spark Fire และโครงการ Spark Go ในประเทศจีน ส่วนทีมผู้ชนะอันดับ 2 และ 3 จะได้รับ HUAWEI CLOUD Credit มูลค่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ และสามารถเข้าร่วมโครงการ Spark Go ทีมผู้ชนะอันดับ 4 และ 5 จะได้รับ HUAWEI CLOUD Credit มูลค่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ ทีมผู้ชนะอันดับ 6 ถึง 10 จะได้รับ HUAWEI CLOUD Credit มูลค่า 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ

ทีมที่ชนะการแข่งขัน 3 อันดับแรกยังสามารถเข้าร่วมโครงการ Huawei Spark Accelerator program ที่มีเป้าหมายเพื่อบ่มเพาะและช่วยยกระดับการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัปเทคโนโลยี เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัล โดยหัวเว่ยได้รับความร่วมมือจากผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่างๆ ด้านการให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่สตาร์ทอัปไทย เพื่อให้สามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มในระดับโลก รวมถึงเพิ่มโอกาสในการสร้างเครือข่ายของพาร์ทเนอร์เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ การขยายเครือข่าย การประชาสัมพันธ์ให้แก่สินค้าและบริการของสตาร์ทอัปไทยรวมไปถึงการให้คำแนะนำด้านเงินทุน การสนับสนุนโซลูชัน และ HUAWEI CLOUD Credit เพื่อช่วยส่งเสริมให้สตาร์ทอัปไทยพัฒนาสินค้าและบริการของตนเองได้

อย่างไรก็ตาม โครงการ Spark Ignite 2021 - Thailand Start-up Competition นับเป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการสนับสนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ผ่านการบ่มเพาะทักษะดิจิทัลให้แก่บุคลากรไทย โดยในปี พ.ศ. 2562 หัวเว่ยได้ลงทุนจำนวน 180 ล้านบาท เพื่อเปิดตัวศูนย์ Huawei ASEAN academy ซึ่งได้จัดฝึกอบรมบุคลากรไปแล้วกว่า 16,500 คน เพื่อช่วยให้ เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัปมีความเข้าใจในเทคโนโลยีมากขึ้น และนำมาประยุกต์ใช้กับแผนธุรกิจได้ทั้งนี้ หัวเว่ยยังตั้งเป้าฝึกอบรมบุคลากรด้านไอทีให้ได้รับทักษะในระดับโลกเป็นจำนวน 100,000 คน ภายในเวลา 5 ปี