สแตนดาร์ดฯเร่งขยายพอร์ตโรงแรมทั่วโลก เสริมแกร่งรายได้หมุนเวียน‘แสนสิริ’

สแตนดาร์ดฯเร่งขยายพอร์ตโรงแรมทั่วโลก เสริมแกร่งรายได้หมุนเวียน‘แสนสิริ’

  • 0 ตอบ
  • 85 อ่าน

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Shopd2

  • *****
  • 2300
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




เมื่อเดือน พ.ย.2560 บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศวิสัยทัศน์และแผนลงทุนในแบรนด์ระดับโลกทั้งด้านเทคโนโลยี ไลฟ์สไตล์ รวมถึงธุรกิจโรงแรม หวังกระจายความหลากหลายในการสร้างรายได้ใหม่ๆ นอกเหนือจากธุรกิจหลักอสังหาริมทรัพย์

โดยเข้าลงทุนในเครือโรงแรม “สแตนดาร์ด อินเตอร์เนชันแนล” เจ้าของธุรกิจเชนโรงแรมบูติกเพื่อเสริมทัพรายได้หมุนเวียน ด้วยสัดส่วนการเข้าถือหุ้น 35% ก่อนที่แสนสิริจะขยับสัดส่วนเพิ่มเป็น 62% ครองตำแหน่งผู้ถือหุ้นอันดับ 1 ของสแตนดาร์ด อินเตอร์ฯ รองลงมาคือกลุ่ม SEAM โดยมี เซธ โคเฮน และ อมาร์ ลัลวานี่ เป็นเจ้าของหุ้นอันดับ 2 ตามด้วยกลุ่มอื่นๆ

อมาร์ ลัลวานี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สแตนดาร์ด อินเตอร์เนชันแนล ฉายภาพว่า ยังคงเดินหน้ากลยุทธ์ขยายฐานธุรกิจเครือโรงแรมนอกประเทศสหรัฐอย่างต่อเนื่อง จากปัจจุบัน สแตนดาร์ด อินเตอร์ฯมีโรงแรม 17 แห่ง คิดเป็นจำนวนห้องพัก 1,834 ห้อง ภายใต้ 3 แบรนด์ ได้แก่ แบรนด์ “เดอะ สแตนดาร์ด” (The Standard) มุ่งนำเสนอประสบการณ์อันดื่มด่ำ มีจำนวน 6 แห่ง, แบรนด์ “บังค์เฮ้าส์” (Bunkhouse) เป็นแบรนด์โรงแรมขนาดเล็ก เน้นปักธงตามเมืองรอง จำนวน 9 แห่ง โฟกัสตลาดสหรัฐ และแบรนด์ “เดอะ เภรี โฮเทล” (The Peri Hotel) เป็นแบรนด์โรงแรมขนาดเล็ก มุ่งเจาะตลาดเอเชีย ปัจจุบันมี 2 แห่งที่เขาใหญ่และหัวหิน ซึ่งมีแสนสิริเป็นเจ้าของ รีแบรนด์จากเดิมที่ใช้ชื่อ เอสเคป (Escape)

“ภายใน 5 ปีข้างหน้า สแตนดาร์ด อินเตอร์ฯจะรุกรับบริหารโรงแรมเพิ่มมากขึ้น รวมมีทั้งหมด 35 แห่งทั่วโลก โดยเตรียมเปิดโรงแรมใหม่เพิ่มอีก 18 แห่ง กว่า 75% ตั้งอยู่ในโลเกชั่นนอกสหรัฐ เป็นโรงแรมใหม่ภายใต้แบรนด์ เดอะ สแตนดาร์ด จำนวน 9 แห่ง”

หนึ่งในนั้นคือ “เดอะ สแตนดาร์ด หัวหิน” มีแสนสิริเป็นเจ้าของ ถือเป็นรีสอร์ตติดชายหาดแห่งแรกของแบรนด์ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยจำนวนห้องพัก 178 ห้อง และพูลวิลล่าอีก 21 หลัง รวมมี 199 ห้อง นำเสนอคอนเซ็ปต์ความงามแบบเรียบง่าย มีกำหนดเปิดให้บริการวันที่ 1 ธ.ค.2564 สอดรับกับไทม์ไลน์เปิดพื้นที่นำร่องโครงการ “หัวหิน รีชาร์จ” รับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วมาท่องเที่ยวแบบไม่กักตัวในพื้นที่รวม 86.36 ตารางกิโลเมตรของเทศบาลเมืองหัวหิน ซึ่งจะเริ่มวันที่ 1 ต.ค.นี้เป็นต้นไป

และเมื่อเทียบกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ในไทย “หัวหิน” ถือเป็นเมืองที่พึ่งพาตลาดนักท่องเที่ยวในประเทศเป็นหลัก โดยก่อนเจอวิกฤติโควิด-19 กว่า 70% ของนักท่องเที่ยวที่มาหัวหินเป็นคนไทย หนุนอัตราการเข้าพักสูงถึง 90% ในช่วงสุดสัปดาห์และวันหยุดราชการ ขณะที่ปี 2563 โรงแรมในหัวหินมีอัตราการเข้าพักสูงที่สุดอยู่ที่ 39% มากกว่าเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ อย่างภูเก็ต พัทยา และกรุงเทพฯ

เดอะ สแตนดาร์ด หัวหิน

ส่วนอีกแห่งในไทยคือ “เดอะ สแตนดาร์ด แบงค็อก มหานคร” จะเป็นโรงแรมระดับเรือธง (Flagship) ของแบรนด์ เดอะ สแตนดาร์ด ในเอเชีย หลังได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ “คิง เพาเวอร์ กรุ๊ป” ในการนำแบรนด์ดังกล่าวมาเสริมความโดดเด่นแก่ “คิง เพาเวอร์ มหานคร” แลนด์มาร์กใจกลางกรุงเทพฯซึ่งมีขนาด 78 ชั้น สูงเป็นอันดับต้นๆ ของไทยในปัจจุบัน

สะท้อนความเป็นเมืองหลวงเปี่ยมพลังของกรุงเทพฯ ด้วยจำนวนห้องพัก 155 ห้อง เพนต์เฮาส์ สระว่ายน้ำริมระเบียง ฟิตเนส ห้องประชุม รวมทั้งบริการอาหารและเครื่องดื่ม และสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนตอนกลางคืน ตั้งแต่ห้องเดอะ พาร์เลอร์ (The Parlor) ไปจนถึงที รูม (tea room) และร้านอาหารชื่อดังอย่างสแตนดาร์ด กริล (Standard Lottovip Grill) โดยโรงแรมแห่งนี้มีกำหนดเปิดให้บริการในช่วงต้นปี 2565

“การเปิดตัวแบรนด์ เดอะ สแตนดาร์ด เข้าสู่ตลาดประเทศไทย ถือว่าทำได้อย่างถูกเวลา เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยกำลังเดินหน้าเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ด้วยการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ในการเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย และเร่งปูพรมฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้แก่ประชาชน”

คิง เพาเวอร์ มหานคร

ส่วนนอกประเทศไทย เตรียมเปิดให้บริการแบรนด์ เดอะ สแตนดาร์ด ในเมืองท่องเที่ยวตลาดสำคัญทั่วโลก ทั้งที่อิบิซ่า ขนาด 67 ห้อง ปี 2565, สิงคโปร์ ขนาด 140 ห้อง ปี 2566, เมลเบิร์น 127 ห้อง ปี 2566, ลิสบอน ขนาด 160 ห้อง ปี 2566, บรัสเซลส์ ขนาด 180 ห้อง ปี 2568, ดับลิน ขนาด 200 ห้อง ปี 2568 และลาสเวกัส ขนาด 600 ห้อง ปี 2568

อมาร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าวิกฤติโควิด-19 จะสร้างผลกระทบมหาศาลต่อเศรษฐกิจโลก ทำลายธุรกิจท่องเที่ยวและบริการเสียหาย แต่เครือสแตนดาร์ด อินเตอร์ฯยังคงยืนหยัดสู้กับสถานการณ์ได้อย่างแข็งแกร่ง ด้วยวิสัยทัศน์ที่เล็งเห็นว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะกลับมามีอนาคตที่สดใส โรงแรมเป็นหนึ่งในสถานที่มีอยู่ในชีวิตจริง หรือ “In Real Life” ไม่มีอย่างอื่นมาทดแทนได้! มีแนวโน้มฟื้นตัวเมื่อถึงสถานการณ์เหมาะสม เพราะผู้คนต่างอยากออกมาเที่ยวและแฮงเอาต์อยู่แล้ว โดยส่วนแบ่งตลาดของแบรนด์ในปี 2564 ในสหรัฐแซงหน้าตัวเลขในปี 2562 ด้วยค่าเฉลี่ยดัชนีการสร้างรายได้ที่ระดับ 134 ต่อ 122 เมื่อเทียบกับเครือโรงแรมคู่แข่งในระดับเดียวกัน

            “ท่ามกลางความท้าทายที่กำลังเผชิญ เราสามารถรักษาฐานกำไรและยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในโครงการใหม่ๆ และเร่งสรรหาโรงแรมใหม่ๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในเครือ โดยตัวเลขการเติบโตในแง่ส่วนแบ่งตลาดถือเป็นผลจากความแข็งแกร่งของแบรนด์และการที่บริษัทฯตัดสินใจรักษาทีมงานทุกคนไว้ในการเดินหน้าแผนงานต่างๆ ทางการตลาดตลอดช่วงที่เกิดวิกฤติโรคระบาด”