AOT คาดงวดปี 65 ยังขาดทุนต่อเนื่อง เชื่อปี 66 กลับมาฟื้น

AOT คาดงวดปี 65 ยังขาดทุนต่อเนื่อง เชื่อปี 66 กลับมาฟื้น

  • 0 ตอบ
  • 66 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Prichas

  • *****
  • 2104
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) คาดว่าธุรกิจ AOT ในงบปี 65 (ต.ค.64-ก.ย.65) ยังไม่น่าจะฟื้นตัว และอาจต้องแบกรับผลขาดทุนต่อเนื่องจากปี 64 หลังจากสายการบินต่างประเทศคืน slot หรือตารางบินที่จะเข้าใช้บริการในช่วงฤดูหนาว (ต.ค.64-มี.ค.65) ที่สนามบินสุวรรณภูมิถึง 79% ส่วนสายการบินสัญชาติไทยคืน slot มา 42% แสดงว่าสายการบินต่างชาติอาจมองว่าอุตสาหกรรมการบินในปี 65 ยังไม่ฟื้นจึงคืน slot มาก่อน ส่วนสายการบินของไทยยังเห็นว่าแม้ยังไม่เปิดน่านฟ้าได้ แต่การเดินทางภายในประเทศน่าฟื้นตัวเร็ว อย่างไรก็ตาม slot ที่คืนมาสามารถมีสิทธิกลับมาขอใหม่ได้

ทั้งนี้ บริษัทเห็นแล้วว่าช่วง 4 เดือนทองคำ คือช่วงเดือน ต.ค.64-ม.ค.65 จะยังไม่มีรายได้เข้ามา เพราะยังไม่เห็นการเดินทางระหว่างประเทศ ซึ่งรายได้จากผู้โดยสารต่างประเทศอยู่ที่ 700 บาท/คน แต่ยังมีความหวังรัฐบาลเปิดน่านฟ้าในเดือน พ.ย.นี้ หรือรอให้ฉีดวัคซีนได้มากขึ้น

อย่างไรก็ดี AOT จะมีรายได้จากผู้โดยสารในประเทศที่เก็บ 100 บาท/คน โดยมองว่าการบินในประเทศจะฟื้นตัวเร็ว ดังเห็นได้จากในปี 63 ที่ปิดน่านฟ้าในเดือน เม.ย.63 จากนั้นหลังควบคุมโรคได้ระดับหนึ่ง ทำให้ในเดือนพ.ย.63 การบินในประเทศฟื้นตัวเห็นได้ชัด มีผู้โดยสาร 1.47 แสนคน/วันโดยเฉลี่ย ซึ่งลดลงเพียง 15-18% จากเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า

อย่างไรก็ตาม การระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ยืดเยื้อหลายเดือน โดยในเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา มีผู้โดยสารทั้งเดือนเพียง 4,500-5,000 คน รวมกัน 6 สนามบิน หรือเฉลี่ยวันละ 150 คน โดยมีจำนวนน้อยสุด 47 คน/วัน แต่ปัจจุบันจำนวนผู้โดยสารค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็นรวม 17,000 คน/วัน และเริ่มทรงตัวในขณะนี้

"ปี 65 น่าจะขาดทุนต่อเนื่อง ดูจาก slot ถ้า 4 เดือนแรกไม่ได้ หลังจากนั้นเข้าโลว์ซีซันแล้ว แม้ว่าจะมีเทศกาลสงกรานต์ส่วนใหญ่บินในประเทศ" นายนิตินัย กล่าว

สำหรับสภาพคล่องของบริษัท ปัจจุบันมีกระแสเงินสดเหลืออยู่ 1.7 หมื่นล้านบาท จากก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 มีจำนวน 7.7 -7.8 หมื่นล้านบาท คาดว่าในงวดไตรมาส 1 ของปี 65 (ต.ค.-ธ.ค.64) น่าจะต้องกู้เงินมาใช้เติมสภาพคล่อง โดยคณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติวงเงิน จำนวน 2.5 หมื่นล้านบาท แต่ทั้งนี้ ขึ้นกับสถานการณ์ซึ่งบริษัทจะต้องเตรียมแผนรองรับและประเมินว่าจะใช้เงินกู้จำนวนเท่าไร

นายนิตินัย กล่าวอีกว่า สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ประเมินว่าปลายปี 66 ธุรกิจการบินจะกลับมาเท่ากับก่อนเกิดโควิด-19 ส่วน AOT คาดว่าในปี 66 จำนวนผู้โดยสารจะกลับมาครึ่งหนึ่งของช่วงที่ก่อนเกิดโควิด-19 ที่มีอยู่ 142 ล้านคน รวม 6 สนามบิน หรือประมาณ 70 ล้านคน และเชื่อว่าในปี 66 จะฟื้นขึ้นมาและไม่มีผลขาดทุน และในปี 67 ก็จะกลับมาฟื้นตัวเต็มที่ โดยมีสัดส่วนเที่ยวบินต่างประเทศและในประเทศ 50:50

อย่างไรก็ดี หลังเปิดน่านฟ้าจะต้องตรวจสอบว่าธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับธุรกิจการบิน เช่น บริการภาคพื้นดิน สายการบิน มีความเสียหายมากน้อยเพียงใดหลังต้องหยุดบินไปเป็นเวลานาน หรือจะกลับมาเปิดได้ปกติได้มากน้อยแค่ไหน อย่างบางสายการบินเดินเข้าแผนฟื้นฟูแล้วกิจการเสียหายมากอย่างไร ต้องรอเปิดประเทศก็จะรู้ ขณะที่ AOT ได้เตรียมแผนการบริหารความพร้อมในสภาวะวิกฤต (BCP) เพื่อไม่ให้เกิดการทำงานสะดุด โดยบริษัทไม่มีการจ้างพนักงานออก หรือ สร้างสถานที่รองรับผู้โดยสารที่จะกลับเข้ามา