“พาณิชย์”เผยกวางโจวเดินหน้าปั้นศูนย์กลางโลจิสติกส์

“พาณิชย์”เผยกวางโจวเดินหน้าปั้นศูนย์กลางโลจิสติกส์

  • 0 ตอบ
  • 75 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Joe524

  • *****
  • 2320
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




น.ส.อรนุช วรรณภิญโญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเทศบาลเมืองกวางโจว ได้แถลงข่าวถึงแผนพัฒนาการขนส่งและโลจิสติกส์เมืองกวางโจว โดยมีสาระสำคัญ คือ การพัฒนาโลจิสติกส์เมืองกวางโจวตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน 5 ปี ฉบับที่ 14 ตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2568 เมืองกวางโจวจะกลายเป็นเครือข่ายโลจิสติกส์การขนส่งสินค้าที่เชื่อมต่อระหว่างโลจิสติกส์ฮับ เส้นทางต่างๆ และระบบอินเตอร์เน็ตทั้งการขนส่งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ กลายเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์นานาชาติที่มีอิทธิพลระดับโลก และกลายเป็นศูนย์กลางการจัดการห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และภายในปี 2578 เมืองกวางโจวจะกลายเป็นเมืองแห่งศูนย์กลางโลจิสติกส์นานาชาติที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงที่สุด มีต้นทุนการขนส่งที่ต่ำที่สุด และมีประสิทธิภาพสูงสุด และจะเป็นจุดเชื่อมต่อทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

ทั้งนี้ แผนพัฒนาการขนส่งและโลจิสติกส์เมืองกวางโจว จะเน้นการพัฒนาโลจิสติกส์ฮับขนาดใหญ่เชิงโครงสร้าง “5+10+N” คือ โลจิสติกส์ฮับขนาดใหญ่พิเศษ 5 แห่ง ได้แก่ เขตท่าอากาศยานเมืองกวางโจว เขตท่าเรือหนานซา เมืองกวางโจว ทางหลวงและทางรถไฟในเขตตะวันออก เมืองกวางโจว ทางหลวงและทางรถไฟของศูนย์กลางการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางราง เมืองกวางโจว และเมืองอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ท่าอากาศยานสมัยใหม่เมืองกวางโจวและเมืองชิงหย่วน โลจิสติกส์ฮับขนาดใหญ่ 10 แห่ง ได้แก่ หมู่บ้านเสินซาน เขตไป๋หยุน , ขนส่งรถยนต์ท่าเรือหลงซา , รถไฟความเร็วสูง เมืองกวางโจว , ท่าเรือใหม่หวงผู่ , หมู่บ้านเซี่ยหยวน , ท่าเรือฮวาตู , หมู่บ้านซือหลิ่งเขตฮวาตู , เขตพัฒนาเจิงเฉิง , หมู่บ้านเสี่ยวหู่ซาไจ่ และหมู่บ้านหมิงจู เขตฉงฮว่า และจุดโลจิสติกส์สำคัญ เช่น หมู่บ้านหยูวอโถว , ไท่เหอ , ต้ากั่ง , จงลั่วถั่น , หลงซี , ฉงฮว่าหนาน , เจียเป่ย , จือสึเฉิง และจิ่วหลง

ขณะเดียวกัน จะมีการพัฒนาเครือข่ายโลจิสติกส์ ทั้งทางทะเล ทางบก และทางอากาศ จะเร่งสร้างเขตสินค้าทัณฑ์บนรวมของท่าอากาศยานไป๋หยุน เพื่อเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์สินค้าทัณฑ์บนของสนามบินของเขตเศรษฐกิจอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (GBA) และเร่งเพิ่มเส้นทางการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ โดยจะเพิ่มศักยภาพการขนส่งสินค้าแบบเร่งด่วนและการขนส่งสินค้าทางอากาศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก รวมถึงทำความร่วมมือกับท่าอากาศยานนานาชาติอื่นๆ สำหรับการขนส่งทางทะเลจะทำความร่วมมือกับสหพันธ์การขนส่งนานาชาติ (Shipping Union) และบริษัทสายการเดินเรือให้มากขึ้น พัฒนาให้กลายเป็นโลจิสติกส์ฮับการขนส่งตู้คอนเนอร์ระหว่างประเทศครอบคลุมทวีปแอฟริกา ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รวมถึงจะขยายเส้นทางเดินเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ไปยังทวีปยุโรปและอเมริกาให้มากขึ้น ส่วนการขนส่งทางบกระหว่างประเทศ จะเพิ่มเครือข่ายการขนส่งย่อยให้ครอบคลุมบริเวณเขตพื้นที่ต่างๆ เพื่อสร้างระบบห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ในตัวเมืองกวางโจวให้สมบูรณ์ และสร้างเส้นทางคมนาคมขนส่งจากเมืองกวางโจวไปยังนครปักกิ่ง นครเทียนจิน มณฑลเหอเป่ย สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีตลอดจนนครฉงชิ่ง และนครเฉิงตูอีกทั้ง และด้านการขนส่งทางรถไฟ จะพัฒนาเส้นทางรถไฟนานาชาติ 5 สาย เพื่อเดินทางไปยังยุโรปตะวันตก เอเชียกลาง เอเชียตะวันตก และเอเชียใต้ โดยจะทำการเพิ่มรอบขบวนรถไฟเส้นทางยุโรปกลางและเอเชียกลาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งให้มากขึ้น รวมถึงสร้างศูนย์รวมขบวนรถไฟนานาชาติเขต GBA

นอกจากนี้ จะเร่งสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อผลักดันการให้บริการโลจิสติกส์สมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง โดยจะทำการเชื่อมต่อข้อมูลด้านโลจิสติกส์และข้อมูลด้านความน่าเชื่อถือระหว่างท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ พร้อมทั้งผลักดันการเข้าถึงข้อมูลแบบเปิดเผยระหว่างหน่วยงานรัฐต่างๆ เช่น หน่วยงานการคมนาคม ศุลกากร ด่านตรวจ และหน่วยงานพาณิชย์ เป็นต้น เพื่อเพิ่มความถูกต้องแม่นยำด้านข้อมูลโลจิสติกส์ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในขั้นตอนการดำเนินการด้านการค้าระหว่างประเทศ ร่วมสนับสนุนการสร้างระบบศุลกากรเชิงอัจฉริยะ อาทิ การควบคุมและกำกับดูแลสินค้าที่ขนส่งทางน้ำและทางบก การดำเนินพิธีทางศุลกากรแบบไร้กระดาษ และแบบอัจฉริยะ เป็นต้น

ทางด้านการพัฒนานวัตกรรมโลจิสติกส์ จะเร่งพัฒนาโลจิสติกส์ห่วงโซ่ความเย็น โลจิสติกส์อีคอมเมิร์ซ และโลจิสติกส์แบบฉุกเฉิน รวมทั้งคิดค้นรูปแบบการขนส่งสินค้าใหม่ ๆ และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปสงค์และอุปทานในเขต GBA พร้อมทั้งสร้างห่วงโซ่อุปทานสมัยใหม่สำหรับสินค้าเกษตรกรรม อีกทั้งยังส่งเสริมและผลักดันให้บรรดาธุรกิจโลจิสติกส์จับมือกันและเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ

สำหรับโอกาสของผู้ประกอบการไทย พบว่า ปัจจุบันเมืองกวางโจวเป็นหนึ่งในเมืองที่มีปริมาณการขนส่งสินค้ามากที่สุดในจีน จากสถิติปี 2563 เมืองกวางโจวมีปริมาณการขนส่งสินค้าในท่าอากาศยานมากเป็นอันดับ 2 ของจีนหรือคิดเป็น 1.75 ล้านตัน และท่าเรือกวางโจวมีปริมาณความจุตู้คอนเทนเนอร์มากเป็นอันดับ 5 ของโลก หรือคิดเป็น 23.51 ล้านตู้และมีปริมาณการขนส่งสินค้าทั่วเมืองคิดเป็น 925 ล้านตัน จะเห็นได้ว่า การให้บริการด้านโลจิสติกส์ของเมืองกวางโจวกำลังจะถูกยกระดับและพัฒนาให้ก้าวไปอีกขั้นสู่ความเป็นนานาชาติมากขึ้น จึงเป็นข่าวดีสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะสามารถได้รับประโยชน์จากการให้บริการการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่ยกระดับและมีคุณภาพในอนาคตอันใกล้ โดยนโยบายแผนพัฒนาดังกล่าว จึงถือเป็นการอำนวยความสะดวกในการทำการค้ากับจีนมากขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่ง ลดเวลาการขนส่ง และลดต้นทุนทางการค้า โดยเฉพาะสินค้าอาหารสด สินค้าในห่วงโซ่ความเย็น และสินค้าเกษตรกรรมที่สามารถรักษาความสดใหม่จากเวลาการขนส่งที่รวดเร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันให้กับสินค้าเหล่านี้ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจะต้องติดตามข่าวสารความคืบหน้าของนโยบายและแผนการพัฒนาของจีนที่จะช่วยเอื้อประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจกับจีนอยู่เสมอเพื่อสามารถวางแผนและปรับตัวเพื่อพัฒนาธุรกิจให้ยั่งยืนต่อไป